Digiqole ad

หนังผีไทย “SOFT POWER” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ ฉบับที่ 405 วันที่ 10-16 พ.ย.66)

 หนังผีไทย “SOFT POWER” (อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ ฉบับที่ 405 วันที่ 10-16 พ.ย.66)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ ฉบับที่ 405 วันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2566

หน้า 20-21 buzz

หนังผีไทย “SOFT POWER”

            “สัปเหร่อ” หนังผีไทยที่สร้างปรากฎการณ์โกยรายได้มากกว่า 700 ล้านบาท อยู่ในขณะ ดังไม่ดังก็ขนาดนายกฯ “เศรษฐา ทวีสิน” ต้องเหมาโรงฉาย พาคณะรัฐมนตรีมาชม พร้อมทั้งบอกว่า นี่แหละ! ผลงานชิ้นโบว์แดงที่เป็นหนึ่งใน SOFT POWER” ของไทย นอกจากนี้ยังได้นำออกกฉายในประเทศแถบเอเชียหอีกลายประเทศ มาดูกันว่านอกจากสัปเหร่อแล้ว ยังมีหนังผีไทยเรื่องไหนบ้างที่ได้รับความนิยมและสร้างรายได้กันอย่างถล่มทลาย

            บ้านผีปอบ (ปี 2532-2554)

“บ้านผีปอบ” เป็นภาพยนตร์ไทย ประเภทหนังผีประเภทผสมความตลกขบขัน ที่ได้รับความนิยมกันอย่างสุดสูงแต่ไม่ได้สร้างรายได้อย่างมหาศาลเหมือนเรื่องอื่น ๆ มีการสร้างถึง 14 ภาคตั้งแต่ปี 2532-2554 ถือเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีภาคต่อมากที่สุด เป็นหนังที่นำเอาตัวละครผีปอบ มาจากนวนิยายชุด “ภูตผีปีศาจไทย” เรื่อง “ผีปอบ” ในเล่ม ปีศาจของไทย ของนักเขียนและจิตรกรชั้นครูผู้ล่วงลับคือครู “เหม เวชกร” มาเป็นต้นแบบ ส่วนชื่อ “ทองคำ” ซึ่งเป็นชื่อของ ปอบยายทองคำ มาจากชื่อของ 1 ในตัวละครหลักของนวนิยายชุดนี้ โดยมี “สายยนต์ ศรีสวัสดิ์” เขียนบทและกำกับฯ

ประสบความสำเร็จในภาคแรก ๆ ทำให้มีการสร้างภาคต่อ ๆ มา และกลายเป็นภาพยนตร์สยองขวัญผสมเบาสมอง โดยเน้นความตลกเบาสมองเสียมากกว่า แต่ก็ทำให้ ปอบหยิบ โด่งดังและเป็นที่รู้จักอย่างดี ในภาพยนตร์จะมีวิธีการหนีผีแปลกๆ แบบหนีลงตุ่ม วิ่งหนีขึ้นต้นไม้ เหาะข้ามคลอง หรือแม้กระทั่ง แกล้งผีปอบต่าง ๆ นานา เช่น ทาสีทำเป็นประตูลวง เป็นต้น หรือตัวผีปอบเองก็มีวิธีวิ่งไล่จับคนแปลกๆเช่น เช่น ขี่บั้งไฟ ขี่มอเตอร์ไซค์ ใช้พัดสันกำแพงเป็นต้น โดยมีณัฐนี สิทธิสมาน ที่ได้ฉายานามว่า เจ้าแม่ผีปอบ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ซีรีส์ภาพยนตร์เรื่อง บ้านผีปอบ

ในภาคแรกผู้รับบทผีปอบคือ “สุชาดา อีแอม” และ ตัวละคร “ปอบหยิบ” เริ่มมีตั้งแต่ภาคที่ 2 รับบทโดย “ณัฐนี สิทธิสมาน” และ “บ้านผีปอบภาคที่ 5” ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “พันธุ์ผีปอบ 34”  เนื่องจากภาคนี้ “ณัฐนี สิทธิสมาน” ไม่ได้เล่น และ บ้านผีปอบข้ามภาค 12 ไป เนื่องจากถือเคล็ดว่าไม่เป็นหนังโหล กลายเป็นภาคที่ 13 และภาพยนตร์เรื่อง “บ้านผีปอบ 2” (ปี 2533) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2558

นางนาก (ปี 2542)

“นางนาก” ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2542 เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และรางวัล ซึ่งเรื่องที่สองในการกำกับฯ ของ “นนทรีย์ นิมิบุตร” ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างงดงามจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2540) ซึ่งในเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยที่เนื้อเรื่องก็คือเนื้อเรื่องของแม่นาคพระโขนงที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทว่า ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เคยคุ้นเคยให้สมจริงมากที่สุด เช่น เรียกชื่อแม่นาคว่า นางนาก, มีเหตุการณ์สุริยคราสเป็นฉากเปิดเรื่อง หรือ ให้นางนากยืนกลับหัวบนขื่อ ตามความเชื่อที่เล่ากันมา เป็นต้น โดยภาพยนตร์สามารถทำเงินได้กว่า 150 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่

นำแสดงโดย “เมฆ-วินัย ไกรบุตร” รับบท “พ่อมาก” และ “ทราย-อินทิรา เจริญปุระ” รับบท “นางนาก” เขียนบทโดย “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” ผลิตและจัดจำหน่ายโดยไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และรางวัล

ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (ปี 2547)

ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญ ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 ร่วมเขียนบทและกำกับฯ โดย “บรรจง ปิสัญธนะกูล” และ “ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ” นำแสดงโดย “อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม” “ ณัฐฐาวีรนุช ทองมี” และ “อชิตะ สิกขมาน” สามารถทำรายได้ในประเทศไทย 109.98 ล้านบาท ยังขายลิขสิทธิ์ได้ใน 30 ประเทศทั่วโลก สร้างรายได้ ฉายในสิงคโปร์ได้ 33 ล้านบาท ที่เกาหลีติดอันดับ 5 หนังทำเงิน ฉายที่บราซิล 4 สัปดาห์แรก ทำรายได้สูงถึง 100 ล้านบาท ชัตเตอร์ยังได้รับรางวัล Best Asian Film” จากเทศกาล Fantasia Film Festival 2005” ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา และรางวัลหนังแฟนตาซีที่ดีที่สุดในงาน “Fantastic’s Arts Festival of Gerardmer” ประเทศฝรั่งเศส

นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้างใหม่ใน พ.ศ. 2550 กำกับโดย “Masayuki Ochiai” ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น นำแสดงโดย “ราเชล เทย์เลอร์” นักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Transformer” กำหนดออกฉายใน พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ยังมีผู้สร้างภาพยนตร์บอลลีวูด นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ภาษาทมิฬ ออกฉายใน พ.ศ. 2550 ชื่อเรื่อง “Sivi” กำกับโดย “K. R. Senthil Nathan” ผู้กำกับชาวอินเดีย

            ห้าแพร่ง (ปี 2552)

            “ห้าแพร่ง” เป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ โดยมีโครงเรื่องเกี่ยวกับผีและความกลัวเช่นเดียวกับ “สี่แพร่ง” แต่จะถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น 5 เรื่อง เข้าฉายเมื่อวันที่ 9 กันยายน2552 และมีการจัดฉายรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 Zได้ถูกจัดระดับเรตติ้ง “น15+”) ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีการถ่ายทอดสดบรรยากาศงานผ่านเว็บไซต์ทางการของภาพยนตร์ นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทอดสดบรรยากาศการจัดฉายรอบสื่อมวลชนทางอินเทอร์เน็ต เป็นหนังสยองขวัญ ที่ทำสถิติรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทย [1] ภาพยนตร์เรื่อง ห้าแพร่ง ทำรายได้จากการเข้าฉายในประเทศไทยจำนวน 113.5 ล้านบาท (เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)

ทั้งนี้หลังจากที่ “สี่แพร่ง” ประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จัก ทำให้ทางทีมงานคิดว่าน่าจะทำเป็นแฟรนไชส์ (ภาคต่อ) ที่แข็งแรงได้ และได้ทำการประชุมกันโดยที่ผู้กำกับเดิมฯใน “สี่แพร่ง” ก็ยังมีเรื่องอยู่ ที่สนุกและคิดว่าน่าจะตอบโจทย์ในแง่ความแปลกใหม่ได้ ส่วนจาก 4 แพร่ง” เพิ่มเป็น 5 แพร่ง” เพราะชื่อว่าปีนี้ (ปี 2552) เลข 5 มาแรง

โดยผู้กำกับฯ “วิสูตร พูลวรลักษณ์” (ตอน ห้องเตียงรวม) , “ปวีณ ภูริจิตปัญญา” (ตอน หลาวชะโอน), “ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ” (ตอน รถมือสอง) , “บรรจง ปิสัญธนะกูล” (ตอน คนกอง) และ “ทรงยศ สุขมากอนันต์” (ตอน Backpackers) เริ่มประชุมกันทั้งวันทั้งคืนอยู่หลายวัน เรื่องแนวของหนัง สิ่งที่เป็นสาระที่ไม่เคยมีในหนังผีในโลกนี้มาก่อน นำเรื่องมาเสนอ 20-30 เรื่อง ขึ้นบนกระดาษแล้วนำมาต่อเนื่อง ช่วยกันคิดกัน แชร์แลกเปลี่ยนกัน โดยเรื่องที่เลือกมาเพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นจุดสนใจของสังคม ณ ปัจจุบัน แล้วลองทำในมุมมองใหม่ ให้แตกต่าง  ซึ่งโจทย์ของทุกเรื่องคือ ต้องเป็นหนังผี จบในตัวเอง น่ากลัว ต้องมีความแปลกใหม่

ลัดดาแลนด์ (ปี 2554)

 “ลัดดาแลนด์” เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญ ออกฉายวันที่ 28 เมษายน 2554 ร่วมเขียนบทและกำกับฯ โดย “โสภณ ศักดาพิศิษฏ์” ผลิตโดยจอกว้างฟิล์ม และจัดจำหน่ายโดยจีทีเอช นำแสดงโดย “สหรัถ สังคปรีชา” และ “ปิยธิดา วรมุสิก” แนวคิดหลัก ๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ แดนผีที่ดุที่สุดในเชียงใหม่ อยู่ในหมู่บ้าน ลัดดาแลนด์ ซึ่งมีการฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม และต่อเนื่องสืบมา[2] โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเรตติ้ง “น 18+” (ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไป) ภาพยนตร์เรื่องนี้มีสโลแกนเด็ดว่า “หมู่บ้านแห่งนี้จะอยู่หรือจะย้าย  เมื่อคนตายมาหาถึงบ้าน”

เปิดตัวฉายในวันแรกทำรายได้กว่า 10.66 ล้านบาท โดยรายได้เปิดตัววันแรกนี้เป็นอันดับที่ 3 ของค่าย (รองจาก “ห้าแพร่ง” และ “รถไฟฟ้า มาหานะเธอ” ทำรายได้ 4 วันแรกได้ไป 45 ล้านบาท โดยรายได้รวม 7 วันแรก ทำรายได้ไป 74.16 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ 2 จากการฉายเพียง 13 วันทำรายได้เกินหนึ่งร้อยล้านบาทรายได้รวม ทำรายได้ไป 117 ล้านบาท และเป็นภาพยนตร์สยองขวัญที่ทำรายสูงสุดของจีทีเอชอีกด้วย ซึ่งทำรายได้มากกว่า “ห้าแพร่ง” และ “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” ของค่ายเดียวกัน) และยังนำออกฉายไปยังประเทศในแถบเอเชียด้วย

            พี่มาก..พระโขนง (ปี 2556)

“พี่มาก..พระโขนง” เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 เป็นภาพยนตรฮแนวโรแมนติก-สยองขวัญ-ตลก ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง ผีพื้นบ้านไทย ร่วมเขียนบทและกำกับฯโดย “บรรจง ปิสัญธนะกุล” ผู้มีชื่อเสียงจากผลงาน สี่แพร่ง ตอน คนกลาง, ห้าแพร่ง ตอน คนกอง และ กวน มึน โฮ กับทั้งนำแสดงโดย “มาริโอ้ เมาเร่อ” รับบท “พี่มาก กับ “ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่” รับบท “แม่นาก” พร้อมนักแสดง ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์, พงศธร จงวิลาส, อัฒรุต คงราศรี และ กันตพัฒน์ สีดา ซึ่งเคยร่วมแสดงใน สี่แพร่ง และ ห้าแพร่ง มาแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งรายได้ที่มากกว่า 1,000 ล้านบาท  เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (ในขณะนั้น) และเป็นภาพยนตร์ทำรายได้มากที่สุดของจีทีเอช แทนที่ ATM เออรัก เออเร่อ” ( ปี 2555 ) ที่ทำสถิติเดิมไว้

สัปเหร่อ (ปี 2566)

“สัปเหร่อ” เป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ-ตลก เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 กำกับฯโดย “ต้องเต-ธิติ ศรีนวล” ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคแยกจากซีรีส์เรื่อง ไทบ้านเดอะซีรีส์ โดยเล่าเรื่องราวของ “เซียง” (เลขานุภาพ ศรัณย์ภัทร) หนุ่มชาวอีสานที่ทำงานเป็นสัปเหร่อ เซียงมีความรักกับ” ใบข้าว” (กัญญาวีร์ กลิ่นหอม) แต่ความรักของทั้งสองคนกลับจบลงด้วยความเศร้า เซียงจึงทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้เจอใบข้าวอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมี “ณัฐวุฒิ แสนยะบุตร” กับ “ชาติชาย ชินศรี” นักแสดงหลักจาก ไทบ้านเดอะซีรีส์ มาการันตีความฮาผสมความหลอนให้รับชมกันอย่างจุใจ  ภาพยนตร์เรื่องนี้ทุบสถิติรายได้หนังไทยสูงสุดในรอบ 10 ปี เข้าฉายเพียง 25 วัน ทะยานสู่ 700 ล้านบาท

ธี่หยด ( ปี 2566)

“ธี่หยด” เสียงหลอนปริศนายามค่ำคืน กลายเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ มาพร้อมเสียง “ธี่หยด” ชวนขนหัวลุกที่หลายคนอยากได้ยิน เรื่องราวเหตุการณ์ 50 กว่าปีก่อน ปี 2515 เป็นเรื่องราวประหลาดที่เกิดขึ้นกับครอบครัวหนึ่ง โดยหนังธี่หยด กำกับฯ โดย “คุ้ย-ทวีวัฒน์ วันทา” ผู้กำกับฯ จากหนังคัลท์อย่าง “ขุนกระบี่ ผีระบาด”, “อสุรจ๊าก” และ “ทองสุก 13″ บทประพันธ์ดัดแปลงจากนวนิยาย “ธี่หยด… แว่วเสียงครวญคลั่ง” ของ “กฤตานนท์” ผู้เป็นบุตรชายเจ้าของเรื่องราว และได้นักแสดงนำมากความสามารถอย่าง“ณเดชน์ คูกิมิยะ”, “เดนิส เจลีลชา” และ “มิ้ม-รัตนวดี วงศ์ทองมาร่วมงาน เข้าฉายวันแรกวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ทุบสถิติหนังไทยทำเงินเร็วสุดแห่งปี ถึง 400 ล้านบาท หลังเข้าฉายเพียง 9 วัน

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : อินเทอร์เน็ต

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ ฉบับที่ 405 วันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2566

หน้า 20-21 buzz

หนังผีไทย “SOFT POWER”

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๐๕ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
https://book.bangkok-today.com/books/dkpo/
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post