โรงสีข้าวขนาดเล็กระดับชุมชน CP-R500. 1000 สิ่งประดิษฐ์ดีเยี่ยมสภาวิจัย 2549


หลักการและเหตุผล

araya market place

การวิจัยและพัฒนาโรงสีขนาดเล็ก มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน เพิ่มอำนาจต่อรองในระบบกลไกตลาดข้าว ด้วยขนาดของโรงสีที่มีกำลังผลิตเหมาะสม มีระบบการผลิต, ขั้นตอนตอนที่สั้น และเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการสีข้าวได้ทั้งข้าวกล้อง และข้าวสารขาว มีความนิ่มนวลในการสีแตกหักน้อย สามารถรักษาสารอาหารที่มีประโยชน์ของข้าวได้อย่างครบถ้วน เป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้าให้เป็นสินค้าข้าวของไทยให้คงความเป็นผู้นำการเป็นผู้ผลิตข้าวคุณภาพสูงของโลก และได้รับการยอมรับใวงกว้าง ว่าเป็นโรงที่เหมาะสำหรับวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง

new08 copy

แนวคิดการออกแบบยึดหลักคือ  มีความเรียบง่ายแต่ทันสมัย เพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตข้าวสารออกจำหน่ายในเชิงการค้าได้ ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเครื่องผลักดันสังคมเกษตรกรรมของไทยให้เป็นสังคมการเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจรในระดับตำบลได้อย่างเหมาะสมได้และลงตัว ขนาดของเครื่องจักรกลเพื่อการสีข้าวใช้พื้นที่ไม่มาก และใช้ผู้ควบคุมด้วยคนเพียงคนเดียว  กระบวนการผลิตแปรรูปมีความครบวงจรตั้งเมล็ดข้าวเปลือกจนถึงเครื่องชั่งบรรจุถุง

โรงสีข้าวชุมชนที่พัฒนามาจากโรงสีขนาดใหญ่มีกำลังผลิตสูงถึง 1,000 กิโลกรัมข้าวเปลือก(1 เกวียน)ต่อชั่วโมง มีขั้นตอนการทำงานหลักเมือนกับโรงสีทั่วไป สามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพได้ปริมาญข้าวต้นสูงเทียบเท่าโรงสีขนาดใหญ่ และเหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดเล็ก สามารถสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนได้จริงและมีผู้ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=488

ดูภาพที่ชัดเจน คลิคที่ภาพ

จุดเด่น

  • มีประสิทธิภาพในการสีให้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูงเทียบเท่าถึงสูงกว่าโรงสีใหญ่
  • การเดินทางของข้าวเริ่มตั้งแต่จากเมล็ดข้าวเปลือก จนเป็นข้าวสารใช้จะใช้ระยะทางน้อยกว่าโรงสีขนาดใหญ่ 10 เท่า
  • ออกแบบให้ใช้งานง่าย ควบคุมด้วยตู้ควบคุมทันสมัยสามารถทำงานผลิตตั้งนำข้าวเปลือกเข้าเครื่องจนเป็นข้าวสารบรรจุถุงได้โดยใช้คนทำงานเพียงคนเดียว
  • สามารถผลิตได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาวเช่นเดียวกับโรงสีใหญ่ทั่วไป และมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากกว่า
  • สามารถสีข้าวได้ทั้งข้าวเมล็ดสั้น และเมล็ดยาว
  • การออกแบบเครื่องจักรเป็นระบบสำเร็จรูป การลงทุนเป็นการลงทุนครั้งเดียวไม่ต้องลงทุนเครื่องจักเพิ่มเติม บานปลาย
  • สามารถติดตั้งได้ง่ายรวดเร็ว ดูแลรักษาง่าย ใช้อะหลั่ยและอุปกรณ์ในท้องตลาดได้
  • สามารถขยายกำลังผลิตและเพิ่มขนาดการลงทุน แบบค่อยเป็นค่อยต่อเนื่องในอนาคตเนื่องได้
  • กำลังผลิตสามารถรองรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวในเขตชลประทานได้ถึง 5,000ไร่
  • ได้รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเยี่ยมจากสภาวิจัยได้รับการยอมรับ และมีผู้ประสบความสำเร็จในวงกว้าง

www.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req…id=217

ขนาดกำลังผลิต 1,000 กิโลกรัมข้าวเปลือก/ชั่วโมง

Process

ขนาดของโครงการ และงบประมาณของ โรงสีข้าวชุมชนขนาด 500 – 1,000 กิโลกรัม / ชั่วโมงใช้งบประมาณตั้งแต่ 3- 4 ล้านบาท ทำการสีข้าวเปลือกของเกษตรกรเพื่อใช้ในการบริโภค และจำหน่ายในชุมชน

คลิคที่ภาพ

ระบบเครื่องจักรหลัก
ทำงานออกเป็น 4 ระบบคือ

  1. ระบบทำความสะอาด
    – มีระบบทำความสะอาดซึ่งสามารถแยกสิ่งเจือปนและฝุ่นละออง
    – มีอุปกรณ์ตรวจจับโลหะ (เศษเหล็ก) ด้วยแม่เหล็กถาวรคุณภาพสูง

คลิคที่ภาพ

2. ระบบกะเทาะข้าวเปลือกและคัดแยกกาก
– มีเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกแบบลูกยางคู่วางเยื้องกันควบคุมการกะเทาะด้วยระบบซึ่งมีอากาศอยู่มีระบบการป้อนข้าวเปลือกอย่างสม่ำเสมอมีอัตราการกะเทาะสูง มากกว่า 90% และมีการแตกหักของข้าวต่ำ
– มีอุปกรณ์แยกข้าวลีบและแกลบซึ่งทำงานรวมกัน
– มีเครื่องแยกข้าวเปลือก (กาก) ออกจากข้าวกล้องแบบถาดหลุมสามารถแยกข้าวกล้องได้

3.ระบบขัดข้าวขาว และคัดขนาด
             – มีเครื่องขัดข้าวแบบลูกหินทรงกรวยวางในแนวดิ่งใช้หินกากเพชรหล่ออัดและอบที่ความดันและอุณหภูมิสูงมีแท่งยางเป็นตัวช่วยขัดข้าวขาวจำนวน 3 แท่งทำให้
ข้าวขาวเร็วข้าวไม่ร้อนและแตกหักน้อยมากมีพัดลมดูดรำภายนอกตัวเครื่องส่งละเอียดเข้าไซโคลนรำ
– มีตะแกรงสำหรับคัดขนาดข้าวสารเพื่อคัดเกรด (%) ของข้าวสารได้ตามต้องการโดยแยกต้นข้าวและปลายข้าวได้ 2 ชนิดและสามารถทำข้าวกล้องเพื่อขายได้
4. ข้อมูลทางด้านเทคนิค ระบบไฟฟ้า3เฟส  รุ่น CP-R 1000
– กำลังผลิต 1000 กิลโลกรัมข้าวเปลือก/ชั่วโมง กำลังไฟฟ้า 30kw., 380 v. 50Hz., 3ph. ขนาด กว้าง 5.50 M. ยาว 7.30 M. สูง 5.00 M. น้ำหนัก 5,400 กิโลกรัม

ภาพโรงสีข้าวชุมชนกำลังผลิต 1000 กิโลกรัมข้าวเปลือก/ชั่วโมง โครงการศูนย์สาธิตพลังข้าวครบวงจร มูลนิธิชัยพัฒนา  อ.ลาดบัวหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา

เครื่องสีข้าว

ความแตกต่างของโรงสีเล็ก CPR-1000 ที่แตกต่างจากโรงสีเล็กทั่วไป คือส่วนประกอบเครื่องจักรโรงสีข้าวขนาดเล็กระดับชุมชน ย่อขั้นตอนการสีข้าวจากโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ลงมาเพื่อให้เหมาะสมในระดับชุมชนเริ่มต้น แต่มีคุณภาพเทียบเท่าสามารถผลิตสินค้าเกรดส่งออก ด้วยการลงทุนในระยะเริ่มต้นเหมาะสม และสามารขยายกำลังผลิตได้อย่างไม่มีขีดจำกัดการลงทุนอีกต่อไป

เครื่องกระเทาะเมล็ดข้าวเปลือก โรงสีข้าขนาดเล็ก ระดับชุมชน CPR - 1000 เครื่องคัดแยกหิน โรงสีขนาดเล็กระดับชุมชน CPR-1000 เครื่องขัดขาวชนิดแกนตั้ง โรงสีชุมชนขนาดเล็ก CPR-1000

เครื่องกระเทาะข้าวเปลือก      เครื่องคัดแยกหิน                     เครื่องขัดขาว

ชุดคัดแยกข้าวด้วยตะแกรงกลมและถังพักข้าว โรงสีขนาดเล็กระดับชุมชน CPR-1000 เครื่องชั่ง sap-12520120627_132652

เครื่องแยกขนาดข้าว     เครื่องชั่งอัตโนมัติ                ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง

เครื่องบรรจุข้าวสารถุงแบบสุญญากาศ ARAYA CENTER20120627_133438

เครื่องบรรจุถุงแบบสูญญากาศ(อุปกรณ์เสริม)                                 เครื่องหีบน้ำมันรำสด (อุปกรณ์เสริม)

ตารางการคำนวณ จุดคุ้มทุน (กรณีโรงสี CPR 1000 กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นจากตาราง เป็น 1,000 กิโลกรัมข้าวเปลือก)

ข้อมูลในการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนเป็นข้อมูลของรุ่นกำลังผลิต 500 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมง

ส่วนขยาย

หมายเหตุ: – ขนาดของอาคารโรงคลุมสามารถเพิ่มปรับ – ลดได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ใช้งาน
– ระบบไฟฟ้าภายในเขตและขยาย 50 KVA (กรณีไม่มีไฟฟ้า 3 เฟส) ขึ้นกับสภาพพื้นที่หน้างาน
– ราคาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ยังไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

**** รุ่น CP-R 500 ทางผู้เขียนไม่แนะนำเพราะราคาไกล้เคียงกับรุุ่น CPR 1000 ****

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

คุณ ไผ่
Tel : 086-588-8805
Email : Socialforce@windowslive.com

ข้อมูลการทำธุรกิจจากลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ (บางส่วน)

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=488

เหนือภาคตะวันออกเฉียง
1. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนม่วย
สถานที่ติดตั้ง: บ้านโนนม่วย ต. นาหนองไผ่อ. ชุมพลบุรีจ. สุรินทร์
ติดต่อ: ประธานเลิศ บุญสด

2. โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
สถานที่ติดตั้ง: ต. เขื่องในอ. เขื่องในจ. อุบลราชธานี
ติดต่อ: ผอ. ประทีปมีศิลป์

เหนือภาค
1. บริษัทศรธรรมอะโกรเทคจำกัด
สถานที่ติดตั้ง: เลขที่ 19 หมู่ 8 ต. แม่กาสาอ. แม่สอดจ. ตาก
ติดต่อ: คุณไพสิฐ เอาฬาร
2. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครสวรรค์
สถานที่ติดตั้ง: 184 หมู่ 9 ต. บ้านมะเกลืออ. เมืองจ. นครสวรรค์ 60000
ติดต่อ: อาจารย์วิโรจน์

กลางภาค
1. วิทยาลัยเทคนิค ชัยนาท
สถานที่ติดตั้ง: ต. บ้านกล้วยอ. เมืองจ. ชัยนาท
ติดต่อ: อาจารย์ กิตติศักดิ์ โพธิ์กระจ่าง
2. องค์การบริหารส่วนตำบลเดิมบาง
สถานที่ติดตั้ง: บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติต. เดิมบางอ. เดิมบางนางบวชจ. สุพรรณบุรี
ติดต่อ: อบต.เดิมบาง ช่างนาย. , นายวิชัย เมืองวงษ์

ใต้ภาค
1. ปัตตานีสำนักงานเกษตรจังหวัด
สถานที่ติดตั้ง: กลุ่มเกษตรกรทำนาคอลอตันหยงหมู่ 3 ต. คอลอตันหยง
อ. หนองจิกจ. ปัตตานี
ติดต่อ: คุณจีรพรรณ
2. ปัตตานีสำนักงานเกษตรจังหวัด
สถานที่ติดตั้ง: กลุ่มเกษตรกรทำนาปะกาฮะรังหมู่ 4 ต. ปะกาฮะรัง
อ. เมืองจ. ปัตตานี
ติดต่อ: คุณจีรพรรณ