บทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

อินทราเน็ตIntranet

            อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 



        อินทราเน็ต
             ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน 
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น 
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้ การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด 
            ประโยชน์อินทราเน็ต
ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 
1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้ 
2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย 
3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ 
4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง 
5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้ 
ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก



อ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

    เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทรา เน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้






ระบบความร่วมมือองค์กร
เป้าหมายของระบบความร่วมมือองค์กร คือ การสามารถทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
-         การติดต่อสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศกับผู้อื่น
-         การประสานงาน ประสานความพยายามในเรื่องงานของแต่ละบุคคลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
-         ความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในโครงการร่วมและงานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร
เป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น จึงใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูลและครือข่าย เพื่อนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาของทีม
กรุ๊ปแวร์สำหรับความร่วมมือองค์กร กรุ๊ปแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้สารสนเทศร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลายๆโครงการ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้เอกสารร่วมกัน
ครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
-         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ
-         โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและโทรสาร เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียง และนำสู้การสนทนาสองทาง
-         งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ เป็นเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับความร่วมมือองค์กร ได้แก่ ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์
เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยให้ผู้ใช้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งปันสารสนเทศทำงานร่วมกันที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
-         การประชุมข้อมูล ผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูแก้ไข ปรับปรุง บันทึกการแก้ไขลงที่กระดาษสีขาว เอกสาร และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน
-         การประชุมเสียง การสนทนาทางโทรศัดพท์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมผ่านทางโทรศัพท์หรือเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต
-         การประชุมทางวีดีทัศน์ แบบทันทีและการประชุมทางไกลโดยเสียง ระหว่างผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่ายหรือระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห้องประชุมที่ต่างสถาบันกัน รวมการใช้กระดาษสีขาวและการแบ่งปันเอกสาร
-         กลุ่มหรือชุมชนสนทนา เตรียมระบบสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อกระตุ้นและจัดการสนทนาข้อความแบบออนไลน์ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษหรือทีมโครงการ
-         ระบบพูดคุย การทำให้ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่าบนเครื่องลูกข่ายสามารถสนทนาข้อความแบบออนไลน์ได้แบบทันที
-         ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องประชุมกับเครื่องลูกข่าย โดยเครื่องฉายภาพจอภาพขนาดใหญ่ และซอฟต์แวร์ EMS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มในระหว่างการประชุมทางธุรกิจ
เครื่องมือการจัดการงานที่ทำร่วมกัน
ช่วยให้คนทำงานได้สำเร็จหรือจัดการกิจกรรมที่ทำงานร่วมกัน
-         ปฎิทินและกำหนดการ การใช้ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์และคุณสมบัติอื่นของกรุ๊ปแวร์เพื่อทำกำหนดการ บอกล่าว หรือเตือนอัตโนมัติแก่สมาชิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทีมและกลุ่มร่วมงานของการประชุม การนัดหมายและเหตุการณ์อื่นๆ
-         งานและการจัดการโครงการ จัดการทีมและกลุ่มร่วมงานโครงการด้วยกำหนดการ การติดตามและทำแผนภูมิสถานะความสำเร็จของงานภายใต้โครงการ
-      ระบบกระแสงาน ช่วยให้คนงานที่มีความรู้เครือข่ายร่วมมือเพื่อทำงานให้สำเร็จและจัดการการไหลของงานที่มีโครงสร้างและการประมวลผลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในกระบวนการทางธุรกิจ

-         การจัดการความรู้ จัดระเบียบและแบ่งปันแบบฟอร์มของสารสนเทศทางธุรกิจที่สร้างภายในองค์กร รวมทั้งการจัดการโครงการและห้องสมุดเอกสารองค์กร ฐานข้อมูลการสนทนา ฐานข้อมูลเว็บไซท์สื่อหลายมิติ และฐานความรู้ประเภทอื่นๆ









แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/abcgraphic1/xinthranetintranet

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัดบทที่ 1

บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์