อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋อง

นึกอะไรไม่ออกนึกถึงอาหารกระป๋อง เพราะความสะดวกรวดเร็วและไม่เสียเวลาในการประกอบอาหารเพียงแค่เปิดฝากระป๋องก็สามารถรับประทานได้แล้ว การทำอาหารกระป๋องเป็นส่วนหนื่งของอุตสาหกรรมอาหาร วันนี้เรามาดูถึงวิธีการและขั้นตอนในการทำอาหารกระป๋องกันเลยดีกว่า 

Canned food หรือ อาหารกระป๋อง คือ อาหารที่ผ่านการถนอมอาหาร (food preservation) ด้วยการใช้ความร้อน (thermal processing) โดยวิธีการบรรจุกระป๋อง (canning) ซึ่งเป็นการบรรจุอาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท (hermectically sealed container) ก่อนนำไปฆ่าเชื้อทางการค้า (commercial sterilization) สามารถเก็บรักษาได้นาน ประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ปี  ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่เสีย

ขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋อง

  1. การเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation) เพื่อเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในรูปที่พร้อมสำหรับการบรรจุกระป๋อง โดยการจัดเตรียมวัตถุดิบจะมีวิธีการคือ 
  • การปอกเปลือก (peeling)
  • คัดขนาด (sizing)
  • การคัดเกรด (grading)
  • การลดขนาด (size reduction)
  • การลวก (blanching)
  1. การบรรจุ  (fillingX อาหารที่บรรจุ อาจเป็นของเหลวอย่างเดียว เช่น น้ำผลไม้  ของแข็ง เช่น  ชิ้นผลไม้ ชิ้นเนื้อ ผสมกับส่วนที่เป็นของเหลวเช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำมัน ซอส ในการบรรจุจะต้องบรรจุให้อาหารมีปริมาตร น้ำหนักบรรจุ ไม่บรรจุจนเต็มพอดี เพราะระหว่างการให้ความร้อน จะมีการขยายตัวขึ้นอีกได้
  2. การไล่อากาศ (exhausting) เพื่อให้ภายในกระป๋องมีสภาวะเป็นสุญญากาศ (vacuum)  เพื่อยับยั้ง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และป้องกันปฏิกิริยาเคมีกับอาหาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สี กลิ่น และรสชาติ ทำได้โดยการพ่นไอน้ำร้อนไปที่ผิวหน้าของอาหารด้วยเครื่องไล่อากาศ (exhauster) เมื่อปิดฝาไอน้ำร้อนจะควบแน่น ทำให้ที่ว่างเหนือกระป๋องเป็นสุญญากาศ หรืออาจใช้การดูดอากาศออกด้วยก่อนการปิดกระป๋อง
  3. ปิดผนึกสนิท (hermitically seal)  โดยใช้ (hermectically sealed container) เพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ และสิ่งปนเปื้อน จากภายนอกปนเปื้อนจากภายนอก รวมทั้ง ไอน้ำ อากาศ ผ่าน เข้าไปภายในบรรจุภัณฑ์ หลังการฆ่าเชื้อแล้ว การปิดฝากระป๋อง ใช้เครื่องปิดฝากระป๋อง (double seam)
  4. การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) โดยการใช้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ ให้เพียงพอกับการฆ่าเชื้อระดับการค้า (commercial sterilization) ตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด (schedule process) การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส จะทำ retort ซึ่งเป็นหม้อฆ่าเชื้อภายใต้ความดันสูง หากฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า  สามารถฆ่าเชื้อในหม้อต้ม(cooker)  ที่ความดันบรรยกาศได้ เพื่อให้อาหารปลอดภัย และเก็บรักษาไว้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด
  5. การทำให้เย็น หลังฆ่าเชื้อแล้วต้องทำให้เย็นทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ทนร้อน (thermophilic bacteria) ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่เจริญได้ การทำเย็นทำได้โดยใช้น้ำเย็น ที่สะอาด

สำหรับการทำอาหารกระป๋องแล้วจะเห็นได้ว่ามีวิธีการและขั้นตอนมากมาย ซึ่งไม่สามารถทำได้หากมีงบในการทำน้อย การทำอาหารกระป๋องมักจำในโรงงานอุตสาหกรรม