การเขียนสระในศิลาจารึก

อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง การเขียนสระในศิลาจารึก

  อักษรไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากภาษาขอมหวัด เนื่องจากขอมปกครองประเทศไทยมาเป็นเวลานาน  

ในระยะแรกการเขียนภาษาไทยไม่สะดวกนัก  โดยตัวอักษรทุกตัวจะวางไว้ในบรรทัดเดียวกัน  รูปวรรณยุกต์  มี 2 รูป คือ  ไม้เอก และไม้โท  ต่อมาสมัยพญาลิไท  การเขียนอักษรได้เปลี่ยนแปลงหลายประการ  เช่น  รูปพยัญชนะและสระเปลี่ยนไป  การเขียนคำ สระจะอยู่ข้างหน้าบ้าง   ข้างหลังบ้าง ล่างบ้าง และยังใช้ไม่หันอากาศแทนตัวสะกด ลักษณะอักษรและอักขระวิธี  ได้มีการเปลี่ยนแปลงและใช้กันสืบมาจนทุกวันนี้  ส่วนด้านวรรณกรรมก็ได้รับแนวคิดมาจากความเชื่อของพระพุทธศาสนา โดยวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  คือ ไตรภูมิพระร่วง  ซึ่งพระราชนิพนธ์ โดยพญาลิไท

  

 

ลักษณะอักษรไทย  สมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด   มีดังนี้ คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห   และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท   สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน   และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะยกเว้น สระอะ  สระอา  เขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน