เนื้อหาวันที่ : 2013-05-03 16:30:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 16790 views

ใช้รถฟอร์คลิฟต์อย่างปลอดภัย…ไร้กังวล (ตอนจบ)

ในฉบับนี้ เราจะมาว่ากันต่อในเรื่องของวัสดุ สิ่งของที่เราต้องยกย้ายโดยเจ้ารถ ฟอร์คลิฟต์คันเก่งของเรากันบ้าง

 ใช้รถฟอร์คลิฟต์อย่างปลอดภัย…ไร้กังวล (ตอนจบ)

 

ศิริพร วันฟั่น

  

             ในฉบับที่แล้ว เราได้รู้กันไปแล้วว่ารถยกหรือ ฟอร์คลิฟต์ มีกี่ประเภท มีหลักการทำงานอย่างไร อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และมีแนวทางในการใช้งานอย่างไรให้ปลอดภัย ส่วนในฉบับนี้ เราจะมาว่ากันต่อในเรื่องของวัสดุ สิ่งของที่เราต้องยกย้ายโดยเจ้ารถ ฟอร์คลิฟต์คันเก่งของเรากันบ้าง

 

 

4) ลักษณะวัสดุ สิ่งของที่ต้องการยก (Loads)

 

4.1 ลักษณะทั่วไป

 

พิจารณาขนาด รูปร่างและน้ำหนัก เทียบกับความเหมาะสมของงาและอัตรากำลังของรถยก รวมถึงจุดศูนย์ถ่วงและโมเมนท์ของทั้งตัววัสดุและรถยก

 

4.2 การจัดเรียง

 

สามารถจัดเรียงวัสดุได้หลายแบบ เช่น

 

(a)   แบบ Block เป็นที่นิยมทั่วไป แต่กล่องข้างบนอาจไม่มั่นคงได้ควรมีการรัดทั้งหมดด้วยเชือก

 

 

(b) แบบ Brick กล่องหรือวัสดุจะล็อคกันภายในโดยการจัดเรียงมุม 90 องศา ลักษณะจะเหมือนการก่ออิฐ

 

 

 

 

 

(c) แบบ Pinwheel จะใช้การจัดเรียงแบบนี้เมื่อแบบ Brick ไม่มั่นคงพอ

 

 

 

(d) แบบ Irregular Stacking Patterns ใช้ในการจัดเรียงวัสดุที่มีรูปร่างที่ไม่ปกติหรือต้องการการจัดเรียงในลักษณะพิเศษโดยใช้แผ่นไม้อัด หรือกระดาษแข็งอย่างหนาสอดคั่นระหว่างชั้น

 

 

 (b) สิ่งกีดขวาง (Obstructions) เป็นอุปสรรคที่สำคัญอันอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ โดยสิ่งกีดขวางนั้นอาจจะบดบังทัศนวิสัยของพนักงานขับรถ รวมถึงเกี่ยวส่วน หนึ่ง ส่วนใดของตัวรถได้ เช่น สายไฟ คานประตู ท่อ หลอดไฟ เป็นต้น รวมถึงควรตรวจสอบแสงสว่างในพื้นที่ทำงานของรถยกว่ามีเพียงพอหรือไม่ด้วย

 

 

6) การขับเคลื่อนรถยก (Traveling) 

-  ตรวจสอบสภาพความพร้อมของรถยกก่อนขับทุกครั้ง

-  ก่อนที่จะทำการสตาร์ทเครื่องต้องปลดเบรกมือและใส่เกียร์ว่างก่อน

-  ห้ามจับพวงมาลัยหรือขับขี่ขณะที่มือหรือถุงมือเปื้อนน้ำมันหรือลื่น

-  ขับอย่างนุ่มนวล ออกตัวไม่กระชาก ควรจำกัดความเร็วในการขับขี่ซึ่งไม่ควรจะเกินจังหวะก้าวเดิน (6 km/hr)

-  อย่าใช้รถยกขับแข่งกัน

- ห้ามบุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ขับรถยกนั่งไปกับพนักงานขับรถยก แม้ว่าจะใช้รถย กบ างรุ่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้บุคคลอื่นโดยสารด้วยก็ตาม

-  ห้ามบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานขับรถยก ขึ้นไปขับหรือควบคุมรถยกแทนพนักงานขับรถยก

-  ห้ามใช้รถยกเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่นนอกเหนือจากที่ผู้ผลิตแนะนำ

-  ถ้ามีการขับผ่านบริเวณที่มีพนักงานปฏิบัติงานอยู่ หรือใกล้ทางเดินเท้า ประตูเข้า-ออก หรือรถยกคันอื่น ควรชะลอความเร็วพร้อมกับบีบแตรและให้สัญญาณไฟเตือน (การส่องไฟหรือให้สัญญาณไฟเตือน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีระดับเสียงรบกวนดังมากหรือผู้ปฏิบัติงานใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น จุกอุดหู ซึ่งอาจจะไม่ได้ยินแตรรถก็ได้)

-  ดูกระจกเงาสะท้อนมุมถนนเมื่อถึงบริเวณถนนหักมุมและพร้อมที่จะหยุดหากมีเหตุฉุกเฉินกะทันหัน และบีบแตรให้สัญญาณทุกครั้ง

-  เพื่อความปลอดภัย ก่อนเลี้ยวรถต้องดูทั้งข้างหน้า ข้างซ้ายและข้างขวา ว่ามีคนหรือรถสวนมาหรือไม่ เช่นเดียวกับการถอยรถก็ต้องมองด้านหลังให้แน่ใจเสียก่อนจึงค่อยเคลื่อนรถ

-  ก่อนที่จะขับรถยกผ่านที่ใด พนักงานขับต้องแน่ใจว่าสามารถขับลอดผ่านไปได้โดยปลอดภัย

-  ห้ามขับรถยกทับสิ่งของที่ตกอยู่บนพื้น

-  ห้ามกลับรถบนทางชัน

-  ควรขับรถยกให้ห่างจากคันหน้าประมาณ 3 ช่วงคันรถ (นับจากปลายงายกเข้ามา) และคำนึงระยะเบรกฉุกเฉินด้วย

-  ห้ามแซงตรงทางแยก ทางโค้งหรือบริเวณที่คับขัน

-  เวลาขับรถยก พนักงานขับรถต้องมีสมาธิ มองทาง ห้ามหยอกล้อกับพนักงานด้วยกันเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

-  การขับรถยกเข้าลิฟต์ ต้องปฏิบัติตามสัญญาณของพนักงานคุมลิฟต์ เมื่อเข้าไปภายในลิฟต์ให้ใส่เบรกมือและลดงาลงต่ำสุด แล้วดับเครื่องยนต์

-  ห้ามขับรถยกพุ่งตรงไปยังพนักงานคนอื่น ๆ ที่อยู่ชิดผนังห้องหรือสิ่งที่อยู่กับที่ เช่น โต๊ะทำงาน

-  ห้ามยกวัสดุที่มีน้ำหนักมากอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ๆ

-  ห้ามพนักงานยืน เดินหรือทำงานใต้งาที่ยกสูงไว้ แม้ว่าจะไม่ได้บรรทุกของก็ตาม หรือในขณะขับเคลื่อนก็ไม่ควรให้งาที่ยกไว้ข้ามศีรษะพนักงานคนอื่น ๆ

-  ห้ามพนักงานขับรถทิ้งรถยกโดยติดเครื่องไว้ และถ้าอยู่ห่างจากรถยกเกิน 7.5 เมตร ต้องลดงาให้ต่ำสุด ใส่เกียร์ว่างและดึงเบรกมือพร้อมกับดับเครื่อง และดึงกุญแจออก

-  ทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมัน ควรดับเครื่องและมีถังดับเพลิงอยู่ใกล้ ๆ ส่วนกรณีที่ใช้ LPG ควรใส่ถุงมือเมื่อทำการเปลี่ยนถังเพราะ LPG จะเย็นมาก รวมถึงตรวจสอบการรั่วไหลและทำความสะอาดน้ำมันที่หกก่อนสตาร์ทเครื่อง

-  การจอดรถยก ต้องลดงาให้ต่ำสุด ใส่เกียร์ว่าง ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ แล้วดึงกุญแจออก ห้ามจอดรถยกขวางถนน ทางเดิน และประตู ถ้าจอดบริเวณพื้นเอียงต้องหาไม้รองที่ล้อกันรถเลื่อน

7) การยกวัสดุหรือบรรทุกของ (Loading)

 

 (a) ตรวจสอบสภาพทั่วไปดังนี้

-  สภาพความพร้อมของรถยก

 

-  ลักษณะของวัสดุหรือสิ่งของที่ต้องยก (รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก) แล้วพิจารณาถึงความเหมาะสมเมื่อเทียบกับอัตรากำลัง (Capacity) ของรถยก รวมถึงจุดศูนย์ถ่วงและโมเมนท์ของทั้งวัสดุและรถยกประกอบกันด้วย (อาจมีความจำเป็นต้องแบ่งซอยวัสดุแล้วยกทีละ น้อย ถ้าวัสดุกองนั้นใหญ่หรือหนักเกินกำลังที่จะยกอย่างปลอดภัย)

 

-  สังเกตคำเตือนบนบรรจุภัณฑ์ที่จะยก เช่น ห้ามวางซ้อนกันเกินกี่ชั้น เป็นต้น

 

-  ลักษณะการจัดวางของวัสดุหรือสิ่งของที่จะยกว่าแน่นหนาพอหรือไม่ ถ้าวางบนพื้นรองยก (Pallet) ควรกระจายน้ำหนักให้ดี ให้มีความสมดุลและหาเชือกผูกรัดให้แน่นเพื่อกันการเลื่อนไหลขณะยก

 

-  ลักษณะพื้นผิวทางวิ่งและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ

 

-  ลักษณะพื้นที่ปลายทางที่จะวางวัสดุหรือสิ่งของ โดยต้องมีการวางแผนล่วงหน้าถึงความเหมาะสมและความพร้อมของตำแหน่งที่จะวาง เช่น ชั้นวางมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของวัสดุหรือสิ่งของหรือไม่ เพียงใด

 

-  พื้นรองยก (Pallet) ที่ใช้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ แข็งแรงพอหรือไม่ ห้ามนำแผ่นรองยกที่ชำรุดมาใช้

 

 

(b) เมื่อตรวจสอบสภาพทั่วไปแล้วเห็นว่ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะยกวัสดุหรือสิ่งของนั้น ๆ ได้ ให้ปฏิบัติดังนี้

-  ปรับตั้งงาให้กว้างเหมาะสมกับพื้นรองยก หรือวัสดุที่จะยก เพื่อเป็นการกระจายน้ำหนักและป้องกันไม่ให้วัสดุเอียง

 

-  ต้องให้กระบังงารถยก (Backrest) อยู่ในลักษณะตั้งตรงและปรับระดับงาให้ได้ระดับก่อนที่จะสอดงาเข้าไปในพื้นรองยก

 

-  ขับรถเข้าไปตรง ๆ และช้า ๆ

 

-  สอดงาเข้าใต้พื้นรองยกอย่างช้า ๆ โดยให้งาทั้งสองห่างจากศูนย์กลางพื้นรองยกเท่ากันเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของวัสดุ ถ้าติดขัดต้องหยุดแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วจึงสอดงาให้ลึกที่สุดโดยให้กระบังงายันกับพื้นรองยกเพื่อให้วัสดุหรือสิ่งของที่ต้องการยกอยู่ใกล้ชิดกับรถยกมากที่สุด เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ได้ใช้พื้นรองยกก็ให้กระบังงายันกับวัสดุ

 

- ห้ามยกวัสดุเกินอัตรากำลังที่ระบุไว้ กรณีไม่แน่ใจว่าน้ำหนักเกินพิกัดหรือไม่ ให้ลองยกขึ้นช้า ๆ แล้วสังเกตการกระดกของท้ายรถยก

 

-  ขณะรถยกเคลื่อนที่ งาควรสูงจากพื้น 5 – 10 เซนติเมตร พร้อมทั้งเอียงเสามาด้านหลัง

 

-  อย่าออกรถยกอย่างรวดเร็ว หยุดอย่างกะทันหัน หรือเลี้ยวฉับพลันขณะบรรทุกสิ่งของ

 

-  ขณะยกของที่มีความสูง หรือมีขนาดใหญ่ อาจจะบดบังทัศนวิสัยควรใช้การขับรถยกถอยหลังจะเป็นการดีกว่า รวมทั้งระมัดระวังสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น เพดาน คานประตู สายไฟ ท่อ หลอดไฟ ฯลฯ และถ้ายังไม่มั่นใจควรให้คนช่วยบอกทาง (Spotter)

 

-  เมื่อขับขึ้นเนินโดยที่มีของบรรทุกอยู่ ให้ขับเดินหน้าขึ้นเนิน แต่เวลาลงเนินให้ถอยหลังลง ส่วนกรณีที่ขับขึ้นเนินโดยไม่มีของบรรทุก ให้ขับรถถอยหลังขึ้นและเมื่อลงเนินให้ขับเดินหน้า

 

-   ควรปฏิบัติตามกฎจราจรในการขับขี่และการใช้อัตราความเร็วที่สถานประกอบการนั้น ๆ กำหนด เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ขับขี่และพนักงานคนอื่น

 

8) การวางวัสดุหรือสิ่งของที่ยก (Unloading)

 

-  ตรวจสอบลักษณะความพร้อมของพื้นที่ที่จะจัดวางวัสดุหรือสิ่งของ เช่น ความกว้าง - ความสูงของห้องเก็บของ ชั้นวาง ฯลฯ

 

-  เมื่อรถยกที่บรรทุกสิ่งของถึงยังตำแหน่งเป้าหมายที่จะวางของ (Placements) ให้ปรับเสาเอียงไปข้างหน้า จากนั้นเดินรถไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ เมื่อตรงตำแหน่งให้ลดงาลง วางของ สังเกตว่าวัสดุที่วางอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงแล้วค่อยถอยรถยกออกมาตรง ๆ ช้า ๆ  

 

 

9) การใช้รถยกยกพนักงานขึ้นไปทำงานบนที่สูง (Lifting People)

           เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องใช้รถยกยกพนักงานขึ้นไปทำงานบนที่สูง ควรใช้ คอกกั้น (Personnel Platform) ที่แข็งแรงและมีราวกันตก (ราวกันตกทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 36”- 42” [92 – 107 cm.] และ 39”- 45” [99 – 115 cm.] สำหรับงานก่อสร้าง) พร้อมทั้งมัดให้แน่นหนากับงาและกระบังงา รวมถึงพนักงานที่ขึ้นไปควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วย ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้พื้นรองยก (Pallet) เพราะจะเสียสมดุลได้ง่ายและมักจะเกิดอุบัติเหตุตกลงมาเป็นประจำ เมื่อทำการยกควรยกขึ้นและยกลงอย่างช้า ๆ และพนักงานขับรถยกห้ามทิ้งรถเป็นอันขาดเมื่อพนักงานยังทำงานอยู่บนคอกกั้น เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

 

ข้อควรใส่ใจ ต้องมั่นใจว่ารถยกที่ใช้งานสามารถใช้ร่วมกับคอกกั้นได้ มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้

 

 

10) แผนงานจัดการจราจรในสถานที่ปฏิบัติงาน (Traffic Management Plans)

จัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการ หนึ่ง ที่จะมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดความปลอดภัยขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์การจราจรและแผนผังของสถานที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ หลักการพื้นฐาน คือ การแยกพนักงานออกจากพื้นที่การทำงานของรถยกให้ได้มากที่สุดที่จะทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วย่อมมีส่วนคาบเกี่ยวกัน ดังนั้นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ

-  การตีเส้นเหลืองแสดงช่องเดินรถยกและบริเวณที่ทำงาน

-  ติดตั้งกระจกนูน ป้ายสัญญาณหยุด (Stop) หรือให้ทาง ( Give Way) ที่บริเวณประตู ทางเดิน ทางแยกหรือมุมของอาคารที่มองไม่เห็นอีกด้าน หรือตำแหน่งสถานที่ทำงานใดที่เป็นจุดอันตรายและให้พนักงานขับรถย กบ ีบแตรและให้สัญญาณไฟทุกครั้งที่ถึงบริเวณนี้

 

-  จำกัดความเร็วของรถยก ซึ่งอาจใช้การติดตั้งอุปกรณ์จำกัดความเร็วที่ตัวรถหรือใช้ป้ายสัญญาณบ่งบอก (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของพนักงานขับรถยกและการเข้มงวด เอาจริงเอาจังของนายจ้าง)

-  ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน มีเสา หรือชานชลา และรถยกต้องปฏิบัติงานเป็นประจำ ควรทำราวป้องกันเพื่อหยุดรถ

-  สิ่งกีดขวางเส้นทางวิ่งของรถยกถ้าเป็นไปได้ควรทาด้วยสีสะดุดตา เช่น คาน ขอบบนประตู เป็นต้น

-  ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอในเส้นทางวิ่งของรถยก

-  ปรับปรุงพื้นถนนให้เรียบและมีความสะอาด ไม่ลื่นหรือเปียก

-  ชื่นชมและให้รางวัลแก่พนักงานขับรถยกที่ขับรถได้อย่างปลอดภัย เพื่อกระตุ้นและเป็นตัวอย่างแก่พนักงานขับอื่น ๆ พร้อมกันก็ต้องมีการว่ากล่าว ตักเตือน และลงโทษสำหรับพนักงานคนใด ๆ ก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามกฎที่วางไว้

-  ฝึกอบรมหรือประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทุกคนหรือผู้มาเยี่ยมชม/ติดต่อ (Visitors) ได้ทราบถึงกฎจราจรในสถานที่ปฏิบัติงานเมื่อแผนงานหรือมาตรการควบคุมความเสี่ยงได้ถูกใช้บังคับแล้วควรที่จะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอเพื่อวัดถึงประสิทธิภาพ

 

 

11) การรายงานอุบัติเหตุ หรือเหตุผิดปกติ และการสอบสวนอุบัติเหตุ (Incident Reporting & Investigation)

      ควรกระตุ้นพนักงานให้รีบรายงานถึงอุบัติเหตุ หรือเหตุผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับรถยกให้ผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบโดยทันที เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบหรือสอบสวนหาสาเหตุได้ทันท่วงที นอกจากนี้ควรมีแผนงานที่ระบุถึงขั้นตอนการทำงานในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Procedure) และเตรียมพร้อมสำหรับการปฐมพยาบาลและการแพทย์ฉุกเฉินด้วย

 

12) การจัดซื้อรถยก (Selecting a Suitable Forklift)

      จัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญลำดับต้น ๆ ซึ่งควรพิจารณาจัดซื้อประเภทของรถยกให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะพื้นที่งานภายใน (Indoor Area) ที่มีลักษณะปิด (Enclosed) หรือเป็นที่อับอากาศ (Confined Spaces) และมีการระบายอากาศไม่ดีหรือไม่เพียงพอ อาจมีความไม่ปลอดภัยเมื่อใช้รถยกที่มีเครื่องยนต์เผาไหม้เชื้อเพลิงภายใน ซึ่งจะก่อไอเสียที่มีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide: CO) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่งานภายในและพื้นที่อับอากาศ

ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสในปริมาณมาก โดยอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมองอย่างถาวร ถ้าสัมผัสในปริมาณ น้อย จะทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก วิงเวียน

 เกิดการตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ อาจหัวใจวายได้ ดังนั้นควรเลือกใช้รถยกประเภทใช้ไฟฟ้าดีกว่า เมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศ ซึ่งรถยกประเภทใช้ไฟฟ้าจะไม่มีไอเสีย แต่ก็มีข้อเสียคือต้องชาร์ตไฟอยู่บ่อย ๆ อย่าง น้อย ต้อง 3/4 ส่วนของแบตเตอรี่ในการใช้งานแต่ละครั้งและเมื่อยกของบ่อย ๆ หรือของมีน้ำหนักมากพลังงานไฟฟ้าก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเลือกใช้ประเภทของรถยกนั้นมีความสำคัญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพื้นที่งานที่มีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายสูง เช่น โกดังเก็บสารอันตรายต่าง ๆ สารไวไฟ ฯลฯ ในการใช้รถยกอาจก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟที่อาจนำไปสู่การระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นต้องให้ความระมัดระวังและใส่ใจเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ควรพิจารณารถยกที่มีการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักเออร์โกโนมิก (Ergonomic) และหลักความปลอดภัยประกอบกันด้วย

 

รูปแบบลักษณะของรถยก และสถานที่ใช้งานตามประเภทของอันตราย (Forklift Designations & Hazardous Locations)

     รถยกทุกชนิดจะมีรูปลักษณะการออกแบบที่บ่งบอกว่ามีความเหมาะสมกับการใช้ในสภาพแวดล้อมอันตรายแบบใด ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จากแผงตารางอัตรากำลังของรถยก (The Forklift’s Load Capacity Plate) ของรถยกแต่ละรุ่น

 

 

ตารางที่ 2 แสดงชนิดและการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้ไว้กับตัวรถ

 

ในการที่จะเลือกใช้รถยกให้ถูกประเภท เราควรที่จะทราบถึง

 

-  ลักษณะของสถานที่ทำงาน จะใช้การแบ่งตามจำพวก (Class)

 

-  ชื่อของสารเคมีหรือวัตถุที่ใช้งาน

-  ลักษณะของอันตรายที่แสดงออกมา

 

 

ตารางที่ 3 แสดงกลุ่มของลักษณะสถานที่ทำงาน

 

 

และแบ่งกลุ่มสถานที่ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามโอกาสที่เกิดอันตรายได้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 (Division I) เป็นกลุ่มของสถานที่ที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้อย่างมากหรือแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน

กลุ่มที่ 2 (Division II) เป็นกลุ่มของสถานที่ที่โอกาสของอันตรายที่จะลุกลามมี น้อย

 

การใช้ตารางที่ 4 มีขั้นตอนการพิจารณาดังนี้ คือ

 

1.  พิจารณาคอลัมน์แรกสำหรับจำพวก (Class) ของประเภทวัตถุอันตรายที่มีอยู่

 

2.  ค้นหาแถวที่แสดงถึงชื่อสารเคมีหรือวัตถุที่มีหรือใช้งาน

 

3.  เลือกคอลัมน์ที่ 2 หรือ 3 บนพื้นฐานของกลุ่ม (Division) ที่แสดงถึงสภาวะของการสัมผัส

 

4.  ชนิดของรถยกที่สามารถใช้ได้ (หรือห้ามใช้) ที่มีการระบุไว้ซึ่งจะบรรจบในแนวตัดกัน (Intersection) ของแถวและคอลัมน์

 

 

 ตารางที่ 4 แสดงกลุ่มของอันตรายและชนิดของรถยกที่ควรใช้

 

 สรุปแล้วการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากรถยก มีหลัก ๆ คือ

 

-        ใช้รถยกและอุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษ (Special Attachments) ให้ถูกประเภท บนพื้นฐานความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมการทำงาน ลักษณะพื้นที่งานและขนาดของวัสดุ

 

-        มั่นใจว่าพนักงานขับรถยกได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการที่เพียงพอต่อการขับขี่และการใช้งานรถยกได้อย่างปลอดภัยและควรมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ

 

-        สังเกตพนักงานขับรถยกในการใช้งานรถยกในแต่ละวัน และต้องรีบดำเนินการแก้ไขทันทีที่สังเกตเห็นพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจความปลอดภัยในการขับขี่และการใช้งาน

 

-        มีแผนงานการจัดการจราจรในสถานที่ปฏิบัติงาน (Traffic Management Plans) ที่มีประสิทธิภาพ และมีการประเมินผล ทบทวนอยู่เป็นระยะ ๆ

 

-        บำรุงรักษารถยกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานปราศจากข้อบกพร่อง หรือมีชิ้นส่วนใด ๆ เสียหาย โดยอาศัยการตรวจสอบในแต่ละวันและตารางการบำรุงรักษา-ซ่อมแซมรถยก

      เพียงเท่านี้ เราก็สามารถใช้งานรถยกในสถานที่ประกอบการของเรา ได้อย่างปลอดภัยและไร้กังวลแน่นอน

 

 

เอกสารอ้างอิง

-       Forklift Safety Guide, Illinois Department of Commerce and Economic Opportunity , Nov. 03.

-        A Guide to Forklift Safety, ACT WorkCover, July 2005.

-        ความปลอดภัยในการใช้รถยก โดย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน

-        หลักความปลอดภัยในการทำงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด