การพิมพ์ลวดลาย ( Printing )                                                                     

             มี
  2 วิธี คือ

 1 : การพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ ( Wood - Cut ) หรือผลไม้แกะสลัก                             


                  

                                               อุปกรณ์การพิมพ์ด้วยบล็อกไม้

  ขั้นตอนการทำ Wood - cut                                                                          

            1.
  ออกแบบลวดลายลงบนกระดาษ

                                


                 2.
       ลอกลายลงบนไม้  และแกะสลักลวดลายเป็นภาพนูนต่ำ

                     

              3.    ใช้ลูกกลิ้งทาสีให้ทั่วและนำไปกลิ้งบนแม่พิมพ์  จากนั้นนำกระดาษมาวางทาบบนแม่พิมพ์
                     แล้วกดให้เรียบเพื่อพิมพ์ลาย


                     

               4.    รูปภาพที่ได้จากการพิมพ์  wood - cut

          
 

 2 : การพิมพ์ซิลค์สกรีน  ( Silk Screen )                                                         
 
              เป็นการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษสาโดยใช้วิธีเดียวกับการพิมพ์ผ้า  โดยการใช้ผ้าสกรีนที่ทอด้วย
  เส้นใยเนื้อละเอียดสำหรับทำ ซิลค์สกรีน คือ ใช้ผ้าสกรีนที่ทอด้วยเส้นใยเนื้อละเอียดสำหรับทำซิลค์สกรีน
  โดยเฉพาะ ส่วนมากเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์หรือไนล่อน ซึ่งระหว่างเส้นใยมีช่องว่างแบบตะแกรงซึ่งสีที่มี
  เนื้อละเอียดสามารถผ่านผ้านี้ได้ เมื่อต้องการพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ ต้องอุดช่องว่างของเนื้อผ้าส่วนที่ไม่   ต้องการให้สีผ่านลงไปได้ แล้วเว้นส่วนที่เป็นลวดลายไว้ เวลาจะพิมพ์หรือปาดสีลงบนสกรีน สีจะผ่านส่วน
  ที่เป็นลวดลายที่เป็นผ้าโปร่งลงบนวัตถุที่จะพิมพ์ตามต้องการ ซึ่งกรรมวิธีที่จะอุดช่องว่างให้เกิดเป็นลวด -
  ลายตามต้องการได้นั้น สามารถทำได้หลายวิธี คือ



              1)     การเขียนลวดลายลงบนสกรีนโยตรงด้วยการใช้แลคเกอร์หรือสีน้ำมัน วิธีนี้เหมาะสำหรับ
  ทำลวดลายง่ายๆและไม่ต้องการความละเอียดมากนัก ทำโยเขียนสีน้ำมันหรือใช้แลคเกอร์ทาในส่วนที่ไม่
  ต้องการให้สีทะลุผ่านลงไป



             2)     การใช้กระดาษชุบขี้ผึ้งหรือแลคเกอร์ตัดเป็นลวดลายตามต้องการแล้วนำมารีบลงบนผ้า
  สกรีน วิธีนี้เหมาะสำหรับลวดลายง่ายๆและพิมพ์จำนวนไม่มากนัก



             3)      การใช้ฟิล์มแกะให้เป็นลวดลายแล้วนำมาติดกับสกรีนมีอยู่หลายชนิด ลักษณะเป็นเยื่อบางๆ
  ฉาบติดกับแผ่นพลาสติกซึ่งมีทั้งหนาและบาง ส่วนสีของฟิล์มมีหลายสีแล้วแต่ชนิดของการใช้งาน เช่น
  ฟิล์มน้ำ สีม่วงอ่อน ใช้สำหรับสกรีนที่จะพิมพ์สีน้ำมันโดยใช่น้ำเป็นตัวละลายฟิล์มให้ติดกับผ้าสกรีน
  ฟิล์มเขียว สีเขียว ใช้ลอกให้ติดกับสกรีนด้วยทินเนอร์ เวลาล้างน้ำฟิล์มจะไม่หลุดออกจากผ้า เหมาะ
  สำหรับพิมพ์ผ้าด้วยสีน้ำ



             4)       การถ่ายลวดลายลงบนสกรีนโดยใช้กาวอัดผสมน้ำยาไวแสง หลักการของวิธีนี้เหมือนกัน
  การถ่ายรูป กาวอัดเป็นกาวที่ได้จากธรรมชาติหรือกาวที่ผลิตเพื่อทำสกรีนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายยี่ห้อและ
  หลายสี เช่น สีฟ้า สีแดง และสีม่วง เมื่อผสมกับน้ำยาไวแสง ( แอมโมเนียนไดโครเมท ) จะมีคุณสมบัติ
  คือ แข็งตัวเมื่อถูกแสง น้ำละลายไม่ออก อัตราส่วนผสมของกาวอัดกับน้ำยาไวแสงประมาณ 5:
1 หรือ
  ตามที่ผู้ผลิตกำหนด วิธีนี้ขั้นแรกต้องออกแบบลวดลายหรือทำต้นแบบขึ้นมาเพื่อนำไปถ่ายลงบนสกรีน
  ต่อไป ซึ่งการทำแม่พิมพ์วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากเพราะเป็นวิธีที่สามารถทำลวดลายได้ไม่จำกัด พิมพ์ลง
  วัสดุได้ทุกชนิด และเป็นวิธีที่เหมาะสมในการพิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษสา



 ขั้นตอนการสกรีนภาพลงบนกระดาษสา                                                            

   
        1)      นำกระดาษสาวางไว้ใต้พิมพ์ซิลค์สกรีน


                        


             
2)       รีดกระดาษสาให้แนบไปกับแท่นพิมพ์ ( อาจใช้กระดาษกาวช่วยยึดติดชิ้นงานเวลาพิมพ์ )


                        
 

             3)
             เทสีพิมพ์ที่ผสมแล้วลงในกรอบสกรีน


                        

 
          4)
   ใช้ยางปาด ตั้งเอียงเข้าหาตัวเล็กน้อยแล้วปาดสีผ่านลายเข้าตัวด้วยความเร็วพอเหมาะ ยก
                กรอบสกรีนขึ้นแล้วปาดกลับเพื่อให้สีเคลือบบนผิวหน้าแม่พิมพ์
 ป้องกันไม่ให้สีพิมพ์แห้งแล้ว
                อุดรูบนผ้าสกรีน



                  


        5)      นำกระดาษสาที่พิมพ์แล้ววางตากบนชั้นตากหรือผึ่งแขวนไว้


                       

 


                                        

                            
                    แผนผังการพิมพ์ Silk Screen


   ตัวอย่างการทำลวดลายบนกระดาษสาด้วยวิธี
  Silk Screen