|

สสก.5 ติดอาวุธให้เจ้าหน้าที่ภาคใต้ พร้อมเป็นที่ปรึกษาเกษตรกร เร่งพัฒนาสินค้าสู่การรับรอง GAP

85AA0E1F-480C-44AA-A715-09C14B50EBD3สสก.5 ติดอาวุธให้เจ้าหน้าที่ภาคใต้ พร้อมเป็นที่ปรึกษาเกษตรกร เร่งพัฒนาสินค้าสู่การรับรอง GAP

            ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรที่จะต้องมีมาตรฐานรองรับที่แสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เช่น มาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การได้รับรองมาตรฐานสินค้าไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านการควบคุมคุณภาพผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อเกษตรกรในด้านสุขภาพอนามัยของผู้ผลิตเองด้วย เกษตรกรจึงหันมาให้ความสำคัญกับการขอการรับรองมาตรฐาน GAP มากขึ้น กอปรกับคู่ค้า ผู้รับซื้อ และตลาดต้องการสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานรับรอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน แต่เกษตรกรบางส่วนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน GAP หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จึงจำเป็นต้องให้ความรู้ โดยการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้เป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาแก่เกษตรกร          6B3D8517-CF28-488B-9267-1B0D7ABBE5A0              นายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันภาคใต้มีเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว จำนวน 54,589 ราย ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อย เกษตรกรทุกรายควรได้รับการรับรอง ซึ่งตามภารกิจแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรและกรมวิชาการเกษตรจะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยตรวจให้การรับรอง ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาสินค้าให้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ให้มากขึ้น จึงได้ร่วมกันสร้างการรับรู้ และเร่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ให้พร้อมเป็นที่ปรึกษาและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นตามข้อกำหนด ก่อนการยื่นขอตรวจรับรองจริง           94BFD5C5-9438-44A4-B705-9AE997515C29              โดยกรมวิชาการเกษตร ในปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตรมีเป้าหมายดำเนินการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรในการรับรองมาตรฐาน GAP ให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตพืชอาหาร จำนวน15,000 ราย โดยเน้นพื้นที่ที่มีการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และแปลงทั่วไปที่มีศักยภาพทางการผลิตและการตลาด ภาคใต้ได้รับเป้าหมายเกษตรกรให้ดำเนินการจำนวน 3,926 ราย โดยเกษตรกรที่จะเข้าร่วมต้องเป็นเกษตรกรที่ยังไม่เคยเข้ารับการอบรมเรื่องมาตรฐาน GAP หรือเกษตรกรรายเดิมที่ยังไม่ผ่านการประเมินแปลงเบื้องต้นจากกรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรที่อยู่ในขอบข่ายการตรวจรับรองของกรมวิชาการเกษตร โดยพื้นที่ในการผลิต ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ มีเอกสาร/หนังสือรับรอง) ทั้งนี้เกษตรกรที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าร่วมโครงการได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งอยู่ในพื้นที่             E3107ECA-705E-4AE1-B6AA-3EB872A95FF2             นายอนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการพัฒนาสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเองจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตรตามหลักการของมาตรฐาน GAP และสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตร ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้จัดอบรมพัฒนาความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 100 คน โดยได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร สถาบันการศึกษา รวมทั้งกรมส่งเสริมการเกษตรเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เข้าอบรมได้รับความรู้ที่จะนำไปปฏิบัติงานในพื้นที่ได้มากที่สุด โดยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นครบทุกรุ่นแล้ว ในไตรมาส 2 พร้อมที่จะไปปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาให้เกษตรกรต่อไป

E2773FDF-64CA-45FB-9DD0-E9F2301BF0E7

D7E8C097-251E-4CE6-886E-FD802A6A29E1

B7712291-F966-403F-9959-2F15695E8167

99361853-C115-4C60-9982-177ED2C174EA

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=70864

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us