สาระน่ารู้ :: เกี่ยวกับ computer
ความรู้เรื่อง Monitor (CRT)
>>มอนิเตอร์ทำงานยังไง?

จุดเริ่มต้นอยู่ที่เครื่องพีซีของคุณ จะส่งสัญญาณดิจิตอลไปที่ SVGA adaptor (SVGA = Super Video Graphics Array) เช่น เวลาที่คุณใช้ Microsoft Word พิมพ์เอกสารอยู่ เครื่องพีซีก็จะส่งข้อมูลของทุกตัวอักษรที่คุณกำลังพิมพ์ไปเป็น สัญญาณดิจิตอล จากนั้น SVGA adaptor หลังจากที่ได้รับสัญญาณแล้ว ก็จะ ส่งต่อไปที่ DAC (Digital to Analog Converter) เพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอล ให้กลายเป็นสัญญาณแอนาล็อก (ตามชื่อของมันล่ะครับ) จากนั้นเจ้าตัว DAC นี้ ก็จะทำการเปรียบเทียบค่าสัญญาณที่ได้มา แล้วแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า สำหรับสีต่างๆ ทั้งสามสีได้แก่ แดง, เขียว, น้ำเงิน และจากแม่สีทั้งสามนี้เอง ที่จะถูกนำมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ นับล้านสี

เมื่อ DAC ทำการแปลงสัญญาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดการส่งต่อไปให้ CRT (Cathode Ray Tube) ซึ่งจอมอนิเตอร์ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ ก็จะใช้ระบบ CRT นี่ล่ะครับ ซึ่งเจ้าระบบ CRT นี้ ก็มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอทีวีนั่นเอง (ยกเว้นก็เฉพาะพวกจอบาง ที่ใช้จอภาพแบบ LCD แทนการใช้ CRT) และเจ้า หลอด CRT นี้เอง จะยิงอิเล็คตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอ ทำให้เกิดการเรืองแสงออกมา และกลายเป็นภาพที่คุณเห็นในที่สุด

จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดง ผลลัพธ์แบบชั่วคราว ที่ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความ และภาพกราฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผล จอภาพจะมีขนาด คุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อจอภาพที่เหมาะสม กับงานและงบประมาณ ที่มีอยู่ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสี ชนิดความละเอียดสูง และเป็นจอภาพแบบ Non Interface ซึ่งจอภาพชนิดนี้ จะช่วยลดอาการ สั่นกระพริบของจอภาพได้ ทำให้ผู้ใช้งานลดความเครียดทางสายตาได้

การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ

จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ เป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอ จะมีสีสรรสมจริง เพียงใด โดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้ว

จอภาพที่แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216 สี จะให้สีสมจริง ตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับ งานตกแต่งภาพ และงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

จอภาพแบบซีอาร์ที

การแสดงผลบนจอภาพ เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผล ได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น มาตรฐานการแสดงผล ที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีพื้นฐานมาจากการพัฒนา ของบริษัทไอบีเอ็ม ในยุคต้นความต้องการของ การแสดงผลส่วนใหญ่ ยังเป็นแบบตัวอักษรโดยมีภาวะการทำงาน (mode) แยกจากการแสดง กราฟิก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมาก สามารถแสดงผลในภาวะกราฟิก เช่น ระบบปฎิบัติงานวินโดวส์ ต้องใช้ภาวะการแสดงผล ในรูปกราฟิกล้วน ๆ ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาด ช่องหน้าต่าง หรือการแสดงผลได้ตามที่ต้องการ จอภาพจึงเป็นส่วนสำคัญมาก ส่วนหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานในยุคปัจจุบัน

ในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็ม ได้พัฒนาระบบการแสดงผล ที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโนโครม หรือ เอ็มดีเอ (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะภาวะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผล ในภาวะกราฟิกก็ต้องเลือก ภาวะการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสี และกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย

เมื่อมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานแบบเดียว กับคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM compatible) ไอบีเอ็มจึงต้องกำหนดมาตรฐาน การแสดงผลไว้ ต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งเห็นปัญหา ของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผลวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่า แผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) หรือ เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) บางครั้งเรียกว่า โมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์ หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA) การแสดงผลแบบนี้ เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันต่อเนื่อง มาและมีผลิตขึ้นมาใช้กันมากมาย

ต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเห็นว่า ความต้องการทางด้านกราฟิกสูงขึ้น การแสดงสีควรจะมีรายละเอียดและจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐาน การแสดงผลบนจอภาพขึ้นอีก โดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การเพิ่มเติมจำนวนสี ยังไม่พอเพียงกับซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการพัฒนา ให้ใช้กับระบบปฎิบัติการวินโดวส์ และโอเอสทูไอบีเอ็ม จึงสร้างมาตรฐานการแสดงผล ที่มีความละเอียด และสีเพิ่มยิ่งขึ้นเรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)

สำหรับภายในหลอด CRT จะประกอบด้วย

1. ปืนอิเล็คตรอน ซึ่งจะสร้างให้เกิดลำแสงอิเล็คตรอน โดยจะมีเจ้าปืน- อิเล็คตรอนอยู่ทั้งหมดสามกระบอก เดากันได้ง่ายๆ ครับว่าใช้สำหรับแม่สี ทั้งสาม (แดง, เขียว, น้ำเงิน)

2. Anodes จะเป็นตัวเร่งความเร็วของอิเล็คตรอนที่ถูกยิงออกมา

3. Deflecting Coils เป็นตัวที่จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอ่อนๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นตัวควบคุม ทิศทางของอิเล็คตรอนที่ถูกยิงออกมา

นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีตัวที่เรียกว่า slot mask หรือ shadow mask ซึ่งเป็น แผ่นโลหะที่มีรูจำนวนมาก รูเหล่านี้ จะทำหน้าที่บังคับให้ลำแสง อิเล็คตรอน เรียงกัน เป็นระเบียบอย่างสวยงาม

ทีนี้ เมื่อลำแสงอิเล็คตรอนมา กระทบกับจอภาพแล้ว เกิดภาพขึ้นได้ยังไง?? คุณจะสามารถมองเห็นจุดเล็กๆ เพียงจุดเดียวบนจอมอนิเตอร์ได้ เมื่อลำแสง อิเล็คตรอนมากระทบกับสาร ที่เคลือบอยู่ที่ผิวของจอภาพ ซึ่งเจ้าสารตัวนี้ จะ เรืองแสงออกมาเมื่อถูกกระทบ โดยอิเล็คตรอน ส่วนสีที่คุณเห็น บนจอภาพนี้ ถูกกำหนดโดยความเข้ม ของลำแสงอิเล็คตรอนที่ยิงออกมา ซึ่งเจ้าความเข้มนี้ ถูกกำหนดค่ามาเรียบร้อยแล้วโดย DAC

ลำแสงที่ถูกยิงออกมากระทบกับจอภาพ จะเริ่มตั้งแต่มุมขวาบน ไล่ไปทางซ้ายมือ เรื่อยๆ จนสุด แล้วก็เลื่อนมาที่บรรทัดใหม่ และยิงแสงไล่ไปมาแบบนี้จนทั่วจอภาพ เมื่อลำแสงอิเล็คตรอนถูกยิงไปจนทั่วจอภาพแล้ว ก็จะเริ่มใหม่ที่มุมขวาบนอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว จอมอนิเตอร์ของคุณจะถูก redraw (ฉายลำแสงไปจนทั่วหน้าจอ และกลับไปเริ่มใหม่) หรือที่ศัพท์คอมฯ เรียกกันว่า refresh ประมาณ 60 รอบ ต่อวินาที นึกภาพดูเอาง่ายๆ ถ้าคุณเปิดรูปตัวการ์ตูนขึ้นมาซักรูป มอนิเตอร์ของคุณ ก็จะฉายภาพนั้นซ้ำแล้ว ซ้ำอีกประมาณหกสิบครั้ง ในหนึ่งวินาที แต่ถ้าเจ้าตัวการ์ตูน ของคุณเกิดเคลื่อนไหวขึ้นมา ภาพที่ฉายทั้งหกสิบครั้ง ในหนึ่งวินาทีนั้น ก็จะเปลี่ยน ไปเรื่อยๆ ตามการเคลื่อนไหว ของตัวการ์ตูนนั้น (นึกถึงเวลาดูภาพสโลว์โมชั่นใน หนังยังไงยังงั้นแหละ)

เวลาที่คุณมองภาพบนจอ ลำแสงอิเล็คตรอนก็จะถูกยิงออกมาเรื่อยๆ ตามแนวที่ สายตาของคุณเคลื่อนที่ (ถ้ามองจากด้านในของมอนิเตอร์ แสงจะยิงจากขวาไปซ้าย และบนลงล่าง แต่ถ้าออกมามองในมุมของคุณ ก็จะกลายเป็น ซ้ายไปขวา บนลงล่าง)

ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver ล่ะครับ เพราะการที่ลำแสงอิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมา เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียว

การเลือกซื้อจอภาพ

การเลือกซื้อจอภาพ จะตัองพิจารณาความสัมพันธ์ ของจอภาพกับตัวปรับต่อ ซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก (main board) และต่อสัญญาณมายังจอภาพ แผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผล ตามมาตรฐานที่ต้องการ มีภาวะการแสดงผลหลายแบบ เช่น

ก. แผงวงจรโมโนโครมหรือแผงวงจรเอ็มดีเอ เป็นแผงวงจรที่ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรจำนวน 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร ขนาดความละเอียดของตัวอักษรเป็น 9x14 ชุด

ข. แผงวงจรเฮอร์คิวลิสหรือแผงวงจรเอชจีเอ แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาด 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร เหมือนแผงวงจรเอ็มดีเอ แต่สามารถแสดงกราฟิกแบบสีเดียวด้วยความละเอียด 720x348 จุด

ค. แผงวงจรอีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วยความละเอียดของตัวอักษรขนาด 9x14 จุดแสดงสีได้ 16 สี ความละเอียดของการแสดงกราฟิก 640x350 จุด

ง. แผงวงจรวีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วย ความละเอียดของตัวอักษร 9x16 จุด แสดงสีได้ 16 สี แสดงกราฟิกด้วยความละเอียด 640x480 จุด และแสดงสีได้สูงถึง 256 สี

จ. แผงวงจรเอ็กซ์วีจีเอ เป็นแผงวงจรที่ปรับปรุงจากแผงวงจรวีจีเอ แสดงกราฟิกด้วยความละเอียดสูงขึ้นเป็น 1,024x768 จุด และแสดงสีได้มากกว่า 256 สี

เมื่อได้ทราบว่าตัวปรับต่อมีกี่แบบแล้ว คราวนี้มาดูมาตรฐานตัวเชื่อมต่อ (connector) ของตัวปรับต่อกับจอภาพบ้าง ตัวเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้มีแบบ 9 ขา ตัวเชื่อมต่อ สำหรับแผงวงจรแบบ วีจีเอ และ เอสวีจีเอ เป็นแบบ 15 ขา การที่หัวต่อไม่เหมือนกัน จึงทำให้ใช้จอภาพพร่วมกันไม่ได้

นอกจากตัวเชื่อมต่อและตัวปรับต่อแล้ว คุณภาพของจอภาพ ก็จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างมาก สัญญาณที่ส่งมายังจอภาพ มีรูปแบบไม่เหมือนกัน สัญญาณของแผงวงจรแบบวีจีเอ เป็นแบบแอนะล็อก สัญญาณของแผงวงจรแบบ เอ็มดีเอ ซีจีเอ เอชจีเอ อีจีเอ เป็นแบบดิจิทัล ข้อพิจารณาที่จะตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ คือ การแสดงผลจะต้องเป็นจุดเล็ก ละเอียดคมชัด ไม่เป็นภาพพร่า หรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะ ของการกราดตามแนวตั้งคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือ แถวบน กับแถวกลาง หรือแถวล่าง ต้องมีขนาดเท่ากัน และคมชัดเหมือนกัน ภาพที่ปรากฎจะต้องไม่กระพริบ ถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มที่ ภาพไม่สั่นไหว หรือพลิ้ว การแสดงของสี ต้องไม่เพี้ยนจากสี ที่ควรจะเป็น

พิจารณารายละเอียดทางเทคนิค ของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพ ซึ่งจะวัดตามแนว เส้นทะแยงมุมของจอ ว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงาน กราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของ จุดซึ่งสามารถสังเกตได้ จากสัญญาณแถบความถี่ ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอ ควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเอ แสดงผลแบบมัลติซิงค์ (multisync) ใช้สัญญาณ แถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็ก ยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด .28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่า ขนาดจุด .33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณ แถบความถี่จึงเป็น ข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย

หมายเหตุ บทความเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ได้มาจาก
www.geocities.com /clicksabay