เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1

เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1
เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1เครื่องพิมพ์ดีด smith premier no.1 รหัส 41064sm1
รหัสสินค้า 41065sm1
หมวดหมู่ เก้าอี้ตัดผม ลูกโลก ภาพวาด หนังสือ โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ดีด กรอบกระจก กิโล โทรทัศน์ ธงชาติต่างๆ
ราคา 150,000.00 บาท
สถานะสินค้า พร้อมส่ง
ลงสินค้า 4 ต.ค. 2564
อัพเดทล่าสุด 4 ต.ค. 2564
คงเหลือ ไม่จำกัด
จำนวน
ชิ้น
หยิบลงตะกร้า
บัตรประชาชน
บุ๊คแบ๊งค์
คุ้มครองโดย LnwPay
เครื่องพิมพ์ดีดsmith premeir no.1 เครื่องนี้เป็นเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีในประเทศสยามสมัยก่อน ร.5 เป็นคนนำเข้ามาใช้เป้นเครื่องแรกก็คือ smith premier no.1 จัดเป็นสุดยอดของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีอยู่ที่ไทยตอนนี้ หาเก่ากว่านี้ไมีมีอีกแล้วเพราะเครื่องรุ่นนี้ เป็นรุ่นแรกที่ ร.5 ทรงนำเข้ามาใช้ที่ไทย...หายากสุดๆในไทยมีไม่กี่เครื่อง คงเหลือเก็บเฉพาะราชวงศ์ที่เป็นมรดกตกทอดมาเท่านั้น....เครื่องนี้คงตีสภาพโชว์ สภาพ70% เอามาใช้พิมพ์ไม่ได้แล้ว.


 ประวัติเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย
 
             เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ Mr.Edwin Hunter  Macfarland หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เกิดความคิดที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น  พ.ศ.2434 เขาได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อสำรวจว่าจะมีบริษัทใดที่สนใจผลิตเครื่องพิมพ์ดีดเป็นภาษาไทยบ้าง ซึ่งก็พบว่าบริษัท Smith Premier ในเมือง New York สนใจที่จะร่วมผลิต ดังนั้น Mr.Macfarland จึงได้ร่วมมือกับบริษัท Smith Premier ผลิตต้นแบบเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น โดยได้ร่วมออกแบบและวางตำแหน่งตัวอักษรไทยที่จะใช้ในเครื่องพิมพ์ดีดได้สำเร็จลักษณะเครื่องพิมพ์ดีดไทย Smith Premier นั้น เป็นแบบแคร่ตาย(แคร่พิมพ์ไม่เลื่อน) และมีแป้นพิมพ์ 7 แถว ไม่มีแป้นยกอักษรบน( Shift key) จึงยังไม่สามารถพิมพ์โดยวิธีพิมพ์สัมผัสได้( Touch Typing)
 
     ในปี พ.ศ.2435 Mr.Macfarland ได้นำเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรกยี่ห้อ Smith Premier เข้ามาถวายรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์และพอพระราชหฤทัยอย่างมาก จึงถือได้ว่ารัชกาลที่ 5 เป็นนักพิมพ์ดีดไทยพระองค์แรก หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเข้ามาใช้ในราชการสยามเป็นครั้งแรกจำนวน 17 เครื่อง  ต่อมาในปี พ.ศ.2438 Mr.Edwin Macfarland ได้ถึงแก่กรรม กรรมสิทธิ์ในเครื่องพิมพ์ดีด Smith Premier จึงตกแต่ Dr.George Bradley Macfarland (พระอาจวิทยาคม) ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งเป็นผู้สั่งเครื่องพิมพ์ดีดไทย Smith Premier เข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.2440 โดยวางขายที่ร้านทำฟันของท่านเอง จนถึง พ.ศ.2441 จึงได้ตั้งห้างสมิทพรีเมียร์ขึ้นที่หลังวังบูรพา ซึ่งปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมากในวงราชการและบริษัทห้างร้าน
 
     ในปี พ.ศ. 2458 หลังจากที่บริษัท Smith Premier ได้ขายสิทธิการผลิตให้แก่บริษัท Remington แล้ว บริษัท Remington ได้ยกเลิกการผลิตเครื่อง Smith Premier  และหันไปผลิตเครื่องแบบยกแคร่ได้แทน แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนไทยในยุคนั้น
 
     ในปี พ.ศ.2465 Dr.George Macfarland เดินทางไปสหรัฐอเมริกา และได้ร่วมให้คำปรึกษาแก่บริษัท Remington ถึงการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดไทยขนาดเล็กที่สามารถพิมพ์สัมผัสสิบนิ้วได้ จนสามารถทำได้สำเร็จเป็นแป้นแบบ 4 แถว และได้นำเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นดังกล่าวเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยจนได้รับความนิยมแทนที่เครื่อง Smith Premier ในเวลาต่อมา แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการพิมพ์ที่ยังขัดกับวิธีการเขียนภาษาไทยอยู่บ้าง   ต่อมา Dr.George Macfarland ได้ร่วมกับพนักงานในห้างของท่าน 2 คน ทำการออกแบบและจัดวางแป้นอักษรเสียใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ โดยมีนายสวัสดิ์ มากประยูร เป็นช่างประดิษฐ์ก้านอักษร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (นายกิมเฮง) เป็นผู้ออกแบบการวางตำแหน่งแป้นอักษร โดยวางตัวอักษรที่มีสถิติใช้บ่อยในตำแหน่งที่พิมพ์ได้ง่าย ซึ่งพิจารณาจากหนังสือต่างๆ จำนวน 38 เล่ม รวม 167 , 456 คำ โดยใช้เวลา 7 ปีจึงสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2474 และเรียกแป้นชนิดนี้ว่าแป้นแบบ ? เกษมณี ? ตามชื่อผู้ออกแบบ จนกลายเป็นแป้นแบบมาตรฐานถึงปัจจุบัน   ต่อมานายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ตำแหน่งนายช่างเอก กรมชลประทาน ได้ศึกษาพบว่าแป้นพิมพ์แบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง คือขาดความสมดุลในการวางตำแหน่งแป้นอักษรระหว่างมือซ้ายและขวา เพราะพบว่ามือขวาต้องทำงานถึง 70 % ในขณะที่มือซ้ายทำงานเพียง 30 % เท่านั้น และนิ้วก้อยมือขวาซึ่งเป็นนิ้วที่อ่อนแอกลับต้องทำงานมากกว่านิ้วชี้มือซ้ายซึ่งแข็งแรงกว่า ส่งผลให้การพิมพ์ดีดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
 
     โดยการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบตำแหน่งแป้นอักษรใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยการสุ่มเลือกหนังสือหลากหลายสาขารวม 50 เล่ม แต่ละเล่มสุ่มออกมา 1000 ตัวอักษร รวม 50000 ตัวอักษร แล้วสำรวจว่าใน 1000 ตัวอักษรนั้นมีอักษรตัวใดใช้พิมพ์มากน้อยเพียงใดลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ แล้วจึงนำตัวอักษรที่เก็บสถิติไว้นี้มาใช้เป็นแนวทางจัดวางแป้นพิมพ์ดีดใหม่ โดยถือหลักว่าอักษรที่ใช้บ่อยให้อยู่ในตำแหน่งนิ้วที่แข็งแรงไม่เกิน 3 แถวล่างตามลำดับโดยมีแถวที่สองเป็นศูนย์กลาง จากการทดลองและปรับปรุงจนในที่สุดก็ได้แป้นภาษาไทยแบบใหม่เรียกชื่อว่าแป้นแบบ ? ปัตตะโชติ ? ตามสกุลของผู้ออกแบบในปี พ.ศ.2509
 
     ผลจากการทดลองเปรียบเทียบการสอนพิมพ์ดีดด้วยเครื่องแบบปัตตะโชติกับแบบเกษมณี จากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใช้เวลาฝึกหัด 100 ชั่วโมง (8 เดือน) ปรากฏว่ากลุ่มที่เรียนแบบปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าถึง 26.8 %       ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้รู้หลายคนออกมาวิจารณ์ถึงจุดอ่อนและความไม่เหมาะสมบางประการของแป้นแบบปัตตะโชติ ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่เคยชินกับการพิมพ์ด้วยแป้นเกษมณีแล้ว จึงทำให้แป้นแบบปัตตะโชติไม่ได้รับความนิยมจนหายไปในที่สุด (ปัจจุบันเหลือนักพิมพ์ดีดรุ่นเก่าไม่กี่คนที่ยังคงใช้แป้นแบบปัตตะโชติ) แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเลือกใช้สลับระหว่างแป้นทั้งสองแบบได้

เครื่องพิมพ์ดีดสมัยร.5 เป็นเครื่องพิมพืดีดยี่ห้อแรกที่ร.5สั่งนำเข้ามาในประเทศไทย เป็นแป้นไทย 84ตัวอักษร มีฝาครอบพร้อม 

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เกิดขึ้นเมื่อ Edwin Hunter Mcfarland ชาวอเมริกัน ซึ่งรับราชการ ในตำแหน่งเลขานุการส่วนพระองค์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีแนวความคิดที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น จึงได้เดินทางกลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสำรวจหาโรงงานที่สามารถผลิตเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยได้ ในที่สุดก็ได้โรงงาน Smith Premier ซึ่งอยู่ที่กรุงนิวยอร์คเป็นผู้ผลิตให้ โดย Mcfarland เป็นผู้คิดแบบและควบคุมการผลิต จนกระทั่งสำเร็จเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ชนิดแป้นอักษร 7 แถว ทำงานแบบตรึงแคร่อักษร (fixed carriage typed typewriter) ซึ่งสามารถใช้งานได้ดี แต่ในขณะออกแบบแป้นอักษรไทยเพื่อบรรจุลงในแผงแป้นอักษรนั้น ปรากฏว่ Mcfarland ได้ลืมบรรจุตัวอักษร "ฃ" ( ขอ ขวด ) และ ฅ (คอ คน) ลงไปด้วย (บ้างก็ว่าเป็นเพราะพื้นที่ใส่แป้นไม่พอ) แต่โชคดีที่ยังมีอักษรอื่นที่พ้องเสียงสามารถใช้แทนกันได้ จึงถือได้ว่า Edwin Hunter Mcfarland คือผู้คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยได้เป็นคนแรก

         เครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์ แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว (1 ตัวอักษรต่อ 1 แป้น)

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2435 Mcfarland ได้นำเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเข้ามาถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์และเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เราจึงถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นนักพิมพ์ดีดไทยคนแรก ซึ่งต่อมาได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier จำนวน 17 เครื่องเข้ามาใช้ในราชการ แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์ดีดชนิดนี้มีแป้นอักษรถึง 7 แถว จึงไม่สามารถใช้วิธีการพิมพ์สัมผัสอย่างในปัจจุบันได้ ต้องพิมพ์โดยวิธีใช้นิ้วเคาะทีละแป้นต่อมา Mcfarland ได้เดินทางกลับไปสหรัฐฯและอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2438 นายแพทย์ George B. Mcfarland หรือ อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม ซึ่งเป็นน้องชายก็ได้รับสืบทอดกิจการเครื่องพิมพ์ดีดของพี่ชายมาไว้ และได้นำไปตั้งแสดงและสาธิตในร้านทำฟันของตนเอง จนเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชนอย่างมาก ดังนั้น Mcfarland จึงได้สั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier เข้ามาจำหน่าย โดยตั้งร้านที่หัวมุมถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวังบูรพา ชื่อร้าน Smith Premier Store ในปี พ.ศ. 2441

      ต่อมาภายหลังบริษัท Smith Premier ประเทศอเมริกา ได้ขายสิทธิบัตรการผลิต ให้แก่บริษัท Remington และบริษัท Remington ก็ได้ปรับปรุงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ให้เป็นแบบที่สามารถเลื่อนและยกแคร่อักษรได้ (Sliding, Shifting Carriage) และลดจำนวนแป้นอักษรลงมาเหลือ 4 แถว แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ดังนั้น พระอาจวิทยาคม จึงได้ปรึกษากับพนักงานในบริษัทของท่าน คือ นายสวัสดิ์ มากประยูร กับ นายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี โดย นายสวัสดิ์ มากประยูร ทำหน้าที่ออกแบบประดิษฐ์ก้านอักษร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ทำหน้าที่ออกแบบจัดวางตำแหน่งแป้นอักษร เพื่อให้สามารถพิมพ์ได้ถนัดและรวดเร็ว จนสำเร็จในปี พ.ศ. 2474 โดยใช้เวลาพัฒนา 7 ปี และเรียกแป้นอักษรแบบใหม่นี้ว่าแป้นเกษมณี ตามนามสุกลของผู้ออกแบบ โดยแป้นแบบเกษมณีมีรูปแบบการจัดวางตัวอักษรในแป้นเหย้าเป็น "ฟ ห ก ด ่ า ส ว"

     ถึงแม้ในปี พ.ศ. 2508 นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ นายช่างกรมชลประทานจะได้ทำการปรับปรุง และออกแบบการจัดวางตำแหน่งแป้นอักษรไทยใหม่ ซึ่งเรียกว่าแป้นปัตตะโชติ และได้ทำการวิจัยจนพบว่า แป้นปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นเกษมณีถึง 26.8% ก็ตาม แต่นักพิมพ์ดีดทั้งหลายได้ชินกับการพิมพ์บนแป้นเกษมณีแล้ว อีกทั้งต้นทุนในการปรับเปลี่ยนแป้นของเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้อยู่ก็สูง จึงทำให้แป้นแบบเกษมณียังคงได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้ และได้กลายเป็นแป้นพิมพ์ภาษาไทยมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้พระอาจวิทยาคม ก็ยังเป็นบุคคลแรกที่เปิดโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดภาษาไทยแบบสัมผัสขึ้นในปี พ.ศ. 2470 อีกด้วย

รายละเอียด

รายละเอียด>>>>   http://board.postjung.com/652485.html

 

รายละเอียด>>>>   https://picasaweb.google.com/yai.cru/2ndTrip#5418172107345520706

#โบราณ, #วิทยุหลอด, #นาฬิกาโบราณ, #นาฬิกาไขลาน, #นาฬิกา3ลาน, #เก้าอี้ตัดผม, #โคมไฟ, #เก้าอี้เชคโก, #โต๊ะเชคโก, #เก้าอี้รถไฟ, #ลำโพงโบราณ, #เครื่องพิมพ์ดีด, #จักรเย็บผ้าโบราณ, #จักรมือหมุน, #ตาชั่งโบราณ, #นาฬิกาตั้งพื้น, #ตะเกียงโบราณ, #เครื่องเล่นแผ่นเสียง, #โอ่ง, #ขาจักร, #พัดลมโบราณ, #เครื่องเล่นแผ่นเสียงปากแตร, #จักรยานโบราณ, #โต๊ะทำงาน, #เก้าอี้โยก, #vintage, antique, #ตู้เย็นโบราณ, #ตู้ไม้โบราณ, #แผ่นเสียง, #ขวดเหล้าดนตรี, #ภาพวาดสีน้ำมัน, #ลูกโลก, #โทรศัพท์โบราณ, #หนังสือเก่า, #ภาพวาดเก่า, #ป้ายไฟ, #เครื่องพิมพ์ดีด, #พัดลมโบราณ,

วิธีการชำระเงิน

บมจ. ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุพรรณบุรี ออมทรัพย์
บมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาสุพรรณบุรี ออมทรัพย์

นโยบายการเปลี่ยนหรือคืนสินค้า

  • ระยะเวลาที่ลูกค้าสามารถแจ้งการเปลี่ยน/คืนสินค้าได้ เช่น ภายใน 2วันนับจากได้รับสินค้า
  • ข้อกำหนดระหว่างการเปลี่ยนสินค้า/คืนเงิน หากสินค้าเป็นไปตามที่แจ้งไว้ จะไม่มีการคืนเงินยกเว้นสินค้าไม่ตรงตามที่แจ้งหรือ สินค้าเสียหายระว่างขนส่ง
  • เงือนไขต่างๆ เช่น สภาพสินค้าที่ส่งกลับมาต้องอยู่ในสภาพเดิมเหมือนที่ส่งไป หากมีความเสียหายหรือเปลี่ยนไปจากเดิมจะไม่มีการคืนเงิน
  • ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียกเก็บ/จัดส่งสินค้าคืน ค่าใช้จ่ายการส่งคืนจะเป็นค่าใช้จ่ายของลูกค้า
  • ระยะเวลาในการจัดส่งคืนสินค้า หลังจากได้รับสินค้าแล้วควรตรวจเช็คให้เรียบร้อย ภายใน2วันหลังจากที่ได้รับสินค้า เกินจากนี้เราจะไม่่รับคืนหรือเปลี่ยนสินค้า

CONTACT US

STATISTICS

หน้าที่เข้าชม1,231,392 ครั้ง
ผู้ชมทั้งหมด483,010 ครั้ง
เปิดร้าน26 ก.ค. 2555
ร้านค้าอัพเดท3 พ.ค. 2567

หมวดหมู่ต่างๆ

MEMBER

พูดคุย-สอบถาม