ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียน รายวิชา การเขียนโปรแกรมโดยใช้เครื่องมือกราฟิกโหมด หลักสูตร ปวช. 2556


 
    หน้าหลัก
    แนวคิดในการพัฒนาโปรแกรม
    องค์ประกอบของโปรแกรม
     ภาษาคอมพิวเตอร์

    ขั้นตอนการแก้ปัญหา
    โปรแกรม Visual Basic
    กระบวนการเขียนโปรแกรม
    การเขียนโปรแกรมกับคอนโทรล
    การพัฒนาโปรแกรมทางธุรกิจ
     อย่างง่าย


                                                             คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

                   คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการในการ
    ทำงาน ตลอดจนเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในระบบประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์



                                                             ส่วนประกอบของซอฟต์แวร์

                   ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
         1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับส่วนประกอบ
    ต่างๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และอำนวยเครื่องมือสำหรับทำงานพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
    ฮาร์ดแวร์
             ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วยซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ
             1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์
    และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่ง
    สำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ใน
    ปัจจุบัน เช่น MS-DOS, UNIX, Windows 8, และ Mac OSX เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลักๆ
    คือ
                   - จัดส่วนประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ
    ที่เก็บข้อมูลสำรองและเครื่องพิมพ์
                   - จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
                   - ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้ว
    โปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ
 
                   ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่อง
    เมนเฟรม หรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลาย
    อย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน
                   - ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้ระบบปฏิบัติการบนเครื่อง-
    ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมจะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ คือระบบปฏิบัติการ
    ทำงานเครื่องไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือเลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Compatible)
    และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดยปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์ใดๆ จะ
    สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบ
    มา ให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซีก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่อง
    ไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าเอ็มเอสดอส (MS-Dos) หรืออาจใช้
    ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูล
    ยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า แมคอิน-
    ทอชโอเปอเรติงซิสเต็ม (Macintosh Operating System) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่อง
    สองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันเนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์-
    แวร์ คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบ
    ปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด
                     ส่วนมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอรจะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือก
    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้น
    ทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสเพราะมี
    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอชเพราะมีระบบ
    โต้ตอบผู้ใช้ได้ง่ายและสวยงาม
                     - ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS-DOS) ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ มักจะมี
    ฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิกส์
    มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการ
    เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (Booting) หรือบูตแสตรป (Bootstrap) ซึ่งมี 
    ขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็กๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะ
    เรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก
    ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย
    > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้


                                                            ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส
                                       อ้างอิง : http://nattira-jibonly.blogspot.com/2015/08/2-2.html
   
                  - ไมโครซอฟต์วินโดว์ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า วินโดว์ มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบ
    กราฟิกที่มีสีสันสวยงาม และสามารถใช้ได้ง่าย เรียกระบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI (Graphic -
    user Interface) ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์จะทำงานกับเมนู (menu) และรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน (icon)
    แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ดังรูป

 

                                                                   ไมโครซอฟต์วินโดว์
                                อ้างอิง : http://thn25262unit2.blogspot.com/2017/06/blog-post_27.html

                 เมนูในวินโดว์สามารถแบ่งเป็นพูลดาวน์เมนู (pull down menu) ซึ่งจะเป็นเมนูที่เมื่อทำการเลือก
    รายการที่ต้องการแล้วจะมีรายการย่อยถูกดึงลง (pull down) ให้ปรากฏออกมา นอกจากนี้จะมีเมนูอีกชนิด
    หนึ่ง เรียกว่า ป๊อปอัปเมนู (pop-up menu) ซึ่งจะปรากฏเป็นหน้าต่างย่อยซ้อนขึ้นมาด้านหน้า เมื่อเลือก
    รายการที่ต้องการ

 

                                                  ตัวอย่างของ pull down menu ใน windows 7
    
    

                                                     ตัวอย่างของ popup menu ใน Windows 7

               ระบบวินโดว์มีข้อดีคือ เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่ายโดยการแสดงภาพกราฟิก
    บนจอภาพ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมา และผู้ใช้สามารถใช้เมาส์ในการชี้และคลิกที่ภาพเพื่อเลือกซอฟต์แวร์
    ที่ต้องการแทนที่จะต้องพิมพ์คำสั่งเช่นเดียวกับระบบดอส ดังนั้นระบบวินโดว์จึงได้รับความนิยมอย่าง
    กว้างขวาง และได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นับจาก Windows 3.0, Windows for-
    Workgroup ซึ่งเป็น cooperative multitasking จนมาถึง Windows 95 ซึ่งเป็น preemptive multitasking
    และ Windows NT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ Client/Sever และในปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่าง
    ต่อเนื่อง เช่น Windows 8.1 เป็นต้น
               - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการ
    ที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์
    ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆเช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการ
    เครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสแต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการ
    ใช้อุปกรณ์ร่วมกันรวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย
                 ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบันจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์
    (Client/Sever) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บน
    เครื่องเซิร์ฟเวอร์ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น
    การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้น
    เสมือน อยู่บนเครื่องไคลเอนต์เองถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
              - ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น
    เครื่องระดับเมนเฟรมได้ถูกพัฒนาขึ้นกว่าสองทศวรรษก่อนที่จะมีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องระดับ
    เมนเฟรม จะนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันจำนวนมาก ทำให้ระบบ
    ปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อมๆ
    กัน จำนวนหลายๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คน (Multiuser)
    การจัดลำดับและแบ่งปัทรัพยากรให้ผู้ใช้ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้
              - ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System) ในอดีตผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือ
    บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของ
    บริษัท เท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system)
    ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการ
    ของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการสามารถนำไปใช้งาน
    บนเครื่องต่างๆ กันได้ (Portable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
                ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1971 จากห้องปฏิบัติการเบลล์
    ของบริษัท AT & T ซึ่งได้ทำการพัฒนาบนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของ DEC ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็น
    ระบบที่สนับสนุนผู้ใช้งานจำนวนหลายคนพร้อมๆ กัน โดยใช้หลักการแบ่งเวลา (time sharing) ต่อมาใน
    ปี ค.ศ. 1970 ได้มีการบริจาคระบบปฏิบัติการนี้ให้กับวงการศึกษาและมีการนำไปใช้ทั้งในมหาวิทยาลัย
    และวิทยาลัยต่างๆ นักศึกษาจำนวนมากจึงได้ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ทำให้เมื่อนักศึกษาเหล่านั้นจบออก
    ไป ทำงานก็ยังคงเคยชินกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และจัดหามาใช้ในองค์กรที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการ
    ยูนิกซ์ จึงได้รับการยอมรับในวงการอุตสาหกรรมและวงการอื่นๆ อย่างแพร่หลาย และมีการใช้งานอยู่
    ตั้งแต่เครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเครื่องระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
              1.2 ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น
    โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน
    โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือซอร์สโค้ด (Source code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรม
    ต้นฉบับนี้ได้ แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง
    (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรมตัวแปลภาษา
    คอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่างๆ ไปเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่
    แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจกต์โค้ด (object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่
    คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป
                   ตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ปัจจุบันจะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบ
    ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น
                   - แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็น
    ภาษาเครื่อง
                   - อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับ
    ภาษามนุษย์ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้ง
    โปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ออบเจกต์ที่ได้จากการแปลโดยการใช้
    อินเตอร์พรีเตอร์ นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
                   - คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่จะ
    ใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจกต์โค้ดก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสเซม-
    เบลอร์ ออบเจกต์โค้ดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้นำไปใช้ในการทำงาน
    เมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้
    ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้งทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
                     ในปัจจุบันมีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโค้ดไปเป็น
    รหัสชั่วคราวหรืออินเตอร์มีเดียตโค้ด (Intermediate code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรม
    ในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเตอร์พรีเตอร์
    แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัส
    ชั่วคราว นั้นไปใช้ได้กับทุกๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที
              2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้
    คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี
    การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุกๆ ด้าน แล้วแต่ผู้ใช้ต้องการจนสามารถกล่าวได้ว่าซอฟต์แวร์
    ประยุกต์ ก็คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวาง และทำให้คอมพิวเตอร์
    เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในยุคสารสนเทศนี้
                  ในองค์กรขนาดใหญ่หรืองานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน จะใช้
    วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อทำซอฟต์แวร์เฉพาะงานให้ซอฟต์แวร์ขึ้นมา
    ใช้เอง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเรียกว่า ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (Tailor Made Software) มีข้อดีคือ มีความ
    เหมาะสม กับงานและสามารถแก้ไขตามความต้องการได้ ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาสำหรับการ
    พัฒนา ปัจจุบันนี้จึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานทั่วๆ ไปวางจำหน่ายเป็นชุด
    สำเร็จรูป เรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software Package)
                   ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) จะมีความเหมาะสม
    กับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมด้านการคำนวณราคาค่าน้ำของแต่ละครอบครัว จะมีประโยชน์กับงาน
    ด้านการประปา หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงินก็จะมีประโยชน์กับองค์กรเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร
                         ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านส่วนมากจะไม่มีการจำหน่ายอยู่ทั่วไป องค์กรที่ต้องการ
    ใช้งาน มักจะต้องพัฒนาด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาให้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามถึงแม้
    จะมีบริษัทซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้านมาวางจำหน่ายก็มักจะมีราคาสูงรวมทั้งมีข้อเสนอในการพัฒนา
    เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรต่างๆ ด้วย
                  2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบ
    มา สำหรับงานทั่วๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้เป็นซอฟต์แวร์
    ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่ในเครื่องระดับไมโคร
    คอมพิวเตอร์
                        ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปสามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
                         - ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet) การทำงบ
    ประมาณ หรือการวางแผนแบบต่างๆ ของธุรกิจในอดีตนั้น ต้องใช้กระดาษบัญชีและเครื่องคิดเลขเท่านั้น
    แต่ในปัจจุบันได้นำเอาซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อหรือชื่อของ
    ข้อมูล และตัวเลขข้อมูลต่างๆ เข้าในคอมพิวเตอร์ โดยที่ในคอมพิวเตอร์จะมีตารางที่เปรียบเสมือน
    กระดาษ บัญชีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรที่ผู้ใช้ทำการกำหนด โดยที่สูตรเหล่านั้นจะไม่
    ปรากฏในช่องของข้อมูล หากผู้ใช้เปลี่ยนตัวเลขหรือข้อมูลใดๆ ก็ตามจะเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่น
    ที่เกี่ยวข้องกันในทันที ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไม่เฉพาะ
    แต่ในทางบัญชีเท่านั้น ยังนิยมใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ บริหารการเงิน และอื่นๆ
    

                                 ตัวอย่างตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Spreadsheet)

                        - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า
    85 เปอร์เซ็นต์ ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์เอกสารรวมอยู่ด้วย ซึ่งโปรแกรมนี้ทำให้คอมพิวเตอร์
    เป็นเครื่องมือสำหรับสร้าง แก้ไข ตรวจสอบ พิมพ์และจัดเก็บข้อความต่างๆ หนังสือที่จำหน่ายในท้องตลาด
    ในปัจจุบันนี้ส่วนมากก็เริ่มต้นจากการพิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์ที่ประมวลคำ
 

                                          ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing)

                         - ซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) ในสมัยก่อนการจัดทำหนังสือ
    พิมพ์หรือวารสารต่างๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอนซึ่งเรียกว่า การเรียงพิมพ์โดยที่จะ
    ต้องมีผู้ตัดต่อรูปภาพที่ต้องการ วาดกรอบของภาพหรือกรอบหัวเรื่องและเขียนข้อความ และนำข้อความ
    ภาพ และนำกรอบมาประกอบกันตามแบบที่ออกแบบไว้ การทำงานที่ยุ่งยากเหล่านี้ที่ทำให้เอกสารเหล่า
    นั้น มีราคาแพง แต่ในปัจจุบันนี้ถ้ามีคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะเท่านั้น ก็สามารถ
    ที่จะออกแบบงานหรือเอกสารให้เป็นที่น่าสนใจได้ โดยซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะจะมีความสามารถ
    ด้านการจัดการเอกสาร ความสามารถด้านการเรียงพิมพ์รวมทั้ง การจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
 

                                         ตัวอย่างซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishimg)
                                  อ้างอิง : http://www.bangkokgis.com/modules.php?m=software&id=2

                        - ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล
    ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยอาจประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง รายงาน ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว
    เป็นต้น นิยมใช้ในการเรียนการสอน หรือการประชุมเพื่อนำเสนอข้อมูลให้การบรรยายนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น
 

                                             ตัวอย่างซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)

                        - ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกแบบ
    ต่างๆ การใช้งานในระดับเบื้องต้นอาจนำไปใช้ประกอบการสร้างเอกสาร หรือการนำเสนอข้อมูล ส่วนการ
    ใช้ในระดับสูงอาจใช้สำหรับตกแต่งภาพหรือรูปถ่ายหรือใช้สำหรับงานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
    วิศวกรรม เป็นต้น
 

                                                ตัวอย่างซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
                                            อ้างอิง : http://www.thaigoodview.com/node/50004

                       - ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)โปรแกรมฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแฟ้ม
    ข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือต่างๆ ในการอำนวยความสะดวก
    เกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล เช่น มีเครื่องมือสำหรับการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บอยู่หรือสามารถ
    เรียกแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงบนจอภาพ โดยกำหนดเงื่อนไขให้เลือกข้อมูลมาแสดงเพียงบางส่วน
 

                                                            ตัวอย่างซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
                                    อ้างอิง : http://thn245277unit2.blogspot.com/2016/08/blog-post_56.html

                       - ซอฟต์แวร์สื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Software) ถ้าผู้ใช้ต้องการ
    ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล
    ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเทอร์มินัล (terminal) ที่สามารถติดต่อไปยัง
    ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลายคนได้ โดยใช้สายโทรศัพท์การโทรติดต่อและเมื่อติดต่อได้แล้ว
    ก็จะสามารถใช้งานระบบต่างๆ ที่อยู่ในเครื่องนั้นได้เสมือนกับนั่งใช้เครื่องอยู่ข้างๆ เครื่องที่เราติดต่อไป
    การใช้งานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น ร่วมคุยกับกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนจดหมายกับ
    ผู้อื่นในระบบ หรือแม้กระทั่งจองตั๋วเครื่องบิน และจองโรงแรมผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
 

                                        ตัวอย่างซอฟต์แวร์สื่อสารโทรคมนาคม (Telecomunication)

                       - ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่เป็น
    เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลในที่ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันนี้ความนิยมในการใช้
    การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายเชิงพาณิชย์อื่นๆ ช่วยให้
    สามารถ เรียกค้นข้อมูลที่้ต้องการทราบได้จากทั่วโลก ตัวอย่างซอต์แวร์ประเภทนี้ เช่น Archie Gopher
    และ World Wide Web เป็นต้น
 

                                        ตัวอย่างซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software)

                                                                                                               ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
                                                                                                               โครงสร้างของข้อมูล