1.2 ประวัติการสำรวจด้วยภาพถ่าย
พ.ศ. เหตุการณ์
2401 Gaspar Felix Tournachon หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Nadar" ช่างภาพและนักบอลลูนชาวฝรั่งเศส ภาพถ่ายทางอากาศครั้งแรกที่ระดับความสูง 80 ม.เหนือพื้นดิน หมู่บ้าน Petit-Becetre
 
2425 Archibald ED นักอุตุนิยมวิทยาอังกฤษ ใช้กล้องผูกติดกับว่าวและถ่ายภาพสำเร็จ
2430 กองทัพเยอรมันเริ่มทดลองถ่ายภาพทางอากาศและเทคนิคโฟโตแกรมเมทริกสำหรับวัดคุณสมบัติของวัตถุและพื้นที่ในป่า
2446 Julius Neubranner ได้ออกแบบกล้องขนาดเล็กสำหรับติดตั้งกับนกพิราบ
 
2470 ประเทศไทยได้เริ่มการสำรวจด้วยภาพถ่ายครั้งแรกภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับอังกฤษ โดยบินถ่ายภาพบริเวณลุ่มน้ำโขงตั้งแต่สบรวก อำเภอเชียงแสน (บริเวณที่ลำน้ำรวกไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง) ไปจนถึงแก่งผาใด อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย แต่งานถ่ายภาพครั้งนี้นำมาใช้เพียงเพื่อแก้ไขแผนที่โดยยังไม่ได้นำมาทำแผนที่
2472-2473 ใช้กล้องแบบอีเกิล ฟิล์ม (Eagle Film Camera) รุ่น F8 ของประเทศอังกฤษ สำรวจด้วยภาพถ่ายมาใช้ทำแผนที่ในพื้นที่อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยถ่ายภาพในแนวเหนือใต้ จำนวน 11 แนวบิน และในแนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 24 แนวบิน มาตราส่วนภาพถ่ายประมาณ 1:15,000 ได้จำนวนภาพทั้งหมด 838 ภาพ การสำรวจครั้งนี้ใช้งานสำรวจภาคพื้นดินประกอบด้วย ได้แก่ ข้อมูลระดับความสูง ชื่อหมู่บ้าน แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น และเขียนแผนที่เสร็จในพ.ศ. 2474
2477 ก่อตั้งองค์กร American Society of Photogrammetry
2478 ไทยร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศสสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายอีกครั้งในบริเวณลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่บริเวณสบเหือง บ้านท่าหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จนถึง ปากห้วยดอนไหล บ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แต่ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศฝรั่งเศส และฝรั่งเศสนำไปผลิตแผนที่ปักปันเขตแดนลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างไทยกับอินโดจีน (ซึ่งผลจากการผลิตแผนที่นำมาซึ่งปัญหาพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร)
2481 เยอรมนีเป็นผู้บุกเบิกการประยุกต์ใช้การลาดตระเวนภาพถ่ายหลายรูปแบบ
2495 ไทยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา ได้ว่าจ้างบริษัทเวิรลด์ ไวด์ เซอร์เวย์ (World Wide Survey; WWS) สำรวจเฉพาะส่วนพื้นที่เหนือละติจูด 11 องศา 45 ลิปดาเหนือ โดยถ่ายภาพมาตราส่วน 1:40,000 ต่อมาได้นำข้อมูลมาผลิตแผนที่ชุด L708
และได้ขอความร่วมมือประเทศอังกฤษ บินถ่ายภาพตั้งแต่ละติจูด 11องศา 45 ลิปดาเหนือ ลงไปถึงเหนือพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศมาเลเซียที่ระดับสูงบิน 30,000
2545-2548 กรมแผนที่ทหาร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมที่ดิน บินถ่ายภาพทางอากาศ และได้นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงมาใช้ในการผลิตแผนที่
เปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง บริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์