เกร็ดน่ารู้ 3 รูปแบบ ปั้มหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ตอน 2

160309_108_เกร็ดน่ารู้ 3 รูปแบบ ปั้มหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ตอน 2_pic2

มาต่อกันด้วยตอน 2 ที่จะทำให้คุณได้ความรู้เกี่ยวกับ ปั้มหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล 3 รูปแบบ แล้วนำไปบอกต่อเพื่อนๆได้ อย่างมือโปร ใครที่มีรถเร็ว รถแรง ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยหากได้รับความรู้เรื่องนี้ จะเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลย

 

  1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย(distributor pump)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (Distributor Pump) เป็นปั๊มที่มีชุดสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงเพื่อจ่ายให้แต่ละกระบอกสูบผ่านท่อแรงดันสูงเพียงชุดเดียวตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ประกอบด้วยกัฟเวอร์เนอร์ ไทเมอร์ และปั๊มดูดน้ำมัน โดยมีลักษณะของปั๊มดังนี้

ตัวปั๊มมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

1.สามารถทำงานที่ความเร็วสูงได้ดี อัตราเร่งไว

2.ง่ายในการปรับปริมาณการฉีดน้ำมันเพราะมีลูกปั๊มชุดเดียว

3.หล่อลื่นตนเองด้วยน้ำมันดีเซล จึงไม่ต้องบำรุงรักษา

4.มักใช้กับ รถกระบะ รถโฟรค์ลิฟ รถไถ เป็นต้น

5.มักใช้ในเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ภายในประกอบด้วย
ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมัน  ทำงานโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนยกลางในการปั๊มน้ำมัน และมีตัวระบายความดันเพื่อไม่ให้ความดันน้ำมันสูงเกินไป

151218_dyno_line_v2
151126_dyno_banner_v3

กลไกกัฟเวอร์เนอร์ (Governor) จะติดตั้งอยู่ด้านบนของปั๊มหัวฉีด ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับความเร็วภาระของเครื่องยนต์

1.ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เครื่องยนต์ตั้งแต่รอบเดินเบายังรอบสูงสุดให้คงที่

2.ควบคุมความเร็วตามภาระของเครื่องยนต์

3.ควบคุมปั๊มจ่ายน้ำมันขณะเร่งไม่ให้ไอเสียมีควันดำ

4.ควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย
ไทเมอร์ (Timer) ไทเมอร์มีหน้าที่ควบคุมจังหวะการฉีดน้ำมัน จะถูกติดตั้งในส่วนของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันต่ำ

  1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมม่อนเรล (common rail pump) 

ควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์เป็นระบบการจ่ายน้ำมันดีเซล แบบรางร่วมที่นิยมใช้มากในเครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบัน ที่สามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง

ในระบบคอมมอนเรลจะมีอุปกรณ์หลักๆคือ

ปั๊มแรงดันสูง สามารถสร้างแรงดันได้ 1,600-1,800bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต ในระบบคอมมอนเรล จะใช้ปั๊มแรงดันสูงทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันสูง อัดน้ำมันเข้าสู่รางร่วม (Common rail) เพื่อรักษาแรงดันในระบบให้ทุกสูบเท่ากัน รอจังหวะการฉีดที่เหมาะสม ที่คำนวณจากหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit) โดยECUจะรับค่าจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่นเซ็นเซอร์ตำแหน่งขาคันเร่ง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ แรงดันเทอร์โบ เป็นต้น นำมาคำนวณหาปริมาณการฉีดที่เหมาะสมและจังหวะการฉีดที่ถูกต้อง ส่งสัญญาณไปยังหัวฉีด ซึ่งหัวฉีดถูกควบคุมการจ่ายน้ำมันด้วยโซลีนอยด์ไฟฟ้าให้หัวฉีด เปิดน้ำมันเข้ากระบอกสูบตามจังหวะและปริมาณตรงตามความต้องการของเครื่องยนต์ เนื่องจากECUเป็นตัวควบคุมการจ่ายน้ำมัน ซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ ในปัจจุบันระบบคอมมอนเรลจึง สามารถสั่งการฉีดน้ำมันได้ถึง 5 ครั้งต่อการทำงาน 1วัฐจักร (จากเดิมฉีดน้ำมัน 1 ครั้ง ต่อการทำงาน 1 วัฐจักร) เป็นการลดปริมาณมลพิษ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และเขม่ำควันดำต่างๆ เพื่อให้ได้ตามกฏข้อบังคับก๊าซไอเสีย ซึ่งประเทศไทยใช้มาตราฐานของยุโรป(EURO) อีกทั้งยังเป็นการลดการเผาไหม้ที่รุนแรง ช่วยลดเสียงน็อคของเครื่องยนต์ โดยการฉีดของหัวฉีดแต่ละครั้งคือ

การฉีดครั้งที่1 เป็นการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) เป็นส่วนช่วยให้เชื้อเพลิงส่วนแรกผสมกับอากาศได้ดีก่อน

การฉีดครั้งที่2 การฉีดก่อน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเชื้อเพลิงในการเริ่มการเผาไหม้ส่วนแรก

การฉีดครั้งที่3 เป็นการฉีดเชื้อเพลิงหลัก (Main-Injection) เป็นการฉีดที่ควบคุมสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามคันเร่ง

การฉีดครั้งที่4 เป็นการฉีดหลัง เพื่อเผาเขม่าหรืออนุภาคคาร์บอน (Particulate matter : PM) ส่วนสุดท้ายเพื่อให้มีการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด

การฉีดครั้งที่5 เป็นการฉีดปิดท้ายเพื่อควบคุมอุณหภูมิไอเสีย

รู้อย่างนี้แล้วต้องลองมาพิสูจน์กันหน่อย พวกเราทีมงานผู้เชี่ยวชาญ DynoArtPower ยินดีให้คำแนะนำเสมอ แล้วพบกันครับ
151126_dyno_button_web
151126_dyno_button_vdo