Google

ในอดีต
         ย้อนหลังไปในอดีตวิถืชีวิตของบรรพชนไทยล้วนผูกพันกลมกลืนอยู่กับสายน้ำอยู่กับสายน้ำทั้งการตั้งถิ่นฐานดำรงชีพอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยา การสัญจรเดินทางโดยใช้เรือเป็นพาหนะสำคัญ คนไทยแต่โบราณจึงรู้จักคุ้นเคยเกี่ยวข้องกับเรือและประจักษ์ถึงคุณค่าอันเอนกอนันต์ของสิ่งที่เปรียบประหนึ่งการเชื่อมโยงวิธีชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมของเรือทั้งยังเรียนรู้ศิลปะวิทยาการในการซ่อมสร้างเรือซึ่งจะดำรงคงอยู่และรักษาไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบมา จากคานเรือริมฝั่งแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมคนไทยเริ่มรู้จักการขุดอู่เพื่อใช้ในการสร้างและบำรุงรักษาเรือจนกระทั่งประเทศก้าวมาถึงยุคเริ่มต้นของงานอู่เรือตามแบบตะวันตกเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา
Clip VDO ประวัติอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช

คลิ้ก play เพื่อเริ่มดู clip vdo
ปัจจุบัน
         ด้วยภาระหน้าที่ในการดำรงความพร้อมให้แก่กำลังทางเรือของกองทัพเรือกรมอู่ทหารเรือจึงได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอำนวยการซ่อมสร้างทั้งเรือรบ เรือช่วยรบ ตลอดจนเรือในพระราชพิธี เรือพระที่นั่งต่างๆโดยมีอู่เรือ2แห่งเป็นกลไกสำคัญได้แก่อู่ทหารเรือธนบุรีและอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า จนกระทั่งปีพ.ศ.2530 กองทัพเรือได้รับอนุมัติการพัฒนากำลังทางเรือด้วยการจัดหาเรือฟิเกตจำนวน8ลำ รวมทั้งเรือขนาดใหญ่อีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้นอู่เรือที่กองทัพเรือมีอยู่จึงไม่อาจรองรับการซ่อมทำเรือขนาดใหญ่นี้ได้กองทัพเรือจึงจำเป็นต้องมีอู่เรือเพิ่มขึ้น จึงเป็นที่มาของอู่เรือแห่งที่3 ชื่อว่าอู่ราชนาวีมหิดลยเดช

ภาพในอดีต อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช
      ความเป็นมาอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช เป็นองค์กรหนึ่งของกองทัพเรือ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมอู่ทหารเรือ เป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการเรือรบขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดมากกว่าสามหมื่นตัน (Displacement Ton) และเรือสินค้าที่มีขนาดมากกว่าแสนตันกรอส (Gross Tonnage) แต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในป ๒๕๔๐ ส่งผลให้การก่อสร้างอู่ราชนาวีฯ ไม่เป็นไปตามแผน หลังจากการก่อสร้างอาคารต่างๆ แล้ว จะมีงบประมาณเหลือน้อยมากในการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นต่อการซ่อมเรือ นอกจากนั้นรัฐบาลไม่มีนโยบายเพิ่มกำลัง จึงจำเป็นต้องเกลี่ยกำลังพลจากหน่วยต่างๆ มาซึ่งกำลังพลที่บรรจุได้จริงเพียงหนึ่งในสามส่วนของที่จะสามารถปฏิบัติงานได้และที่สำคัญที่สุด คืองบประมาณที่สนับสนุนในการบริหารงานอู่ราชนาวีฯก็จะได้รับอย่างจำกัดสิ่งเหล่านี้คือความท้าทายต่อการเดินหน้าบริหารอู่ซ่อมเรือแห่งใหม่นี้ด้วยข้อได้เปรียบของขนาดอู่เรือที่มีขนาดใหญ่ และการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปอย่างทันสมัยแต่ก็มีข้อด้อยอย่างมากเช่นกัน ดังนั้นแนวคิดที่จะนำจุดแข็งของทั้งภาครัฐและเอกชน มาสนธิประโยชน์ และความร่วมมือกันจึงเป็นหนทางหนึ่งที่น่าจะเหมาะสมและเป็นไปได้ '
      ปัจจุบันกองทัพเรือได้พัฒนาขีดความสามารถ จากกองทัพเรือชายฝั่งมาเป็นกองทัพเรือไกลฝั่ง (Offshore Navy) หรือกองทัพเรือทะเลลึก (Blue Navy) ตามแผนโครงสร้างกองทัพไทย ๑/๓๕ ด้วยการจัดหาเรือรบขนาดใหญ่จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๔๐ ประกอบด้วยเรือฟริเกตชุด เรือหลวงเจ้าพระยา จำนวน ๔ ลำ เรือฟริเกตชุด เรือหลวงนเรศวร จำนวน ๒ ลำ จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจำนวน ๒ ลำ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์คือ เรือหลวงจักรีนฤเบศร จากประเทศสเปน และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ คือ เรือหลวงสิมิลัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งเรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณปราบเรือดำน้ำ เรือระบายพลขนาดใหญ่ที่กองทัพเรือสั่งต่อจากอู่เรือภายในประเทศ นอกจากนั้นยังต่อเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดจากประเทศอิตาลีอีก ๒ ลำ และปัจจุบันกำลังต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๒ ลำ เป็นต้น   เพื่อคงสภาพความพร้อมของเรือและยุทโธปกรณ์  เรือทุกลำจำเป็นต้องเข้ารับการซ่อมบำรุงในอู่ซ่อมเรือตามวงรอบของการใช้งาน  อู่ซ่อมเรือของกองทัพเรือในปัจจุบันมี ๒ อู่ คือ อู่ทหารเรือธนบุรี และอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กับมีชานซ่อมเรือรบขนาดเล็ก ๑ แห่ง ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ  ปัจจุบันเรือรบขนาดใหญ่สามารถเข้ารับการซ่อมทำได้แห่งเดียวคือ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า แต่ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถรับเรือขนาดความยาวเกินกว่า ๑๓๐ เมตร เข้าซ่อมได้  และจากการที่กองทัพเรือได้จัดหาเรือรบขนาดใหญ่เพิ่มเติมในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๔๕  เรือรบขนาดใหญ่เหล่านี้บางลำไม่สามารถเข้ารับการซ่อมทำที่อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้าได้  ดังนั้น กองทัพเรือจึงจำเป็นต้องขออนุมัติจากรัฐบาลสร้างอู่ซ่อมเรือแห่งใหม่ขึ้น'
       การก่อสร้างอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ถือว่าเป็นการลงทุนที่กองทัพเรือได้ประโยชน์เป็นอย่างมากในเชิงของการส่งกำลังบำรุง สายงานการซ่อมบำรุงเรือ เพราะสามารถตอบสนองการซ่อมทำเรือได้ทุกขนาดของกองทัพเรือ นอกจากนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกขนาดใหญ่ๆที่ได้ถูกออกแบบไว้เช่นโรงงาน คลัง เครื่องมือยกขน รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ในการสร้างและซ่อมเรือนั้น  ได้มองไปในอนาคตเพื่อรองรับการขยายงานการซ่อมบำรุงไว้มากกว่า ๒๐ ปี        จากวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการสร้างอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชเป็นอย่างมาก การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผน แม้รัฐบาลไม่ได้ตัดวงเงินในการสร้างลง แต่เนื่องจากวัสดุในการก่อสร้างและอุปกรณ์เครื่องมือส่วนใหญ่ต้องจัดหาจากต่างประเทศ  การลดค่าเงินบาทส่งผลต่อจำนวนของวัสดุ และอุปกรณ์ในการจัดหาลงประมาณครึ่งหนึ่ง  การก่อสร้างจึงได้เพียง อาคาร  โรงงาน  คลัง  อุปกรณ์ และระบบหลัก ๆ เท่านั้น  ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุงที่จำเป็นอีกจำนวนมาก  นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลยังมีนโยบายไม่ให้เพิ่มข้าราชการ และลูกจ้าง  จึงต้องเกลี่ยอัตราและกำลังพลจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกองทัพเรือ เพื่อมาปฏิบัติราชการที่อู่ราชนาวี ฯ และด้วยความใหญ่โตของอู่เรือแห่งใหม่นี้จำเป็นต้องมีงบประมาณสนับสนุนการซ่อมบำรุงรักษาตัวอู่เรือเองอีกปีละจำนวนมากตามมาอีกด้วย '
      ในภาคเอกชน        อุตสาหกรรมต่อเรือ และซ่อมเรือ  เป็นอุตสาหกรรมหนักที่ใช้แรงงาน ช่างฝีมือ และช่างเทคนิคในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  โดยทั้งนี้ยังทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือ และซ่อมเรือขึ้นหลากหลายสาขา  ซึ่งได้แก่  การผลิตเหล็กแผ่น  และเหล็กโครงสร้าง  การหล่อหลอม การผลิตเครื่องจักรกล  เครื่องยนต์  และเครื่องทุ่นแรง  การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  การผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในเรือ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอู่ซ่อมเรือของเอกชนขนาดใหญ่จะมีความร่วมมือกับอู่เรือในต่างประเทศ และได้นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งในการซ่อมและสร้างเรือเข้ามาประยุกต์ใช้  รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาใช้บริหารอู่  ซึ่งนอกจากจะลดเวลาและค่าใช้จ่ายต้นทุนในการซ่อมทำแล้ว อู่ซ่อมเรือขนาดใหญ่เหล่านั้นยังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ  ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของอู่เรือในภาคเอกชน   สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องในสาขาต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น หลาย ๆ บริษัทได้พัฒนาตนเองจนมีขีดความสามารถสูงทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ  รวมทั้งมีการลงทุนเป็นจำนวนมากในอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยไว้แล้วอีกด้วย'
      เนื่องจากอุตสาหกรรม       เป็นกำลังสำคัญในการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นเครื่องใช้สอยและอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งขีดความสามารถที่จะผลิตกำลังรบเพิ่มของชาติเรือศักยภาพในการสงครามของชาติ (The war potential of nation) ในปัจจุบันนั้นได้ถูกมองข้ามสิ่งนี้ไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ภาคเอกชนในบางสาขาได้พัฒนาไปมากจนกล่าวได้ว่านำหน้ากว่าขีดความสามารถของทางทหาร จากจุดเด่นนี้จึงเป็นที่มาของแนวทางที่จะต้องนำเอาขีดความสามารถของภาคเอกชนที่มีอยู่แล้วนั้นมาแปลงให้เป็นขีดความสามารถทางทหาร ของกองทัพเรือ