<< Go Back

การแกะสลักไม้  ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้อง การ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ในยุคเหล็ก คือประมาณ 1,000 ปีก่อน คริสศักราช เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก การแยกโลหะจากแร่และนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วย งานแกะสลักก็ได้เริ่ม ต้นและมีการพัฒนาต่อมา จนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก
สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง ด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้สักอุดมสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวก งานแกะสลัก จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็น กันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้ สอยในชีวิตประจำวัน

ประเภทของงานแกะสลักไม้
การแกะสลักไม้สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

          1.การแกะสลักรูปลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอด ทั้งแผ่น มักใช้ในการแกะแม่พิมพ์ไม้
          2.การแกะสลักรูปนูนต่ำเป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นจากแผ่นพื้นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่ แบนราบเหมือนภาพลายเส้นใช้แกะสลักลวดลายทั่วไป ส่วนมากเป็นลวดลายประกอบอาคาร สถาปัตยกรรมต่างๆ โบสถ์ วิหาร เครื่องเรือน หรือประกอบรูปแบบลอยตัว
          3. การแกะสลักรูปนูนสูงเป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูปมากกว่าแบบนูนต่ำ   ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป เหมือนรูปนูนต่ำ
          4. การแกะสลักรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน มักแกะเป็นพระพุทธรูป รูปคน สัตว์ หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ

ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้

         1.กำหนดรูปแบบและลวดลายออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ  สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลักเช่นทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมาสิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้  และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง
          2.การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้
         3.การโกลนหุ่นขึ้นรูปคือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง  แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป
การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ
          4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลักเพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุดการปาด  และการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการการขุดพื้นคือการตอกสิ่วเดินเส้นโดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอกเวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมสม่ำเสมอ  เพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้นจัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน  ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

ข้อสังเกตในการปาดแรตัวลาย
          เวลาปาด หรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตามทางของเนื้อไม้ คือ  ไม่ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย
การปาดแต่งแรลาย คือการตั้งสิ่วเพล่เอียงข้างหนึ่ง ฉากข้างหนึ่ง แล้ว ปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน   เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการ

การปาดลายสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
          - ปาดแบบช้อนลาย
          - ปาดแบบพนมเส้น คือพนมเส้นตรงกลาง
          - ปาดแบบลบหลังลาย (ลบเม็ดแตง)

การแกะสลักไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการแปลกออกไปแล้วแต่สภาพ เช่น การแกะบานประตูหน้าต่างอาจใช้ไม้แผ่นเดียวทำได้สำเร็จ แต่การแกะหน้าบัน พระที่นั่งโบสถ์มีขนาดใหญ่ วิธีการแกะจึงต้องเพลาะไม้หลายแผ่นเข้าด้วยกัน แต่อาจจะเรียงต่อกันโดยยึดพอที่จะแกะ  เสร็จแล้วจึงถอดเป็นชิ้นส่วนนำขึ้นไปประกอบทีละแผ่น   หรือลวดลายที่ต้องการแสดงรูปเกือบลอยตัวก็แยกแกะต่างหากตามแบบแล้วนำเดือย สลักติดเข้ากับตัวลายหน้าบันนั้น ๆ ต่อไป

          ในปัจจุบันการแกะสลักก็ยังคงยึดวิธีการแบบโบราณ แต่มีการวิวัฒนาการปรับปรุงเครื่องมือเข้ามาช่วย ก็คือการใช้เครื่องมือขุดพื้น การลอกแบบลงบนไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปรุกระดาษแล้วโรยฝุ่น หรือใช้เขียนลงบนไม้ ก็ใช้พิมพ์เขียวแล้วทากาวผนึกลงบนไม้ แต่ละใช้ได้เฉพาะแกะให้รู้รูปร่าง แต่เมื่อโกลนหุ่นแล้วก็ต้องใช้วิธีการเขียนแบบเดิมซึ่งทำกันมาแต่โบราณ

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก

  -ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
          - ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
   -สิ่วเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ 

          - มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
          - เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
          - บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
          - กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
          - กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
          - สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
          - แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
          - เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
          - วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้


pที่มาของภาพ : http://tisc.feu.ac.th/content.aspx?file_upload_id=2370

 

<< Go Back