ประวัติ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

 

 

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง

ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป 
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก

และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย

 

.

 


ประวัติ

เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุขทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น

ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป 
จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ

ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4  มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น

ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะสมัยใหม่


 (ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )



ลงาน


การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

    * พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
    * พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
    * พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน

รางวัลและเกียรติยศ

    * พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
    * พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
    * พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
    * พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้าน จิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    * พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
    * พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" 
และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์
    * พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
          o ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบธนบัตรราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
          o ถวายการสอนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ทุนที่ได้รับ

    * พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
    * พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ 
และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
    * พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
    * พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
    * พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
    * พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

ที่มา วีกีพีเดีย

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

 

 

หากจะนับชื่อศิลปินไทยที่เรารู้จัก แน่นอนว่า “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” เป็นศิลปินในลำดับต้นที่ถูกนึกมาเป็นชื่อแรกๆ เขาเป็น 1 ใน 3 ของศิลปินสายจิตรกรรมในประเทศไทย
ที่นักสะสมต้องการความเห็นของเขา ผลงานของเขาอยู่ในแกลเลอรี่ส่วนตัวของเศรษฐี นักธุรกิจชั้นนำหลายคน 
การสร้างงานที่เดินทางมาสู่จุดปลายสุดในสาขาอาชีพของความเป็นศิลปินไทย อันได้แก่ ถวัลย์ ดัชนี, จักรพันธ์ โปษยกฤต ที่อยู่ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 
(จิตรกรรม) ด้วยการยอมรับจากสังคม และผลงานที่ถูกตีราคาสูง



ด้วยผลผลิตจากบรรยากาศชาตินิยมในช่วงปี 2519 การเกิดขึ้นของภาควิชาศิลปไทยในมหาวิทยาลัยศิลปากรภายใต้การกำกับของ ชลูด นิ่มเจริญ ได้สร้างบัณฑิตรุ่นแรกอย่าง 
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มาผลิตงานศิลปะไทยในช่วงกระแสชาตินิยม



ด้วยเหตุนี้ศิลปะไทยจึงกลายเป็นจุดยืนของเขาที่ชัดเจนจากที่ว่างที่มี อยู่ในสังคมในขณะนั้น ด้วยรูปลักษณ์ “ความเป็นไทยแบบร่วมสมัย” 
นอกจากนั้นการร่วมและจัดตั้งกลุ่ม “ศิลปไทย 23” เพื่อต่อต้านกระแสวัฒนธรรมต่างชาติในปี 2523 ก็ทำให้ลักษณะการพูดจาอย่างไม่กลัวเกรงเป็นจุดเริ่มที่ติดตา 
และได้กลายเป็นการย้ำจุดยืนของเขาที่ชัดเจนในศิลปะไทยต่อสังคมในขณะนั้น ภายหลังจากนั้นอีก 4 ปีถัดมา การเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธประทีป 
ตำบลวิมเบิลดัน พาร์คไซด์ (Wimbledon Parkside) ประเทศอังกฤษ เป็นการมุ่งสู่ความลึกซึ้งทางธรรม และกลายเป็นอิทธิพลต่องานในแนวทาง 
“พุทธศิลป์” (Buddhistic Art) ที่เขาศรัทธา จนนำไปสู่การสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่โดยฝากผลงานทั้ง ชีวิตทิ้งไว้ให้เป็นพุทธบูชา

“วัดร่องขุ่น” ที่จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว เมื่อเกือบ 2 ปีก่อนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 คน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปีที่แล้ว 
โดยคาดว่าปริมาณคนที่แห่เข้ามาชมผลงานจะมากขึ้นและเหยียบหลักแสนได้ภายในไม่ กี่ปี ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวไทยที่ตั้งใจ 
มาเยี่ยมชมผลงานของเฉลิมชัย ซึ่งสิ่งที่เขากล่าวถึงเสมอก็คือต้องการที่จะสร้างงานตลอดชีวิต เขาบอกว่าเกิดจากความต้องการที่จะสร้างงานระดับโลก 
ไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดเงิน

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

 

 

การจัดงานนิทรรศการ “วาดทำบุญ” ที่ผ่านมา 3 ครั้ง เป็นการจากมาและจากไปแต่ละครั้งของชีวิต เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

การพักงานเขียนเพื่อที่จะลงมือสร้างวัดร่องขุ่น เริ่มมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่ชื่อของเขาก็ยังขายได้มาตลอด

ปัจจุบันงานนิทรรศการของเขาที่ผ่านมาจึงไม่ใช่การขายผลงานจริง แต่เป็นเพียงแค่การแสดงผลงานที่ผ่านมา
ตั้งแต่การเป็นชีวิตนักศึกษา เป็นส่วนที่ต่อจาก ภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด

ที่จำหน่ายและตั้งใจนำรายได้สมทบทุนสร้างวัดร่องขุ่นโดยให้ทุกคนร่วมทำบุญ 
ในจำนวนจำกัดที่ไม่มากกว่า 1 หมื่นบาท และจะไม่มีการจารึกชื่อใดๆ ทั้งสิ้น



ด้วยคำกล่าวตอนหนึ่งที่เขากล่าวกับ “POSITIONING” ว่าเขาไม่ความจำเป็นใดๆ เพื่อที่จะวาดรูปอีก

เขาไม่ได้ต้องการวาดรูปขายหรือเพื่อประทังชีวิต เพราะสิ่งที่เขามีอยู่ตอนนี้เรียกได้ว่าเกินพอ

การวาดของเขาก็เพื่อศาสนา วาดในวัดแค่นี้ก็คงพอแล้ว การจำกัดไม่ให้ใครคนใดบริจาคมากเกินไป

ก็เพื่อหวังจะให้ผลงานนี้ เป็นของทุกคนในประเทศ และเป็นงานของแผ่นดินจริง เขาเล่าว่า

ได้รับการติดต่อจากวัดหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อที่จะสร้างผลงน แต่เขาเลือกที่จะไม่ไป 
โดยพอใจที่จะอยู่ที่ถิ่นเกิด และหมายมั่นตั้งใจว่าจะสร้างผลงานที่นี่ตลอดชีวิต ให้เป็นงานระดับโลก



ปัจจุบันรายได้จากภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด ที่มาจากผลงานของเขา ที่จำหน่ายในวัดร่องขุ่นเดือนหนึ่ง

รวมถึงเงินบริจาค รายได้ตกอยู่เฉลี่ยเดือนละ 1.2 ล้านบาท 
ถูกบริหารจัดการในรูปแบบบริษัทและมีคณะกรรมการที่มาจากชุมชนเป็นคนคอยดูแล

โดยที่เฉลิมชัยวางตัวและดำรงอยู่ในฐานะเป็นศิลปินผู้ออกแบบเท่านั้น 
เขาเล่าว่าเขาปฏิเสธที่จะรับรู้รายได้ และวิธีการบริหารทั้งหมด คนงานภายในวัดกว่า 48 คน

ถูกจัดแบ่งหน้าที่ตามฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่าย ประกอบด้วยลูกศิษย์ที่เป็นช่างฝีมือชาวบ้านจังหวัดเชียงรายทั้งสิ้น

รายได้หมดไปกับเงินเดือนพนักงานราวเดือนละ 2 แสนบาท และวัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างงาน
ที่ส่งมาจากต่างประเทศราคาแพง เป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากฝ่ายจัดการอีกว่า

พื้นฐานโครงสร้างที่กำลังจะต่อเติมเพิ่มขึ้นอีก 9 หลัง 
ถูกปรับและรื้อถอนตามความไม่พอใจของเฉลิมชัย ซึ่งตกอยู่ราวประมาณ 2-5 ล้านบาทต่อหนึ่งงานที่จ้างจากภายนอก

ที่เป็นฝ่ายทำให้ชายผู้เรียกตัวเองว่า “บ้า” ระดับหนึ่ง กลายเป็นจริง



ขณะที่ส่วนต่างถูกจัดเก็บเพื่อเป็นกองทุน ในยามที่เฉลิมชัยบอกเล่าออกมาเสมอด้วยความไม่ประมาทว่า

“หากเขาจากไปเมื่อไหร่ทุกส่วนต้องอยู่ได้ตัวของตัวเอง” 


ปัจจุบันเฉลิมชัยเดินทางโดยไม่พกเงิน มีเพียงหมวก และไม้เท้าปลายแหลมเพื่อคอยเก็บเศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่อยู่ในวัดภายใน

พื้นที่ราว 3 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เมื่อเริ่มแรก ก่อนที่จะได้รับบริจาคและจัดซื้อบริเวณโดยรอบราว 12 ไร่

อันเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเล่าว่าแต่ก่อนเคยเป็นป่ารกแต่ 7 ปีถัดมาได้กลายสภาพเป็นพื้นที่ร้านค้า

และร้านอาหาร ลานจอดรถ รวมไปถึงบริเวณรอบนอกที่กำลังจะถูกพัฒนา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นปัญหาสำคัญ

รวมไปถึงการดูแลภูมิทัศน์โดยรอบไม่ว่าบ้านสองหลังในกรุงเทพฯ ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ และบ้านที่สะพานใหม่

พื้นที่ที่เขาใช้สิทธิเลือกตั้ง บ้านที่เชียงใหม่สำหรับโรงเรียนของลูกและที่อยู่ของภรรยา 
และบ้านพักใกล้น้ำตกที่เชียงรายถูกดูแลโดยครอบครัวที่เฉลิมชัยอุปถัมภ์ 3 ครอบครัว การวางแผน

และการจัดการทรัพย์สิน รวมไปถึงภาพเขียนที่เป็นที่ต้องการของตลาด 
เขาเล่าว่าถูกจัดการอย่างเป็นระบบ และเตรียมการมาอย่างดี



 ภาพวัดร่องขุ่น จังหวัด เชียงราย

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล : http://www.sipang-artgallery.com