ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
"เครื่องเล่นแผ่นเสียง" เสน่ห์ที่ไม่เคยจางหาย
แชร์
ชอบ
"เครื่องเล่นแผ่นเสียง" เสน่ห์ที่ไม่เคยจางหาย
27 ม.ค. 65 • 09.00 น. | 3,666 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ยุคหนึ่งในอดีต เครื่องเล่นแผ่นเสียง ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีการฟังเพลงของผู้คนอย่างมาก แทนที่จะออกไปฟังดนตรีสดที่ฟังได้เป็นครั้งคราว แค่เพียงมีเจ้าเครื่องนี้ ทุกคนก็สามารถเสพความสุนทรีย์อยู่ที่บ้านได้บ่อยขึ้น เครื่องเล่นแผ่นเสียงจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เรียกได้ว่า “บ้านไหนไม่มี บ้านนั้นเชย” ก็ว่าได้ แม้รูปแบบการฟังเพลงในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปมากแค่ไหน แต่ความสุนทรีย์แบบคลาสสิกของเครื่องเล่นแผ่นเสียงยังคงทำให้ใครหลายคนหลงใหลไม่เสื่อมคลาย 

 

เสน่ห์ของการฟังเพลงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ไม่ใช่เพียงแค่ได้ฟังเพลงที่เราชอบ แต่มันคือความสุนทรีย์ที่จับต้องได้ รวมถึงวิถี “สโลวไลฟ์” ที่ใครต่อใครถวิลหา เสน่ห์ที่ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เลือกซื้อแผ่นเสียงในร้าน คือความสุขที่ได้พบงานศิลปะคูล ๆ บนปกของแผ่นเสียง บางคนอาจตกหลุมรักเมื่อแรกเห็นโดยที่ไม่รู้ว่าเพลงข้างในจะเพราะถูกใจหรือไม่ด้วยซ้ำ การได้สัมผัสผลงานของศิลปินที่เราชื่นชอบ มันให้คุณค่าทางจิตใจ เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่หาไม่ได้จากการฟังเพลงในแบบสตรีมมิง

 

ความสุนทรีย์จากการฟังเพลงด้วยเครื่องเล่นแผ่นเสียงของแต่ละคน "ไม่เหมือนกัน" บางคนชอบมวลเสียงที่กว้าง บางคนชอบความเป็นธรรมชาติของเครื่องดนตรี บางคนชอบเสียงกร็อบแกร็บ หรือเสียงนอยซ์สอดแทรกระหว่างบทเพลง

แผ่นเสียงบางแผ่นอาจไม่ได้ให้เสียงที่สมบูรณ์ที่สุด แต่หากเป็นเสียงที่มาเติมเต็มจิตใจก็นับว่าเป็นความสุนทรีย์อย่างหนึ่งแล้ว

 

ก่อนที่การฟังเพลงจะกลายมาเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว เครื่องเล่นแผ่นเสียง เคยมีวิวัฒนาการมาแล้วหลายยุคควบคู่กับพฤติกรรมการฟังเพลงที่แปลกใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงชวนให้ทุกคนมาย้อนอดีตของวิวัฒนาการเครื่องเล่นแผ่นเสียง 100 ปี ว่ามีเรื่องราวน่าสนใจอะไรบ้างที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการฟังเพลงในปัจจุบัน


เครื่องเล่นแผ่นเสียง ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อไหร่ ?

ก่อนที่จะมีแผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบที่มีแป้นหมุนอย่างที่ทุกคนเห็นในปัจจุบัน โฟโนกราฟ (Phonograph) เปิดตัวในปี 1877 เป็นเครื่องเล่นเสียงรุ่นแรก ที่ทำได้ทั้งบันทึกและเล่นกลับในเครื่องเดียว 10 ปีต่อมา โฟโนกราฟ ถูกต่อยอดและเรียกเป็นชื่อใหม่ว่า แกรโมโฟน (Gramophone) หรือหีบเสียง และตั้งแต่ปี 1940 เครื่องเล่นแผ่นเสียงในแบบที่ทุกคนรู้จักถูกเรียกว่า Record player มาจนถึงปัจจุบัน

เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง

ใครเป็นผู้คิดค้น ?

หลายคนอาจเข้าใจว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียงถูกผลิตขึ้นมาก่อน แต่ความจริงแล้วเครื่องบันทึกเสียงถูกคิดค้นขึ้นก่อนใครเพื่อน และถูกต่อยอดเทคโนโลยี จนกลายเป็นเครื่องบันทึกเสียงและเล่นเพลงในเครื่องเดียว

 

  • โฟโนโตกราฟ (Phonautograph) โดยเอดัวร์-เลอง สก็อตต์ เดอ มาร์ตินวิลล์ นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้นอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกคลื่นเสียง เช่น เสียงพูดมาแปลงลงในกระดาษได้เป็นครั้งแรก แต่ โฟโนโตกราฟ ยังมีข้อจำกัดคือไม่สามารถเล่นเสียงได้

 

  • โฟโนกราฟ (Phonograph) ถูกคิดค้นโดย ทอมัส เอดิสัน บุคคลที่รู้จักในฐานะผู้ประดิษฐ์หลอดไฟ เขาได้พัฒนา โฟโนกราฟ ให้เป็นเครื่อง "บันทึก" และ "เล่น" เสียงได้ในเครื่องเดียว โดยบันทึกผ่าน “กระบอกเสียง” (cylinder record) ที่หุ้มด้วยแผ่นดีบุก

 

  • แกรโมโฟน (Gramophone) ได้สร้างความแปลกใหม่ที่เหนือกว่า โดย เอมิล เบอร์ลินเนอร์ ต่อยอดไอเดียมาจาก โฟโนกราฟของทอมัส เอดิสัน และให้กำเนิดเครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบมือหมุน ที่สามารถบันทึกและเล่นเสียงผ่าน จานเสียง (Disc) หรือที่เรียกว่า "แผ่นครั่ง" ที่ให้คุณภาพเสียงที่คมชัดกว่า จนนำไปสู่เทคโนโลยีการผลิตแผ่นเสียงไวนิลที่นิยมในปัจจุบัน

 

 

เสน่ห์ของเสียงเพลงที่เปิดจากเครื่องแกรมโมโฟน 

 

เครื่องเล่นแผ่นเสียง

ถูกผลิตขายเป็นครั้งแรก

ก่อนที่วิทยุจะค่อย ๆ เข้ามาเปลี่ยนวิถีการฟังเพลงของคนในยุคนั้น เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Record player) ได้ออกสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี 1895 ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก ถึงแม้กระแสของเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะซาลงในช่วง 30's และ 40's แต่วิทยุก็ไม่ได้ทำให้การฟังเพลงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงดูล้าสมัยลงไปเลย เพราะยังขายดีในกลุ่มคนรักแผ่นเสียง แต่ก็ไม่ได้เป็นกระแสหลักเท่าที่ควร จนกระทั่งยี่สิบปีให้หลัง

 

60's และ 70's เครื่องเล่นแผ่นเสียง

กลับมาทวงบัลลังค์

ในช่วงต้นยุค 60's คือยุคทองของเครื่องเล่นแผ่นเสียง ที่กลับมาทวงบัลลังค์อีกครั้ง หลังจากเปิดตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงอัตโนมัติ ระบบเสียงสเตอริโอรุ่นแรก ด้วยระบบเสียง Hi-Fi (High Fidelity) ที่ขยายเสียงได้คมชัด ไพเราะ ไม่ผิดเพี้ยน เป็นจุดขายที่เรียกได้ว่า "ของมันต้องมี" ไว้ติดบ้าน ในช่วงนี้เองก็มีการเปิดตัวเครื่องเล่น Apollo Record Player รูปทรงอวกาศสมชื่อ มาพร้อมกับคอนโซลสเตอริโอไม้สุดคลาสสิก

เครื่องเล่นแผ่นเสียง Apollo Record Player ผลิตโดย Electrohome


"หีบเสียง" ความสุนทรีย์ในสยาม

หีบเสียง หรือโฟโนกราฟของเอดิสัน เข้ามาในประเทศสยามเมื่อปลายรัชกาลที่ 4 ซึ่งยุคนั้นนิยมใช้บันทึกเพลงไทยเดิม ต่อมาในรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการบันทึกเสียงลง "แผ่นครั่ง" ส่วนใหญ่เป็น "เพลงเรื่อง" ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ตามความนิยมของคนสมัยนั้น

หากใครที่สนใจความเป็นมาของเครื่องเล่นแผ่นเสียงในไทย สามารถเข้าไปชมและหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ "พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย" ซึ่งอยู่ในลาดพร้าว 43 ที่รวบรวมเครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงโบราณ แผ่นครั่ง และแผ่นเสียงต่าง ๆ ไว้มากมาย รวมถึงที่มาของการบันทึกเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยคุณพฤฒิพล ประชุมผล หนึ่งในบุคคลที่หลงใหลของวินเทจ 

 

เครื่องเล่นแผ่นเสียงกับดนตรีฮิปฮอป

ยุค 80’s และ 90’s ดีเจเพลงฮิปฮอปค้นพบเทคนิคใหม่ในการใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียง ด้วยการเชื่อมต่อกับเครื่องมิกซ์เสียงแล้วใช้มือเกาหรือถูกไถบนแผ่นเสียงไวนิลให้เป็นจังหวะ เรียกว่า การสแครชแผ่น (Scratching) เพื่อสร้างเสียงแปลก ๆ ได้ดนตรีสไตล์ใหม่ ๆ ซึ่งเทคนิคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่บร็องซ์ ย่านกำเนิดเพลงฮิปฮอปในนครนิวยอร์ก โดยดีเจผิวสีที่ชื่อว่า “Grand Wizzard Theodore”

 

ทำไมแผ่นเสียงขายดีในยุคดิจิทัล

หลังจากที่ CD, MP3 ครองกระแสสำหรับคนชอบฟังเพลงมาหลายปี มาจนถึงมิวสิกสตรีมมิงในยุคดิจิทัลที่อะไรก็ง่ายและรวดเร็วไปหมด ผู้คนทั้ง "รุ่นเก๋า" และ "รุ่นใหม่" ต่างพากันโหยหาอดีต (Nostalgia) และการใช้ชีวิตที่ช้าลง ทำให้รสนิยมการฟังเพลงจากแผ่นเสียงฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ดูได้จากยอดขายแผ่นเสียงไวนิลในสหรัฐอเมริกาปี 2020 มียอดขายเพิ่มขึ้น 29% จากปี 2019 โตแซงหน้าแผ่นซีดีเป็นครั้งแรกในรอบ 35 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1986 ด้วยกระแสนี้ทำให้มีแผ่นเสียงของศิลปินดังหลายคนทั้งรุ่นใหม่และระดับตำนาน ต่างออกซิงเกิ้ลและ Remaster อัลบั้มในรูปแบบแผ่นเสียงไวนิล พร้อมงานปกที่สวยงาม น่าเก็บสะสม

 

นอกจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะให้ความบันเทิงในยุคดิจิทัลแล้ว ยังกลายเฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านสุดคลาสสิกได้อีก สามารถติดตามผลงาน "เครื่องเล่นแผ่นเสียงฝีมือคนไทย" ได้ในรายการ "โรงเรียนนานาช่าง"

 

 



แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เครื่องเล่นแผ่นเสียง, 
#ประวัติ, 
#แผ่นเสียง, 
#แผ่นครั่ง, 
#สโลวไลฟ์, 
#เสน่ห์เครื่องเล่นแผ่นเสีนง, 
#โฟโนกราฟ, 
#Phonograph, 
#แกรโมโฟน, 
#Gramophone, 
#หีบเสียง, 
#หีบเพลง, 
#Recordplayer, 
#เอดัวร์-เลองสก็อตต์เดอมาร์ตินวิลล์, 
#ทอมัสเอดิสัน, 
#กระบอกเสียง, 
#cylinderrecord, 
#เครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบมือหมุน, 
#จานเสียง, 
#เอมิลเบอร์ลินเนอร์, 
#ApolloRecordPlayer, 
#เพลงเรื่อง, 
#พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, 
#พฤฒิพลประชุมผล, 
#ดนตรีฮิปฮอป, 
#การสแครชแผ่น, 
#Scratching, 
#GrandWizzardTheodore, 
#ทำไมแผ่นเสียงขายดีในยุคดิจิทัล, 
#Nostalgia, 
#โรงเรียนนานาช่าง, 
#เครื่องเล่นแผ่นเสียงฝีมือคนไทย 
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เครื่องเล่นแผ่นเสียง, 
#ประวัติ, 
#แผ่นเสียง, 
#แผ่นครั่ง, 
#สโลวไลฟ์, 
#เสน่ห์เครื่องเล่นแผ่นเสีนง, 
#โฟโนกราฟ, 
#Phonograph, 
#แกรโมโฟน, 
#Gramophone, 
#หีบเสียง, 
#หีบเพลง, 
#Recordplayer, 
#เอดัวร์-เลองสก็อตต์เดอมาร์ตินวิลล์, 
#ทอมัสเอดิสัน, 
#กระบอกเสียง, 
#cylinderrecord, 
#เครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบมือหมุน, 
#จานเสียง, 
#เอมิลเบอร์ลินเนอร์, 
#ApolloRecordPlayer, 
#เพลงเรื่อง, 
#พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, 
#พฤฒิพลประชุมผล, 
#ดนตรีฮิปฮอป, 
#การสแครชแผ่น, 
#Scratching, 
#GrandWizzardTheodore, 
#ทำไมแผ่นเสียงขายดีในยุคดิจิทัล, 
#Nostalgia, 
#โรงเรียนนานาช่าง, 
#เครื่องเล่นแผ่นเสียงฝีมือคนไทย 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา