< :: ส ว น หิ น :: แหล่งการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

หน้าแรก
การตรวจและวินิจฉัยแร่
สารบัญสวนหิน
ธนาคารภาพ
กระดานสนทนา

จุดประสงค์
คณะผู้จัดทำ

 

 

 

แคลไซต์

  แคลไซต์ ( Calcite) มาจากภาษาลาติน “calx” หมายถึง ปูนเผา (Burnt lime) รูปผลึกระบบเฮกซะกอนาล พบ
เกิดเป็นผลึกได้มากกว่า 300 แบบ และเป็นผลึกที่ซับซ้อนมาก แบบที่พบเห็นได้บ่อยๆคือ ผลึกที่มีรูปเหมือนรูปสี
เหลี่ยมขนมเปียกปูน ถ้ามีลักษณะแท่งหรือหัวแหลมๆยาวๆ เรียกแร่ฟันม้า(Dog-tooth Spar) ปกติมีสีขาวหรือไม่มี
สี แต่ก็อาจจะมีสีอื่นๆได้ เช่น สีทา แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ถ้ามีมลทินอื่นปะปน เช่นพวกไพไรต์ ทองแดง
มาลาไคต์ เป็นต้น จะมีสียเปลี่ยนไปจากน้ำตาลไปจนกระทั่งมีสีดำ เนื้อโปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง สีผงละเอียด
สีขาวหรือเทา

กำเนิด
    พบได้ทั่วไปในบริเวณที่มีหินชั้นและหินแปรโดยเฉพาะในบริเวณที่มีหินปูนมักจะพบแคลไซต์ได้มาก ในตัว
หินปูนเองอาจมีสายแคลไซต์ตัดผ่านหรือหินปูนตกผลึกใหม่เนื่องจาก ความร้อนและความดัน กลายเป็นหินอ่อน
นอกจากนี้ยังพบเกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายแร่ต่างๆเช่น ฟลูออไรด์ เป็นต้น

แหล่งแร่ในประเทศ
    พบได้ทั่วไปแทบทุกจังหวัดในบริเวณที่มีหินปูน ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เช่น จ.แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ สระบุรี
กาญจนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา เป็นต้น ปัจจุบัน จ.นครสวรรค์ เป็นแหล่งผลิตหินอ่อนที่มีเนื้อหรือลายสวยๆ
จังหวัดหนึ่งรองจาก จ.สระบุรี

ประโยชน์
    แร่ที่เป็นผลึกใสพิเศษแบบ Iceland Spar ใช้ในการทำอุปกรณ์เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์แบบ Polarizing
microscope และเป็นแร่ที่สำคัญแร่หนึ่งในการผลิตแสงเลเซอร์ นอกจากนี้ก็นำมาใช้เป็นหินขัดและหินประดับ
โดยที่แคลไซต์เป็นส่วนประกอบสำคัญของหินปูน ประโยชน์ที่นำมาใช้คือใช้หินปูนมาทำปูนซีเมนต์และเผาทำ
ปูนขาว


   สารบัญ   

 


© 2024 Assumption Samutprakarn School. All Right Reserved.
Website by ACSP Website Team