วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จอภาพ (Monitor)

            จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(monitor ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ)
แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา
เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร
ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้
และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต  
             การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
             จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานกราฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
CRT Monitor (Cathode Ray Tube Monitor)
          เทคโนโลยีหลอดภาพ (CRT : Cathod Ray Tube) นั้นมีการคิดค้นขึ้นมาเมื่อปี 1897 และยังใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมเป็นพื้นฐานจนถึงปัจจุบัน โดยภาพที่เกิดขึ้นบนจอภาพนั้นเกิดจากการสแกนของปืนยิงอิเล็กตรอน (Electron Gun) อย่างรวดเร็วเพื่อยิงอนุภาคผ่านหลอดสุญญากาศไปยังพื้นผิวจอภาพที่มีการเคลือบฟอสเฟอร์ที่เป็นแม่สีเอาไว้ เมื่อมีการเร่งพลังงานเข้าไปที่อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนจะวิ่งออกไปด้วยศักย์ไฟฟ้าที่สูงมาก ผ่านสนามแม่เหล็กที่ทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคนั้นเบนออกไปทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเต็มจอภาพแล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากมีการใช้ศักย์ไฟฟ้าสูง รวมกับสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการผลิตรังสีเอ็กซ์ออกมาหลอดภาพจึงค่อนข้างอันตรายเมื่อใช้ในระยะยาว แต่ในช่วงระยะหลังมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจนมอนิเตอร์ในปัจจุบันมีมาตรฐานการทำงาน
รูปจอภาพแบบ CRT

ส่วนประกอบภายในที่สำคัญ
โครงสร้างของจอภาพแบบ CRT
หลักการทำงาน
       ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีในการแสดงผลหลายอย่าง แต่พีซีโดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะยังคงใช้จอภาพแบบมีหลอดภาพหรือ CRT ( Cathode Ray Tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในทีวี เพราะมีราคาไม่แพงและมีการแสดงผลชัดเจน แต่ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างจอภาพกับทีวีก็คือคุณภาพและความละเอียดของภาพที่ปรากฏ บนหน้าจอ ซึ่งภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณภาพดีกว่าบนจอทีวี เพราะเราจะต้องทำงานไหลชิดกับมันมากกว่า ถ้าภาพบนจอไม่ชัดเจนหรือมีการสั่นก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการปวดตาหรือปวดหัวได้เหมือนกัน คุณภาพขอหลอดภาพสามารถดูได้จากสเป็คต่างๆของจอภาพ เช่น ความถี่ในการสแกนในแนวตั้งและแนวนอน ( Verticak and Herizontal refresh rate ) และช่วงความถี่ที่รับข้อมูลหรือแบนด์วิธ ( bandwidth )
จอ CRT สร้างภาพโดยการยิงลำของอิเล็กตรอน ไปยังผิวจอซึ่งฉาบด้วยสาร phosphor ( สารเคมีที่จะเรื่องแสงเมื่อมีอิเล็กตรอนกระทบ ) ซึ่งการปิดและเปิดอิเล็กตรอนนอย่างรวดเร็วจะสามารถสร้างจุดสว่างและจุดมืดบนจอได้ตามแนวของอิเล็กตรอนที่กวาดไป สำหรับจอสี ( color monitor ) ลำของอิเล็คตรอนที่ยิงออกมาก่อนจะถึง phospher จะต้องผ่านส่วนที่เรียกว่า หน้ากาก” ( shadow mask ) ซึ่งเป็นแผ่นโลหะมีรูตามจุดของ phospher เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้ลำแสงอิเล็กตรอนมีความแม่นยำสูง ( ลักษณะการจัด mask แบบนี้เรียกว่า Invar Mask ) ระยะห่างระหว่างแต่ละรูบน shadow mask ก็คือระยะระหว่างแต่ละจุดที่ปรากฏ บนจอด้วย คือที่เราเรียกว่า dot pitch จอภาพที่มีระยะ dot pitch ต่ำกว่าจะมีความคมชัดสูงกว่า แต่ถ้ามีระยะห่างน้อยเกินไปสีอาจจะเพี้ยนได้ เนื่องจาก phospher ของจุดนั้นอาจจะถูกยิงด้วยละอิเล็กตรอนที่เป็นของสีที่อยู่ข้างเคียงแทน แต่ละจุดบนจอภาพ ( สี ) จะประกอบด้วย phospher 3 จุด คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อย่างละหนึ่งจุด ส่วนมากมักจะจัดให้จุดทั้งสามเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า tried แต่ก็มีจอบางรุ่นที่จัดให้จุดทั้งสามเรียงเป็นแนวเดียวกัน เช่น จอที่ใช้หลอดภาพแบบ Trinotron เป็นต้น
       การยิงอิเล็กตรอนจะเริ่มจากมุมซ้ายบน และไล่ไปตามแนวนอน เมื่อสุดจอแล้วจะไปเริ่มต้นที่แถวถัดไป การย้ายแนวอิเล็กตรอนจากท้ายแถวหนึ่งไปยังจุดเริ่มต้นของแถวถัดไปนี้เรียกว่า raster scanning การยิงอิเล็กตรอนจะกวาดไปเรื่อยๆ ทีละแถวลงไปจนสุดความยาวของจอ หลังจากนั้นจะกลับไปเริ่มต้นที่ซ้ายบนใหม่ ในจอภาพจะมีส่วนที่เรียกว่า magnetic deflection yoke เป็นลวดที่ทำหน้าที่สร้างสนามแม่แหล็กเพื่อเปลี่ยนมุมการยิงอิเล็กตรอนให้เบี่ยงเบนไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพตามที่ต้องการ สำหรับจอสีจะมีปืนยิงอิเล็กตรอนอยู่สามชุดสำหรับแม่สีทั้งสาม ( ของแสง ) คือ สีแดง เขียว และน้ำเงิน

ประเภทของจอภาพแบบ CRT
       1. Monocrom Monitor
       2. Color Monitor
         - VGA ( Video Graphic Adapter )
         - SVGA ( Super Video Graphic Adapter )
         - XGA ( eXtended Graphic Adapter )

Monocrom Monitor
         การแสดงผลแบบนี้ Output จากหน่วยความจําจะต่อตรงมายัง Input ของ Dot Shift Register โดย ที่อยู่ในหน่วยความจำจะเป็นรูปแบบจุด (Dot Patterns) ของแต่ละ 8 จุดในเสนสแกนหลังจากค่า Dot Pattern ถูกโหลดจากหน่วยความจําลงใน Shift Register จะถูกเลื่อนไปยังลำแสง CRT เพื่อที่จะสร้าง Dot Pattern ที่ต้องการลงบนหน้าจอโดยค่า Bit Pattern แต่ละบิตจะกำหนดจุดแต่ละจุด บนหน้าจอว่า ON หรือ OFF จุดแต่ละจุดนั้นบางครั้งเรียกว่า Pixel หรือ Pel ย่อมาจาก Picture Element

โครงสร้างภายในของ Monocrom Monitor
Color Monitor
         Color monitor ลำของอิเล็กตรอนที่ยิงออกมาก่อนจะถึง phospher จะต้องผ่านส่วนที่เรียกว่า "หน้ากาก" ( shadow mask ) ซึ่งเป็นแผ่นโลหะมีรูตามจุดของ phospher เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้ลำแสงอิเล็กตรอนมีความแม่นยำสูง ( ลักษณะการจัด mask แบบนี้เรียกว่า Invar Mask ) ระยะห่างระหว่างแต่ละรูบน shadow mask ก็คือระยะระหว่างแต่ละจุดที่ปรากฏ บนจอด้วย คือที่เราเรียกว่า dot pitch จอภาพที่มีระยะ dot pitch ต่ำกว่าจะมีความคมชัดสูงกว่า แต่ถ้ามีระยะห่างน้อยเกินไปสีอาจจะเพี้ยนได้ เนื่องจาก phospher ของจุดนั้นอาจจะถูกยิงด้วยละอิเล็กตรอนที่เป็นของสีที่อยู่ข้างเคียงแทน แต่ละจุดบนจอภาพ ( สี ) จะประกอบด้วย phospher 3 จุด คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อย่างละหนึ่งจุด ส่วนมากมักจะจัดให้จุดทั้งสามเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า tried แต่ก็มีจอบางรุ่นที่จัดให้จุดทั้งสามเรียงเป็นแนวเดียวกัน เช่น จอที่ใช้หลอดภาพแบบ Trinotron เป็นต้น
ลักษณะลำอิเล็กตรอนที่พุ่งผ่าน Shadow Mask
ลักษณะลำอิเล็กตรอนที่พุ่งผ่าน Shadow Mask
ลักษณะของ Shadow Mask
      1. Shawdow Mask หรือ Invar Mask
      2. Slot Mask หรือ Aperture Grill
ลักษณะของ Shawdow Mask หรือ Invar Mask
ประเภทของ Color Monitor
        ถูกแบ่งตามความละเอียดในการแสดงผล หมายถึงจำนวนจุดที่สามารถแสดงได้ในแนวตั้งและแนวนอน
        VGA ความละเอียด 640 x 480 จุด แสดงสีได้ 256 สี
        SVGA ความละเอียด 800 x 600 จุด แสดงสีได้ 65,536 สี
        XGA ความละเอียด 1,024 x 768 จุด แสดงสีได้ 16,777,216 สี

หลอดภาพแบบ Trinitron
        ในหลอดภาพแบบ Trinitron ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Sony เมื่อสิบกว่าปีก่อนนั้น จะแตกต่างจากปกติทั้งในกรณีของ shadow mask ที่ใช้เส้นลวดบางๆ ซึ่งตลอดความสูงของจอภาพ ( เรียกว่า slot mask ) แทนการใช้แผ่นโลหะเจาะรู จึงมีช่องให้อิเล็คตรอนลอดออกมาได้มากกว่า ภาพจึงค่อนข้างสว่างกว่า ( แต่มีข้อเสียคือ ต้องมีลวดวิ่งตามแนวนอนเพื่อยึดลวดตามแนวตั้งอีกทีหนึ่ง โดยวางเป็นระยะๆตามความสูงของลวดแนวตั้ง ทำให้อาจเกิดเงาจางๆ ของลวดนี้บนจอภาพได้ ) ส่วนตัว phospher ทีฉายอยู่ในหลอด Trinitron ก็จะเรียงกันเป็น 3 แถวแทนที่จะเป็นกลุ่ม tried เหมือนของผู้ผลิตอื่นๆ
Flat Display Trinitron หรือ FD Trinitron ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความแค้นหน้าจอลดลงเพื่อลดปริมาณการสะท้อนของแสงภายนอกให้น้อยลง บางทีเรียกว่า จอแบน

คุณสมบัติของจอภาพแบบ CRT
ความละเอียดและการสั่น
        คุณสมบัติของจอภาพที่สำคัญที่สุดคือความละเอียดในหารแสดงผล หมายถึงจำนวนจุดที่จอสามารถแสดงได้ในแนวตั้งและแนวนอน จอที่นิยมใช้กันเริ่มจากความละเอียดขนาด 640 x 480 ( VGA ) , 800 x 600 ( Super VGA ) , และ 1,024 x 768 ( XGA ) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในปัจจุบัน นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตจอภาพก็ได้พยายามเพิ่มความละเอียดของจอภาพเป็น 1,280 x 1024 จุด ( 1.3 ล้านจุดต่อหนึ่งภาพ ) และ 1,600 x 1,20 จุด ๖ เกือบ 2 ล้านจุดต่อหนึ่งภาพ ) การเพิ่มจุดบนจอมอนิเตอร์มีผลต่อประสิทธิภาพและโครงสร้างของจอ โดยมีข้อจำกัดอยู่ที่ความถี่ในการกวาดลำอิเล็กตรอนให้เป็นภาพ ( หรือการสแกน ) ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ต ( Hz ) และกิโลเฮิร์ต ( KHz ) ตามลำดับ และรวมถึงความสามารถของวงจรในจอที่จะรับสัญญาณได้ความถี่สูงแค่ไหน หรือที่เรียกว่า แบนด์วิธ” ( bandwith ) ซึ่งมีหน่วยเป็นเมกะเฮิร์ต ( MHZ ) ด้วย
คำว่า “vertical scan rate” หรือ “vertical refresh rate” ( อัตราการรีเฟรชในแนวตั้ง ) หมายถึงจำนวนเที่ยวต่อวินาทีในการยิงอิเล็กตรอนไล่จากจุดเริ่มต้นที่แถวบนสุดตรงมุมซ้ายมาจนถึงแถวล่างสุด ว่าใน 1 วินาที จะกวาดซ้ำได้กี่เที่ยว ถ้าอัตราการรีเฟรชต่ำเกินไปก็จะทำให้จุดบนจอมีความสว่างลดลงก่อนที่จะถูกยิงด้วยอิเล็กตรอนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีผลทำให้ภาพเกิดอาการสั่นไหว ( สว่างไม่สม่ำเสมอ ) จนเราสังเกตุเห็นได้ และหากนั่งจ้องเป็นเวลานานๆก็จะปวดตาได้
ทางหนึ่งที่เราจะลดอาการสั่นของภาพได้ก็คือใช้สารเคมีที่มีความสว่างนานขึ้น จอภาพแบบโมโนโครมในเครื่องพีซีรุ่นแรกๆก็ใช้เทคนิคนี้ ซึ่งก็จะใช้ได้ดีสำหรับจอที่ทำงานแบบ text mode บนเครื่องซีที่มีความเร็วไม่สูงมากนัก แต่ไม่เหมาะกับจอกราฟิกความเร็วสูง เพราะการที่จุดมีความสว่างนานอาจทำให้จุดนั้นยังคงเรืองแสงอยู่ทั้งๆ ที่ควรจะดับไปแล้วเมื่อแสดงภาพอื่น ดังนั้นโดยทั่วๆไปในปัจจุบันจึงนิยมใช้สารเคมีประเภทเรืองแสงไม่นาน แต่อาศัยความถี่สูงในการกวาดลำอิเล็กตรอนซ้ำๆ กันแทน คือการใช้การยิงอิเล็กตรอนซ้ำให้บ่อยพอก่อนที่แสงจะจางลงไป ทำให้เกิดภาพซ้ำๆกันอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อมีการผลิตการ์ดแสดงผลความละเอียดสูงรุ่นแรกๆ ขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของอัตราการแสกนหรือกวาดลำอิเล็กตรอนในการสร้างภาพออกมา การ์ดรุ่นแรกๆจึงมักจะมีอัตราการรีเฟรชแค่ 56 Hz หรือ 56 ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น ซึ่งจะเห็นการสั่นของภาพได้ค่อนข้างชัดเจน ต่อมา VESA ( Video Electonics Standard Association ) อันเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานระบบการ์ดแสดงผล ได้กำหนดมาตรฐานของอัตราการรีเฟรชหน้าจอขึ้นมาสำหรับจอความละเอียดขนาดต่างๆ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงอัตราการรีเฟรชหน้าจอ
ตามมาตรฐาน VESA

       การรีเฟรชหน้าจอมีสองแบบด้วยกันคือ แบบ Interlace ( อิน-เตอร์-เลช ) และ Non-interlace โดยแบบ Interlace นั้น จะสแกนแบบแถวเว้นแถว คือจะสแกนได้ครบทุกจุดบนหน้าจอในวงรอบการทำงานสองครั้ง ส่วนแบบ Non-Interlace จะสแกนทุกจุดบนหน้าจอทั้งจอในคราวเดียว จากการใช้งานจะพบว่าแบบ Interlace ซึ่งมักใช้ในมอนิเตอร์ราคาถูกจะมีอาการสั่นของภาพมากกว่า และโปรดสังเกตว่าจอแบบ Interlace ที่จะบุว่ามีอัตราการรีเฟรช 86 ถึง 90 Hz นั้น หมายความว่าจะมีดารสแกนทั้งจอภาพเพียงแค่ 43 หรือ 45 ครั้งเท่านั้นในหนึ่งวินาที ( ต้องสแกนสองรอบจึงจะเต็มจอภาพ ) ดังนั้นจอภาพในปัจจุบันจึงมักออกแบบมาให้รับการสแกนภาพแบบ non-interlace ที่ความถี่ 75 Hz สำหรับความละเอียด 1,024 x 768 จุดเป็นอย่างต่ำ
อัตราการแสกนในแนวนอนหรือ horizontal refresh rate สามารถคำนวณคร่าวๆได้จากจากผลคูณระหว่างจำนวนแถวบนจอ กับอัตราการรีเฟรชนั้นในแนวตั้ง (จำนวนเที่ยวที่สแกนซ้ำใน 1 วินาที ) เช่น จอขนาด 640 x 480 ที่มีอัตรารีเฟรชในแนวตั้ง 60 Hz จะได้เท่ากับ 28,800 ครั้งต่อวินาที ( 60Hz x 480 แถว ) แต่เราต้องมีการชดเชยเวลาที่ใช้ในการย้ายลำอิเล็คตรอนจากจุดล่างสุดของจอกลับไปยังจุดเริ่มต้นด้วย เรียกว่า vertical retrace ซึ่งจะกินเวลาเพื่มอีกประมาณ 10% ของเวลาทั้งหมด นันหมายความว่าจะต้องมีอัตราการสแกนแนวนอนประมาณ 31,700 ครั้งต่อวินาที ( 60 x 480 + 10% หรือประมาณ 31.7 KHz )

แบนด์วิธ

       สิ่งหนึ่งที่อาจไม่ค่อยนึกถึงนั่นก็คือ แบนด์วิธ (bamdwidth ) ซึ่งโดยทั่วๆไปมักจะไม่ได้ระบุในสเป็ค แบนด์วิธ หมายถึงช่วงกว้างในการรับความถี่ของสัญญาณหรือพูดอีกอย่างว่าเป็นความสามารถที่จะรับสัญญาณภาพมาเพื่อเปิดและปิดลำอิเล็กตรอนให้ได้ทันสำหรับภาพแต่ละจุดบนจอ ไม่เช่นนั้นภาพก็อาจเกิดอาการเบลอขึ้นได้ ซึ่ง bndwidth นี้สามารถคำนวนได้จากจำนวนจุดบนจอทั้งหมด ( จำนวนจุดที่ต้องปิด/เปิดลำอิเล็กตรอน ) คูณกับการรีเฟรชแนวตั้ง ก็จะเป็นจำนวนจุดทั้งหมดที่ต้องรับเข้ามาในหนึ่งวินาทีนั่นเอง
สำหรับจอ VGA ที่ความละเอียด 460 x 480 จุดที่มีอัตราการรีเฟรช 60 Hz จะต้องมีแบนด์วิธไม่ต่ำกว่า 18.4 Hz เพื่อให้เกิดภาพที่คมชัด แต่ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขในทางทฤษฎีเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเราต้องเผื่อเอาไว้ประมาณ 10% สำหรับ horizontal and vertical retrace ด้วย ( หมายถึงเวลาที่วงจรในจอภาพจะย้ายลำอิเล็กตรอนจากจุดสุดท้ายในแถวแรกไปยังจุดแรกของแถวถัดไป และการย้ายลำอิเล็กตรอนจากจุดล่างสุดของจอกลับไปยังจุดเริ่มต้น เช่นเดียวกับการคำนวนอัตราการรีเฟรช แต่คราวนี้ต้องเผื่อทั้งแนวตั้งและแนวนอน ) สำหรับจอ 800 x 600 จุดที่มีอัตราการรีเฟรช 72 Hz จะต้องมีแบนด์วิธไม่ต่ำกว่า 38 Hz ส่วนจอ 1,024 x 768 จุดที่มีอัตราการรีเฟรช 70 Hz จะต้องมีแบนด์วิธถึง 60.6 Hz ทีเดียว และจอทีมีแบนด์วิธสูงกว่าความต้องการขั้นต่ำนี้ให้ภาพที่ดูดีกว่า
Dot pitch และขนาดจอ
Dot pitch กับขนาดจอก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกจอมอนิเตอร์เช่น Dot pitch หมายถึง ระยะระหว่างกลุ่มของจุดสีแดง เขียว และน้ำเงิน ( tried ) ในจอมอร์นิเตอร์สี และมักจะมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร จอที่มีความละเอียดสูงขึ้นหมายถึงส่าจะต้องมีขนาดของจุดบนจอเล็กลง และในการสร้างจุดขาวบนจอภาพนั้นจะต้องยิงอิเล็กตรอนให้ถูก phospher ครบทั้งสามสีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน จึงจะให้แสงที่รวมกันเป็นสีขาวออกมา
จอภาพ 14 นิ้วทั่วๆไปนั้นจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพกว้างประมาณ 265มิลลิเมตร ( มม. ) ความละเอียดในการแสดงภาพระดับ VGA จะต้องการใช้จุด 640 จุดในหนึ่งแถว ถ้าเราต้องการให้ลำอิเล็กตรอนยิงถูก phospher สีปะหนึ่งจุดภายในแต่ละ tried ก็จะต้องมีระยะห่างจุด หรือ dot pitch เท่ากับ 4.1 มม. ( 256/640 ) หรือสำหรับความละเอียดขนาด 800 x 600 บนจอขนาดเดียวกันก็จะต้องมี Dot pitch เทากับ 0.33 มม. ( 256/800 ) และถ้าเราเพิ่มความละเอียดเป็น 1,024 x 768 ก็จะต้องมี Dot pitch ไม่เกิน 0.26 มม. (265/1,024 ) ถึงจะเพียงพอแก่การสร้างภาพให้คมชัด

ระยะ Dot pitch ที่เหมาะสม
       ถ้าระยะห่างระหว่างจุดเกินกว่านี้ ลำเอ็กตรอนจะไม่โดนจุดของ tried อย่างพอดี จอก็จะไม่สามารถแสดงจุดสีขาวที่คมชัดได้ ตัวเลขของ Dot pitch นี้เป็นแค่การประมาณหยาบๆ เท่านั้น ขนาดของ Dot pitch ที่แนะนำก็สามารถดูได้จากตาราง
ชนิดของหลอดภาพก็มีผลต่อคุณภาพของภาพเช่นกัน จอโค้งจะมีแสงสะท้อนได้มากกว่าจอแบน แต่สามารถผลิตจอที่มีความโค้งน้อยกว่าจอรุ่นแรกๆ หรือรุ่นใหม่ล่าสุดก็จะเริ่มแบนราบจริงๆ แล้ว

ตาราง Dot pitch ที่แนะนำสำหรับจอความละเอียดขนาดต่างๆ
ใหญ่เท่าไหร่ถึงจะเหมาะ
       นอกจากขนาดแล้ว เรายังต้องคำถึงถึงราคาอีกด้วย ขอขนาด 17 นิ้ว จะมีราคาสูงกว่าจอขนาด 15 และ 14 นิ้วอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก และช่องว่างของราคาก็แคบลงเรื่อยๆ คำแนะนำก็คือให้ซื้อจอใหญ่ที่สุดเท่าที่แสดงผลได้ตามความต้องการ ( และอยู่ในงบที่มี ) แต่ถ้าหากจะจอใหญ่ก็ต้องระวังด้วยว่ามีที่ว่าง บนโต๊ะพอสำหรับวางจอหรือเปล่า เพราะความลึกของจอจะมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวเส้นทแยงมุม
จอที่มีขนาดใหญ่กว่าจะแสดงรายละเอียดของภาพได้มากกว่า เช่น ถ้าใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์ก็อาจแสดงข้อความได้ทั้งหน้าสองหน้าพร้อมๆกัน ถ้าใช้เสปรดชีตก็สามารถพบเห็นข้อมูลได้มากเซลขึ้น หรือเห็นโปรแกรมที่กำลังงานอยู่ได้พร้อมรายละเอียดได้มากกว่าหนึ่งวินโดว์พร้อมๆกัน แต่ถึงจะเห็นข้อมูลได้มากขึ้น (เพราะมีจำนวนเซลมากขึ้น ) แต่ไอคอนและตัวอักษรจะเล็กลง ดังนั้นขนาดของจอภาพที่เหมาะสมสำหรับความละเอียดระดับ 640 x 480 จุด ก็น่าจะเป็นจอภาพขนาด 14 – 15 นิ้ว ถ้าขยับขึ้นมาเป็น 800 x 600 จุด ก็ควรจะเน้นจอภาพขนาด 15 – 17 นิ้ว แต่ถ้าเป็น1,024 x 768 หรือสูงกว่าก็น่าจะเลือกจอขนาดตั้งแต่ 17 นิ้วขึ้นไป
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - สิ่งที่ไม่ควรข้าม
       ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรจะมองข้ามไป นั่นคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จอปล่อยออกมา ซึ่งหัวข้อนี้เป็นที่สนใจกันมากในหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดออกมา และในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อตกลงหรือมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของเราเมื่อได้รับคลื่นพวกนี้ว่าควรจะอยู่ในระดับเท่าใดจึงจะปลอดภัย ผู้ที่ริเริ่มในการกำหนดมาตรฐานได้แก่ Swedish Nationnal Board for Measurement and Testing ( ย่อเป็นภาษาสวีเดนว่า MPR ) มาตรฐานแรกได้แก่การกำจัดการปล่อยคลื่น VLF ( Very Low Frequency ) และต่อมาได้กำหนดมาตรฐาน MPR II ที่เข้มงวดกว่าเดิมโดยจำกัดการปล่อยคลื่น ELF ( Extra Low Freuency ) ซึ่งเป็นตัววัดที่ผู้ผลิตแทบทุกรายพยายามทำให้ได้และนำมาอ้างในสเป็คของจอภาพในปัจจุบัน
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
       - ควรนั่งให้ห่างจากคอมพิวเตอร์ประมาณหนึ่งช่วงแขน ( ประมาณ 28 นิ้ว )
       - ควรจะนั่งห่างจากจอของเพื่อนร่วมงานไม่น้อยกว่าสี่ฟุต
       - ให้ปิดจอภาพ ( หรือตั้งให้ระบบประหยัดพลังงานคอยตัดไฟ ) เมื่อไม่ได้ใช้งาน

LCD(Liquid crystal display)
       LCD ย่อมากจากคำว่า Liquid crystal display ซึ่งเป็นจอภาพแบบดิจิตอล ทำให้สามารถสร้างภาพที่มีสัดส่วนได้ถูกต้องมากกว่า จอภาพมีความแบน สามารถแสดงตัวอักษร และภาพได้โดยไม่เกิดการกระพริบของจอภาพ (flicker) ซึ่งทำให้ลดความเมื่อยล้าในการมองได้มาก เริ่มใช้งานกับจอภาพสำหรับเครื่องโน้ตบุ๊ก และปัจจุบันปริมาณผู้ใช้จอ LCD กับเครื่องเดสก์ทอปกำลังมีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้ถูกพัฒนามาใช้กับคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ Passive Matrix และ Active Matrix โดยที่ Passive Matrix นั้นจะใช้หลักการในการแบ่งพื้นที่ในการแสดงผล ก่อนอื่นจะต้องมีชั้นผลึกอยู่ 2 ชั้นก่อนเรียกว่า substrate โดยแต่ละชั้นจะเป็นตัวกำหนดคอลัมน์และแถวของการแสดงผล วิธีการแสดงผลสำหรับแต่ละPixel นั้น วงจรควบคุมจะส่งสัญญาณออกไป 2 ชุด
โครงสร้างของจอภาพแบบ LCD
หลักการทำงานของจอภาพแบบ LCD
       เรามาดูโครงสร้างของจอภาพแบบ LCD ทั่วๆไปกันก่อน ส่วนประกอบหลักๆ ของจอภาพจะมีประมาณ 7 ส่วนด้วยกัน ชั้นในสุดจะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์เพ่อทำหน้าที่ให้แสงสว่างออกมา (ดังนั้นบางทีจึงเรียกกันว่าเป็นจอแบน backlit คือให้แสงจากด้านหลัง ซึ่งต่างจากจอ LCD ที่เราพบในอุปกรณ์ขนาดเล็กทั่วไป ที่มักจะเป็นจอขาว ดำที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง แต่ใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้าจอเข้าไปสะท้อนที่ฉากหลังออกมา ซึ่งไม่สว่างมากแต่ก็ประหยัดไฟกว่า เครื่องคิดเลขเล็กๆ นาฬิกา หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบางรุ่น เช่น Palm ก็ยังใช้จอแบนนี้ ) ถัดมาเป็นส่วนของ diffuser หรือกระจกฝ้าทำให้แสงที่กระจายออกมามีความสว่างสม่ำเสมอ ส่วนที่สามจะเป็น Polarizer ซึ่งก็คือฟิลเตอร์ชนิดหนึ่งที่ยอมให้คลื่นแสงในแนวใดแนวหนึ่งผ่านได้ แต่จะไม่ยอมให้คลื่นแสงในอีกแนวหนึ่งผ่านไป ซึ่งส่วนมากนิยมจะวางให้คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ ต่อมาก็จะเป็นชั้นของแก้วหรือ glass substrate ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว electrode (ขั้วไฟฟ้า) ชั้นนอกถัดออกมาอีกก็จะเป็นชั้นของ liquid substrate ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว electrode (ขั้วไฟฟ้า) ชั้นนอกถัดออกมาอีกก็จะเป็นชั้นของ liquid crystal หรือชั้นของผลึกเหลว โดยจะมีชั้นถัดมาเป็นแผ่นแก้วปิดเอาใว้เพื่อไม่ให้ผลึกเหลวไหลออกมาได้ ส่วนชั้นนอกสุดจะเป็น Polarizer อีกชั้นหนึ่งซึ่งนิยมวางให้ทำมุม 90 องศากับ Polarizer ตัวแรก ส่วนถ้าเป็นจอสีก็จะมีฟิลเตอร์สี (แดง , เขียว และน้ำเงิน ) คั่นอยู่ก่อนที่จะถึง Polarizer ตัวนอกสุด
       ส่วนการทำงานของจอภาพแบบนี้ก็จะเป็นดังนี้ เริ่มแรกแสงที่เปล่งออกจากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะส่องผ่าน diffuser ออกมา แสงที่ผ่านออกมานี้จะมีคลื่นแสงกระจายอยู่ทุกทิศทุกทาง เมื่อแสงนี้มากระทบกับ Polarizer ตัว Polarizer จะกรองให้เหลือแต่คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ เมื่อแสงผ่าน Polarizer ออกมาแล้วก็จะมาถึงชั้นของผลึกเหลว ซึ่งจะถูกกระตุ้น (charge) ด้วยกระแสจากขั้วไฟฟ้านบ glass substrate ผลึกเหลวที่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าแล้วจะเกิดการบิดตัวของโมเลกุล ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยเข้าไป โดยจุดที่ถูก charge มากที่สุดจะบิดตัวได้ถึง 90 องศา เมื่อแสงผ่านชั้นของผลึกเหลวนี้แล้วก็จะบิดตัวไปตามโมเลกุลของผลึกเหลวด้วย ต่อมาเมื่อแสงเดินทางมาถึง Polarizer ตัวนอกสุดซึ่งจะยอมให้เฉพาะคลื่นแสงในแนวตั้งเท่านั้นผ่านออกมาได้ คลื่นแสงที่ถูกบิดตัวตามผลึกเหลวถึง 90 องศาก็จะผ่านตัว Polarizer ออกมาได้มากที่สุดกลายเป็นจุดสว่างให้เรามองเห็น ส่วนคลื่นแสงที่ถูกบิดตัวน้อยก็จะผ่านออกมาได้น้อย ทำให้เราเห็นเป็นจุดที่มีความสว่างน้อย ส่วนคลื่นแสงส่วนที่ไม่ถูกบิดตัวเลยก็จะไม่สามารถผ่าน Polarizer ออกมาได้ทำให้กลายเป็นจุดมืดบนจอภาพ ส่วนถ้าเป็นจอแบน LCD สี ก่อนที่แสงจะถึง Polarizer ตัวที่สองก็จะมีฟิวเตอร์สีทำให้แสงที่ออกมานั้นมีสีตามฟิลเตอร์นั้นไปด้วย

Passie-Matrix LCD
       ในจอภาพแบบ passive-matrix การกระตุ้นหรือ charge แต่ละจุดบนจอจะทำโดยการกวาด ( scan ) หรือส่งสัญญาณไปสร้างภาพหรือควบคุมการบิดตัวตรงจุดนั้น ทั้งทางแนวตั้งและแนวนอน เริ่มจากจุดหนึ่ง (คอลัมน์ที่ 1 ) ในแถวที่ 1 , จุดที่ 2 ในแถวที่ 1 จุดที่ 3 …. ไปเรื่อย ๆ แล้ววนกลับมาจุดแรกในแถวที่ 2 ไปเรื่อยๆ ตามลำดับจนกว่าจะควบคุมทุกจุดบนจอ
       ข้อจำกัดของจอภาพแบบ passive นี้ก็คือมีความสว่างน้อย เพราะเวลาที่ใช้ในการ charge จุดในแต่ละแถวมีจำกัด สมมติว่าจอภาพมี vertical refresh rate เท่ากับ 60 Hz ก็หมายความว่าในหนึ่งวินาทีจะต้องกวาดภาพบนจอ 60 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะต้องทำการแสกนทุกๆ แถวบนจอภาพ ซึ่งถ้าบนจอภาพมี 480 แถว ก็หมายความว่าจะต้องสแกนให้ครบทุกแถวภายในเลา 1/60 วินาที ยิ่งมีเวลาไหนการสแกนสั้นลงเท่าใด ทั้งความสว่าง ความคมชัด และความกว้างของมุมมองก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย ( ในรุ่นใหม่ๆ ของจอแบบ passive นี้จะใช้การเพิ่มการสแกนเป็นสองครั้งหรือที่เรียกว่า dual-scan ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ DSTN นั่นเอง ) ส่วนปัญหาอีกข้อหนึ่งของจอภาพแบบ passive ก็คือมีเงาเกิดขึ้นบนจอภาพ (เกิดจากการรบกวนของสัญญาณอื่นหรือ crosstalk ) โดยอาจเห็นเป็นเงาของภาพส่วนบนมาเกิดที่ตอนล่างของจอภาพได้ ทางแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือจอภาพแบบ active – matrix LCD นั่นเอง Supeer – Twisted Nematic (STN)
       จอภาพ Passive matrix รุ่นใหม่ๆมักจะมีกลไกที่เรียกว่า Super – Twisted N ematic Molecule) จะมีการบิดตัวได้มากกว่าปกติ เช่น เบี่ยงเบนแสงได้ถึง 180 หรือ 270 องศา (จากปกติ 90 องศา) ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น และได้พัฒนาไปเป็น dual-scan STN ในปัจจุบัน

โครงสร้างของจอภาพแบบ passive-matrix LCD

Active – Matrix LCD
โครงสร้างของจอภาพแบบ active ที่ต่างจากจอภาพแบบ passive ก็คือในชั้นของ glass substrate แทนที่จะเป็นขั้วไฟฟ้าธรรมดาก็จะเป็นทรานซิสเตอร์ที่สร้างจากแผ่นฟิล์มบางๆ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ TFT หรือ Thin Film Transistor) ทรานซิสเตอร์เหล่านี้ช่วยทำให้การ charge ผลึกเหลวเป็นไปอย่างรวดเร็วและดีที่ยิ่งขึ้นโดยวงจรแสดงผลสามารถสั่งให้มีการ charge ผลึกของแต่ละสีในแต่ละจุดโดยตรงและค้างเอาไว้ได้ทันที (ไม่ต้อง scan ซ้ำ) แต่จอภาพแบบ active นี้ผลิตได้ยากมากเพราะต้องมีทรานซิสเตอร์กำกับทุกจุดบนจอภาพสมมติว่ามีความละเอียด 640 X 480 จุดก็จะต้องใช้
ทรานซิสเตอร์ถึง 640 X 480 X 3 หรือเท่ากับ 921,600 ตัว (ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ 3 ตัวเพราะในหนึ่งจุดจะต้องประกอบด้วยสีแดง , เขียว และน้ำเงิน) โดยจะต้องไม่มีทรานซิสเตอร์ตัวใดเสียเลย เพราะถ้าตัวใดตัวหนึ่งเสีย จุดนั้นบนจอภาพก็จะขาดบางสีไป ในกระบวนการผลิต จอภาพแบบ active นี้เมื่อก่อนอาจจะมีจอภาพที่ผ่านการทดสอบ (ไม่มีทรานซิสเตอร์ตัวใดเสียเลย) เพียง 20% ของจอภาพทั้งหมดที่ผลิตได้เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีของเสียน้อยลงมากแล้วราคาของจอแบนนี้จึงลดลง
จอภาพ LCD แบบสีที่ใช้กันในเครื่องโน้ตบุ๊คปัจจุบันเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นไปจนถึง 15 นิ้วหรือกว่านั้นแล้ว (ส่วนของเครื่องตั้งโต๊ะก็ขึ้นไปถึง 19-20 นิ้ว) และด้านความละเอียดก็ขึ้นไปที่ 1024 X 768 หรือไปถึง1,000 X 1,200 จุดเป็นอย่างสูง ส่วนทางด้านจำนวนสี จอรุ่นใหม่ๆอาจแสดงได้ถึงระดับ High – color (65,536 สี คือ 2 16) หรือ True Color (16.7 ล้านสี คือ 224) ก็มี ส่วนขนาดใหญ่ที่สุดที่ทำได้จะอยู่ที่ประมาณ 20 นิ้วในปัจจุบัน แต่ราคายังสูงอยู่

โครงสร้างของจอภาพแบบ Active – matrix LCD
จอ LCD กับการ์ดแสดงผลแบบดิจิตอล
          สำหรับจอ LCD ที่ต่อกับเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ จะมีปัญหาที่ควรระวังคือสัณญาณภาพที่ได้จะไม่คมชัดเท่ากับการใช้จอ LCD ของเครื่องโน้ตบุ๊ค หากนำไปต่อกับการ์ดแสดงผลแบบธรรมดาที่ให้สัญญาณออกมาเป็นแบบอนาล็อก (analog) เหมือนการต่อจอ CRT ทั่วไป ทั้งนี้เพราะสัญญาณภาพแบบอนาล็อกอาจจัดไม่ลงตัวว่าจุดหรือพลิกเซลใดบนจอจะติดหรือดับ ทำให้ภาพเกิดการกระพริบหรือดิ้นไปมาระหว่างจุดที่อยู่ติดกัน ในขณะที่จอของเครื่องโน้ตบุ๊คไม่เป็นเช่นนั้น (เพราะรับสัญญาณดิจิตอลจากวงจรแสดงผลโดยตรง) วิธีแก้ไขคือใช้สัญญาณดิจิตอลที่ระบุได้ชัดเจนกว่าว่าตรงไหนติดหรือดับและจุดไหนจะเป็นสีอะไร โดยใช้การ์ดแสดงผลที่ส่งสัญญาณออกมาเป็นแบบดิจิตอลเลยโดยไม่ต้องไปแปลงกลับอีกทอดหนึ่ง ซึ่งการ์ดแบบนี้ก็อาจต้องมีราคาสูงกว่าปกติสักหน่อย หรือเมนบอร์ดบางรุ่นก็มีวงจรและคอนเน็คเตอร์ที่ต่อกับจอภาพแบบดิจิตอลได้มาให้ในตัวเลย
         ท่ามกลางกระแสของการอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีมากขึ้น และความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง และใช้พื้นที่น้อยลง จอภาพแบบ LCD ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับหลาย ๆ คน การพัฒนาจอภาพแบบนี้ยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันก็มีมากมายหลายขนาดให้เลือกใช้แล้ว แต่ราคายังคงสูงอยู่ อีกไม่นานนักเราคงจะได้เห็นจอภาพแบบ LCD มีคุณภาพและราคาที่ไม่ต่างจากจอภาพแบบ CRT มากนักมาให้เราได้ใช้กันอย่างแน่นอน

เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
การเลือกซื้อจอภาพ LCD
         เนื่องจาก จอภาพ แบบ LCD เป็นจอภาพ แบบพิเศษ ที่ใช้เทคโนโลยี ในการสร้างภาพ ที่แตกต่างไปจาก จอภาพแบบ CRT ที่ ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ ดังนั้น เพื่อให้สามารถ เลือกหา จอภาพ LCD ได้อย่าง เหมาะสมมากขึ้น เราจึงได้ แยกหัวข้อ การเลือกซื้อ จอภาพ LCD ออกมา เพื่อให้คุณ จะได้ ทำความเข้าใจ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น กับเทคโนโลยีนี้
          1. จะเลือกซื้อจอแบบ อนาล็อก หรือแบบดิจิตอล การทำงานของจอ LCD นั้นจะมีทั้ง ทำงานแบบ อนาล็อก และแบบดิจิตอล 100% ซึ่งจอ ที่ทำงาน แบบอนาล็อกนั้น จะต้องมี วงจรแปลงสัญญาณ จาก อนาล็อก มาเป็นดิจิตอล เพื่อให้มันสามารถ ทำงานกับ การ์ดแสดงผล ส่วนใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม การแปลงสัญญาณมา เป็นดิจิตอลนี้ ก็จะต้องสูญเสีย ข้อมูลบางส่วนไป ทำให้คุณภาพ ของภาพที่ได้ ลดลงตามไปด้วย แต่จอภาพแบบ อนาล็อกจะมีความง่าย ในการติดตั้ง และใช้งาน ในจอภาพ LCD รุ่นใหม่ๆ จะใช้การเชื่อมต่อ กับการ์ดแสดง ผล ในระบบ ดิจิตอลเลย ทำให้ไม่จำเป็น ต้องมีวงจร แปลงสัญญาณ อนาล็อก เป็นดิจิตอล อยู่ภายใน แต่หากคุณ ไม่มีการ์ดแสดงผล ที่เป็นดิจิตอลแล้ว คุณจะต้องติดตั้ง การ์ดแสดงผล แบบดิจิตอล ลงไปใน คอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะใช้งานได้ อีกทั้งยังยุ่งยาก ในการกำหนดค่าต่างๆ ก่อนใช้งานอีกด้วย สำหรับราคานั้น ไม่มีความ แตกต่างกันนัก บางทีจอ แบบดิจิตอล จะมีราคาถูกกว่าเสียอีก เนื่องจาก ไม่ต้องมี วงจรแปลงสัญญาณ ติดมาด้วยนั่นเอง
อนาล็อก
          2. ความละเอียดของการแสดงผล ค่าของ dot pitch ในจอแบบ LCD นั้น จะมีจำนวน Pixel ที่แน่นอน แตกต่างจาก จอภาพแบบ CRT ที่สามารถ ปรับความละเอียด ได้หลายค่า ดังนั้น การแสดงผล ที่หน้าจอ ขนาดเท่ากับ ความละเอียด ที่แสดงผลนั้น ก็จะเท่ากันด้วย อย่างเช่น จอภาพ ขนาด 15 นิ้ว ก็จะทำงาน ที่ความละเอียด 1024x768 ไม่ว่า จะใช้ เทคโนโลยี ใดในการผลิต ก็ตาม ยิ่งจอภาพ มีขนาดมากขึ้นเท่าใด ความละเอียด ก็จะเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย ส่วนค่าของ Dot pitch นั้น ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ในการพิจารณา เพราะไม่ว่า จะใช้เทคโนโลยีใด ในการผลิต ก็จะมี ค่าของ Dot pitch เท่ากันเสมอ ตัวอย่างจาก จอขนาด 15 นิ้ว จะมีค่าของ Dot pitch เท่ากับ 1024 x 768 / 15 นิ้ว เท่ากับ 0.297 mm หรือบางครั้ง ผู้ผลิตบางราย ก็ใช้ค่าประมาณ 0.30 mm. แทน เป็นต้น
อนาล็อก
          3. มุมมอง ที่สามารถ เห็นได้ เป็นสิ่งสำคัญ อีกสิ่งหนึ่ง ที่ต้องพิจารณา โดยปกติแล้ว สำหรับจอแบบ LCD นั้น มุมมองที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เห็นภาพ ได้ชัดเจนที่สุด คือการนั่งอยู่ ที่น่าจอเท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้ว คุณ อาจจะมองเห็น ภาพบนจอพร่ามัว และสีของภาพไม่ถูกต้องสมจริง เราควรทดสอบดูว่ามุมมองที่สามารถมอง เห็นได้ ในจอภาพ แต่ละรุ่นเป็นอย่างไร สามารถมอง จากแนวเฉียงได้ ในมุมกี่องศา จากแนวกึ่งกลางหน้าจอ รวมทั้ง การมองจากด้านบน ว่าสามารถ เฉียงขึ้นไปได้ กี่องศา ปัจจุบัน จอขนาด 15 นิ้ว ในท้องตลาด ควรจะมีองศา ของมุมมอง ที่ 140 องศา ขึ้นไป ตัวเลขขององศา จะเพิ่มขึ้น หากขนาด ของหน้าจอ ใหญ่ขึ้น

 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น