ข้าพเจ้า นายปัญญา เคนคำภา ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน 

ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

      หลักสูตร : โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย


ประเภทของเครื่องเคลือบดินเผา

          เครื่องเคลือบโบราณพันปีที่ค้นพบบริเวณเขตอำเภอบ้านกรวดนั้น เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในสมัยลพบุรี นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ได้จัดแบ่งออกตามลักษณะและรูปแบบออกเป็น 6 ช่วงสมัยคือ แบบกุเลน แบบไม่เคลือบสี (ลีเดอแวง) แบบบาปวน แบบพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แบบนครวัด แบบบายน ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาที่มีเนื้อแกร่ง มีอายุประมาณ 1,000-1,400 ปี

     ลักษณะที่ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการเคลือบสีนั้น สันนิษฐานกันว่าใช้แป้นหมุนช่วงระยะของการผลิตที่มีความเจริญรุ่งเรืองนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 15–17 และมีรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ประเภทโถ มีทั้งทรงสูง ทรงเตี้ย ประเภทตลับ ส่วนใหญ่นั้นเป็นทรงเตี้ย มีฝาปิดบางชนิดก็ทำเป็นรูปผลไม้ ประเภทคนโท ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น รูปปลา    รูปนก เป็นต้น

 

    ลักษณะของเครื่องเคลือบดินเผา

     ลักษณะของเครื่องเคลือบดินเผามีหลายประเภท โดยจะสามารถแยกตามลักษณะของเครื่องเคลือบดินเผาได้ดังนี้ 

      – รูปทรงประเภทโถ แบ่งเป็นโถทรงสูงและโถทรงเตี้ย
      – รูปทรงประเภทตลับ มีฝาปิด เคลือบทรงเตี้ย บางชิ้นจำลองลักษณะเลียนแบบผลไม้
      – รูปทรวงประเภทกระปุก เป็นแบบเนื้อแกร่ง เนื้อภาชนะสีขาว ปากผาย บานเตี้ยก้นภาชนะมีรอยขีดขดเป็นวงๆ มี              ลักษณะเป็นกระปุก คอสั้นและยาว ตรงกลางป่อง เคลือบกุเลนและเคลือบเข้ม
      – รูปทรงประเภทถ้วย ชาม พบมากที่สุด มีเนื้อหยาบและเนื้อแกร่ง มีทำเคลือบสีอ่อนและสีเข้ม ไม่เคลือบก็มี รูปทรงมี          หลายประเภท เช่น ถ้วยขนาดเล็ก ชาม ถ้วยรูปทรงต่างๆ
      – รูปทรงคณโฑ ภาชนะทรงสูง คล้ายกระปุกหรือขวด แต่มีพวยกาตรงกลาง                                        

 

                          

 

อื่นๆ

เมนู