หน้าเว็บ

ดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร (Sea Satellites)

 ระบบสำรวจข้อมูลทางสมุทรศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางทะเลโดยใช้เทคโนโลยีทุ่นลอยสื่อสารผ่านดาวเทียมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ภายใต้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและบริษัท โอเซี่ยนนอร์ ประเทศนอร์เวย์ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะแรก ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ ๓๐ เดือน ระหว่างวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ถึง ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ระยะที่สอง มีเวลาดำเนินโครงการ ๓๖ เดือน ระหว่างวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘  ถึง ๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๔๑ และระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๙ ดำเนินการเป็นลักษณะงานประจำภายใต้ฝ่ายสารสนเทศทางทะเล สำนักภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)


หลักการทำงานของทุ่นลอย

  • การตรวจวัดและส่งสัญญาณข้อมูลผ่านดาวเทียม

     การเก็บข้อมูลสมุทรศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางทะเล ใช้ทุ่นลอยแบบโยงยึดอยู่กับที่ทั้งหมด ๑๑ ตำแหน่ง ดังรูป ที่ ๔



       การทำงานของอุปกรณ์การตรวจวัดที่ติดตั้งบนทุ่นลอยสมุทรศาสตร์ ดังรูปที่ ๔.๒ จะทำการตรวจวัดข้อมูลทุกๆ ชั่วโมง โดยข้อมูลที่วัดได้จะเป็นข้อมูลแอนะล็อก (Analogue data) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกแปลงให้เป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital data) โดยผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูล (Sensor scanning unit) มีค่าความละเอียดที่ ๑๐ บิต หลังจากนั้นข้อมูลดิจิทัล ทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ในระบบจัดเก็บ และประมวลผลภายในทุ่น (GENI) เพื่อรอที่จะส่งผ่านขึ้นดาวเทียมในแต่ละเวลาที่กำหนดไว้ [๒]


        ทั้งนี้สถานีรับข้อมูลภาคพื้นดินจะสามารถได้ข้อมูลใกล้เคียงเวลาจริงทุกๆ ชั่วโมง และ สำนักงานฯ จะทำการรับข้อมูลจากสถานีรับเพื่อประมวลผลและจัดเก็บลงในฐานข้อมูลต่อไปซึ่งในระยะแรกระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๗ ใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณข้อมูลและการติดตามตำแหน่งผ่านดาวเทียม NOAA (ระบบ ARGOS) เพียงระบบเดียว โดยใน ๑ วัน ได้ข้อมูลทั้งหมด ๖-๘ ชุดข้อมูล ดังแสดงในรูปที่ ๔.๓ และ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๙ ใช้การรับส่งสัญญาณข้อมูลผ่านดาวเทียม Inmarsat-C ส่วนการติดตามตำแหน่งทุ่นเท่านั้นที่ผ่านดาวเทียม NOAA (ระบบ ARGOS) ทำให้ใน ๑ วันได้ข้อมูล
ทั้งหมด ๒๔ ชุดข้อมูล [๓] ดังแสดงในรูปที่ ๔.๔




  • การประมวลผลและเผยแพร่ข้อมูล
ข้อมูลสมุทรศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ตรวจวัดได้จากทุ่นลอยสมุทรศาสตร์ จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้ชุดโปรแกรมต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วย

        ก) โปรแกรมเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลสมุทรศาสตร์ (ORKAN)
        ข) โปรแกรมพยากรณ์ทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันในทะเล (OILSPILL)
        ค) โปรแกรมคำนวณสถิติการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมัน จากจุดต่างๆ (OILSTAT)
        ง) โปรแกรมคำนวณและแสดงทิศทาง และกำลังแรงของกระแสน้ำในลักษณะ ๓ มิติ (HYBOS)
        จ) โปรแกรมคำนวณ การถ่ายเทสสาร (Advection) และ การแพร่ของสสาร (Diffusion)ในมหาสมุทรในลักษณะ ๓ มิติ (NOMAD)

        ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลจะเก็บอยู่ในฐานข้อมูลสารสนเทศทางทะเล ซึ่งในช่วงแรกได้ทำการเผยแพร่และแจกจ่ายข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา และผู้ใช้ข้อมูลทั่วไป โดยได้ติดตั้งเครือข่ายข้อสนเทศสมุทรศาสตร์ (THAINET) เพื่อการบริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ลักษณะออนไลน์ (online) ทั้งนี้ได้ติดตั้งเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมใช้งาน ให้แก่หน่วยงานผู้ใช้ต่างๆ เช่น กรมประมง กรมอุตุนิยมวิทยา 
กรมอุทกศาสตร์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หาดใหญ่) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ปัตตานี) เป็นต้น และได้พัฒนามาเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ใช้ระบบการให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถติดต่อขอรับบริการข้อมูลได้โดยตรงหรือเข้าสู่เว็บไซต์ http://ocean.gistda.or.th/



เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  1.  ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องในการรับและส่งสัญญาณข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากทุ่นลอยสมุทรศาสตร์ โดยใช้การถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม Inmarsat-C ที่ความถี่ ๑๖๒๖.๕-๑๖๔๖.๕ MHz และ ดาวเทียม NOAA (ระบบARGOS) ที่ความถี่ ๔๐๑-๖๐๕ MHz
  2.  เสาอากาศ (Antenna) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างทุ่นกับดาวเทียมและดาวเทียมกับฐานข้อมูล
  3. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูลจากแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อส่งข้อมูลขึ้นดาวเทียมและแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก ในการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ฐานข้อมูล
  4. อุปกรณ์แสดงพิกัดตำแหน่ง (GPS) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงพิกัดตำแหน่งทุ่นลอยสมุทรศาสตร์เพื่อติดตามตำแหน่งทุ่น ณ ที่ติดตั้งและกรณีเกิดการหลุดลอยออกจากตำแหน่งที่กำหนดไว้
  5. ระบบจัดเก็บและประมวลผลภายในทุ่น (GENI) เป็นหน่วยประมวลผล เก็บข้อมูล และแปลงสัญญาณข้อมูลในทุ่นลอยสมุทรศาสตร์ก่อนที่จะส่งข้อมูลขึ้นดาวเทียม
  6.  แหล่งพลังงาน(Power supply) ใช้ลิเทียมแบตเตอรี่เป็นพลังงานหลัก และใช้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar panel) เป็นแหล่งพลังงานสำรองสำหรับการทำงานของทุ่นลอยสมุทรศาสตร์
  7.  ทุ่นลอยสมุทรศาสตร์และอุปกรณ์ตรวจวัด ทางสมุทรศาสตร์ที่ติดตั้งบนทุ่นลอย เป็นอุปกรณ์เฉพาะทางที่ทำการเก็บข้อมูล ตามเวลาที่กำหนดโดยจะแตกต่างกันในแต่ละพารามิเตอร์ที่ตรวจวัด  





ที่มา : http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Marine_Enviromental_Monitoring_System_using_Buoy_Network_and_Satellite_Technology/index.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น