พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์พระนามเดิม"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร"เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่1เป็นพระราชโอรสองค์ที่43ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่2และเป็นพระองค์ที่2ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่18ตุลาคมพ.ศ.2347
ตรงกับเดือน11ขึ้น14ค่ำปีชวดฉศกจุลศักราช1166ในเวลานั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถ(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฯกรมหลวงอิศรสุนทรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ 1 (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 :48)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            

           เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้น ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรส คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมใหญ่ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่หรือเจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้สืบมาจนเสวยราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2355 ตรงกับปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พระชนมายุได้ 9 พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 56)

       

- พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็มตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน

        - พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

        - พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 90) พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป (กริสโวลด์ 2511 : 5) การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า
"รัชทายาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนาจวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"


พระราชสัญจรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชสัญจรประจำพระองค์
พระราชสัญจรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลม มีรูปพระมหามงกุฏเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า มงกุฏ ซึ่งเป็นศิาภร สำคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจาราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรบริวาร 2 ข้าง และที่ริมขอบทั้ง 2 ข้างมีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือเทขรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกานต์หรือเทขร หมายถึง ฉายาเมื่อทรงผนวชว่าวชิรญาณ สำหรับสมุดตำรา หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

พระราชปณิธาน ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่องตั้งไว้เป็นที่พึ่ง ใครมีทุกข์ร้อนถ้อยความประการใด ก็ย่อมมาร้องให้ช่วย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดา มารดา เพราะฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่าคนทั้งปวงยกย่องให้เป็นบิดา มารดาของตัวแล้วก็ มีความกรุณาแก่คนทั้งปวง ดังหนึ่งบิดา มารดา กรุณาแก่ผู้บุตรจริงๆ โดยสุจริต...