แร่ธาตุที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีอะไรบ้าง

แร่ธาตุที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีอะไรบ้าง

แร่ธาตุ

แร่ธาตุ
            แร่ธาตุหรือเกลือแร่มีหน้าที่เป็นใครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายต้องการแร่ธาตุแต่ละชนิดในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ตัวอย่างแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีนเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม เป็นต้น สามารถจำแนกแร่ธาตุตามความต้องการ
ของร่างกายได้ 2 ประเภท ดังนี้
  1. แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน(Macro minerals) เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ไอโอดีน โดยแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย รองลงมาคือฟอสฟอรัส
  2. แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อย (Trace minerals) เช่น ทองแดงสังกะสี โครเมียม เหล็ก โมลิบดีนัม แมงกานีส ซีลีเนียม แม้ว่าร่างกายจะต้องการน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะถ้าขาดจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายให้ผิดปกติไป ตัวอย่างเช่น สังกะสี
            ซีลีเนียม (Selenium) พบในถั่วเปลือกแข็ง สัตว์ปีก เนื้อวัว ข้าวซ้อมมือ เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ (ทำงานร่วมกับวิตามินซี วิตามินอี)ป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด ลดอาการข้ออักเสบ อาการเมื่อขาด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย ร่างกายต้องการวันละ 55-70 ไมโครกรัม
            
โพแทสเซียม (Potassium) พบในส้ม มันฝรั่ง กล้วย เนื้อวัว เป็ด ไก่ นม โยเกิร์ต ช่วยลดความดันเลือด ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมปริมาณ ของเหลวในร่างกาย เป็นสารขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษ อาการเมื่อขาด กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน หัวใจล้มเหลว ร่างกายต้องการวันละ 4,700 มิลลิกรัม
           
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) พบในเนื้อสัตว์ ปลา นม เสริมสร้างและบำรุงกระดูกให้แข็งแรง สร้างสารเคลือบฟันทำให้ฟันแข็งแรง สร้างฟอสโฟลิปิดสร้างโมเลกุลที่ให้พลังงาน อาการเมื่อขาด กระดูกเปราะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเบื่ออาหาร เจ็บข้อต่อ ขาดความยืดหยุ่น ติดเชื้อง่าย ร่างกายต้องการวันละ 700 มิลลิกรัม หากได้รับมากเกินไปจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
           
แมกนีเซียม (Magnesium) พบในธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง  ถั่วฝัก ผักใบเขียวเข้ม หอย ช่วยสร้างกระดูกและฟัน สร้างพลังงาน ช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด ผลิตและใช้ฮอร์โมนอินซูลิน อาการเมื่อขาด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวาน อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อเกร็ง กระวนกระวาย สับสน ร่างกายต้องการวันละ 400 มิลลิกรัม
            
ฟลูออไรด์ (Fluoride) พบในน้ำประปา น้ำชา ทำให้สารเคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ และภาวะกระดูกพรุน อาการเมื่อขาด เคลือบฟันเจริญช้ากว่าปกติ กระดูกพรุน ร่างกายต้องการวันละ 2 มิลลิกรัม หากได้รับมากเกินไปจะทำให้ฟันตกกระ เอ็นยึดกระดูกหนา
           
แมงกานีส (Manganese) พบในขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง เมล็ด มะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง อัลมอนด์ น้ำชา ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์สร้างเอนไซม์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยนำโปรตีนจากอาหารมาใช้ ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศและไทรอยด์ กระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อในกระดูก ช่วยหล่อลื่นข้อต่อระหว่างกระดูก อาการเมื่อขาด ปวดข้อ ผิวหนังเป็นผื่น มีนศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก การทรงตัวไม่ดี ร่างกายต้องการวันละ 2.3 มิลลิกรัม หากได้รับมากเกินไปจะทำลายสมอง
           
โมลิบดีนัม (Molybdenum) พบในพืชผักใบเขียวต่าง ๆ เนื้อสัตว์ หน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ที่สำคัญจำนวนมาก เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการขนย้ายธาตุเหล็กและการเผาผลาญไขมัน ทำให้ร่างกายใช้เหล็กได้ และยังช่วยบำรุงเส้นประสาท บำรุงสุขภาพเพศชาย ป้องกันการเป็นหมัน โมลิบดีนัมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้นเพียง 0.5 มิลลิกรัม จึงมักไม่พบการขาด
           
โซเดียม (Sodium) พบในอาหารหลายชนิด รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย นำสารอาหารจากเลือดเข้าสู่เซลล์ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว อาการเมื่อขาด เวียนหัว ความดันโลหิตต่ำ ตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน อาการขาดน้ำ ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร แม้ว่าแร่ธาตุตัวนี้ร่างกายจะต้องการปริมาณสูง (2,400มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าเกลือ 6 กรัม) แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม เพราะร่างกายมักจะได้รับเกินอยู่แล้วเพราะมีมากในเกลือ แต่หากรับประทานมากไป โซเดียมจะดูดน้ำไว้ทำให้ภายในเส้นเลือดมีน้ำมาก ทั้งที่พื้นที่ภายในเส้นเลือดมีเท่าเดิมจึงทำให้เกิดความดันสูง
           
ซิลิคอน (Silicon) พบในหอมหัวใหญ่ อัลฟัลฟา ข้าวสาลี ข้าวฟ่างข้าวโอ๊ต ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์ ช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ หลอดเลือดแดง หลอดลม ปอด การสร้างกระดูกและเอ็นในระยะเริ่มต้น เสริมความแข็งแรง ให้กับเส้นผมและเล็บ ต้านฤทธิ์ของอะลูมิเนียม จึงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และกระดูกพรุน อาการเมื่อขาด เล็บลอก มีดอกเล็บ กระดูกพรุน ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมเสีย
           
ซัลเฟอร์ (Sulphur) หรือกำมะถัน พบมากที่สุดในไข่ ถั่ว เนื้อหมู วัว ไก่ ช่วยผลิตสารเคราติน ซึ่งเกี่ยวกับความแข็งแรงของเส้นผม ผิวหนัง ใช้ในการสร้างกระดูกอ่อน เส้นเอ็น ช่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลิน สร้างและบำรุงระบบสืบพันธุ์ การรับประทานอาหารหมวดโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะได้รับกำมะถันเพียงพอตามไปด้วย หากขาดกำมะถัน จะเกิดอาการผิดปกติที่ผิวหนังเล็บเปราะ และผมร่วง หากได้รับกำมะถันในรูปอาหารจะไม่มีอันตราย แต่หากได้รับมากในรูปของแร่จะมีพิษต่อกระเพาะอาหาร ตับ และไต


credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์
 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.