วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
    1. ความหมายของนวัตกรรม
1.1. นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า“นว” กับ “กรรม”ซึ่ง นว หมายถึง ใหม่ และ กรรม หมายถึง การกระทำ เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือนวตกรรม หรือว่า นวัตกรรม ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน และสามารถแปลตรงตามความหมายก็คือ การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนั้นๆมากยิ่งขึ้น
    2. แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
2.1. 1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
2.2. 3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
    3. ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภท
3.1. 1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
3.2. 2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.3. 3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3.4. 4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
3.5. 5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
    4. ความหมายของเทคโนโลยี
4.1. หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    5. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
5.1. การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
    6. ประโยชน์ของเทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
6.1. 2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
6.2. 3. สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
6.3. 4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
6.4. 5. สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.5. 6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
    7. ความหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
7.1. การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
    8. นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
8.1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
8.2. การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
8.3. การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
8.4. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
8.5. การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
    9. ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
9.1. 1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
9.2. 2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
9.3. 3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
9.4. 4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย
9.5. 5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
9.6. 6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
     10. ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
10.1. 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
10.2. 2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
10.3. 3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
10.4. 4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
10.5. 5. ช่วยลดเวลาในการสอน
10.6. 6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ฟ้อนกะโป๋


   ประวัติ
       ฟ้อนกะโป๋ เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปิน อินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย มีการละเล่นซึ่งใช้กะลาประกอบอยู่ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวชาวมาเลย์ก็จะมีการรื่นเริงและฉลองกัน บ้างก็ช่วยกันขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงได้นำเอากะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันเป็นที่สนุกสนาน

        ระบำกะลาของมาเลเซียมีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า "เดมปุรง" หรือแม้แต่ประเทศกัมพูชาก็มีการละเล่นที่ใช้กะลาเป็นอุปกรณ์เช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋คงได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาที่นิยมเล่นกันในกัมพูชาและแถบอีสานใต้ ระบำกะลามีจังหวะเนิบนาบ จึงมีการปรับปรุงใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองอีสาน และยังนำเอาเพลงพื้นเมืองของอีสานใต้มาใช้ประกอบอยู่คือเพลง เจรียงซันตรูจ
    เครื่องแต่งกาย เซิ้งกะโป๋จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 2 ฝ่าย คือ หญิงและชาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นพื้นเมืองอีสาน สวมเสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยใช้แพรมนรัดมวย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าผูกเอว
          


       เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้คือ เจรียงซันตรูจ

เซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น
• วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของพื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ
• วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่งกายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า ทิ้งชายด้านหลัง





ฟ้อนรําบายศรีสู่ขวัญ

ประวัติความเป็นมา
            การแสดงชุดรำบายศรีสู่ขวัญ เป็นการแสดงของภาคอีสาน  ซึ่งใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือเชิญขวัญในการต้อนรับแขกเมืองหรือแขกสำคัญๆ ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะมีการจัดต้อนรับโดยจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยนำใบตองมาเย็บเป็นบายศรีอย่างสวยงามประดับด้วยดอกไม้และเครื่องหอม มีด้ายสายสิญจน์สำหรับผูกข้อมือ ซึ่งจะให้ผู้เฒ่าหรือผู้ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อความเป็นสิริมงคลโดยมีพานบายศรีหรือที่เรียกว่า
“ พาขวัญ’’ โดยจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้านในคำเรียกขวัญนั้นจะมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า“  สูตรขวัญ ’’ซึ่งคำว่าสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน  จึงมีการจัดทำชุดรำบายศรีขึ้นเพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจเพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย  เนื้อร้องแต่งโดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล   ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่  แต่เนื้อร้องอาจจะผิดเพี้ยน  จากเดิมไปบ้าง
     




       บายศรี เป็นคำเรียกพราหมณ์ด้วยความเคารพ พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสู่ขวัญ จึงเรียกว่า บาศรีสู่ขวัญ ซึ่งหมายถึงพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญ

       บายศรี มาจากคำว่าบาย+ศรี บาย แปลว่า สัมผัส จับ ต้อง ศรี แปลว่า สิริ มงคล สิ่งที่ดี บายศรี หมายความถึง การรวบรวมเรียกเอาสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ แม้ว่าศรี หรือ สิริ จะไม่สามารถบายหรือสัมผัสจริงๆได้ด้วยมือ แต่ที่ใช้คำว่าบาย เนื่องจากต้องการสื่อในความหมายเชิงรูปนัยเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย มิใช่นามนัย พราหมณ์จึงใช้วิธีเชิญสิริเข้ามาอยู่ในข้าว ไข่ต้ม หรือฝ้ายผูกข้อมือ เป็นต้น แล้วบายเอาข้าวหรือไข่ต้มส่งให้ผู้เข้ารับบายศรีกิน นำฝ้ายไปผูกข้อมือ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีเชิงรูปธรรม ในส่วนที่เป็นนามธรรมนั้น จะรับสิริทางใจหรือความรู้สึกโดยตรง

      การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม
          ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า
          ชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลีและคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อน บายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจเพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดย อาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุลและท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดย อาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่
เครื่องดนตรี
            เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดงชุด  “ รำบายศรีสู่ขวัญ ” ใช้วงดนตรีพื้นบ้าน
วงโปงลาง มีเครื่องดนตรีดังนี้โปงลาง     กลองยาว  กลองใหญ่  ไหซอง พิณ   เบส         แคน  โหวด      ฉาบเล็ก   ฉาบใหญ่  เกราะ
การแสดง                       ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน
โอกาสที่ใช้แสดง    ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ในการต้อนรับครั้งสำคัญๆ ปัจจุบันอาจใช้ในงาน
                                       รื่นเริงและงานเบ็ดเตล็ดทั่วไป
การแต่งกาย            สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวจรดข้อมือ  ห่มสไบขิด  และนุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า
                                       ผมเกล้ามวยติดดอกไม้ ด้านซ้าย สวมเครื่องประดับเงินตกแต่งให้สวยงาม




บทร้องเพลงบายศรีสู่ขวัญ

 ผู้แต่งเนื้อร้อง  อาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล   
                     
มาเถิดเย้อ มาเย้อขวัญเอย  มาเย้อขวัญเอย
              หมู่ชาวเมืองมา เบื้องขวานั่งส่ายลาย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
              ยอพาขวัญอันเพริศแพร้ว  ขวัญมาแล้ว มาสู่คิงกม
                          เกศเจ้าหอมลอยลม  ทัดเอื้องชวนชมเก็บเอาไว้บูชา
                          ยามฝนพรำเจ้าอย่าแข็ง  แดดร้อนแรงเจ้าอย่าครา
                          อยู่ที่ไหนจงมา รัดด้ายไชยามาคล้องผ้าแพรกระเจา   ( ดนตรี )
                                            อย่าเพลินเผลอ  มาเย้อขวัญเอย  มาเย้อขวัญเอย
                          อยู่แดนดินใด  ฤาฟ้าฟากใด  ขอให้มาเฮือนเฮา
                          เพื่อนอย่าคิดอะไรสู่เขา ขออย่าเว้าขวัญเจ้าจะตรม
                          หมอกน้ำค้างพร่างพรม  ขวัญอย่าเพลินชมป่าเขาลำนำไพร
                          เชิญไหลทาประทินกลิ่นหอม  ดมพยอมให้ชื่นใจ
                          เหล่าข้าน้อยแต่งไว้  ร้อยพวงมาลัยจะคล้องให้สวยรวย







 

รำแพรวากาฬสินธุ์

ประวัติรำแพรวากาฬสินธุ์


      ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าแพรสไบที่ทอด้วยเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าจก นิยมทอให้มีความยาวประมาณ 1 วากับอีก1 ศอกหรือ 1ช่วงแขน หรือยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นบ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และนิยมทอกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด เพราะได้การสนับสนุนจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายต่างๆมากขึ้น ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่นิยม และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

          ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระชนม์มายุครบ 60 พรรษา

และได้ออกนำเสนอผลงาน ในงานมหกรมการแสดงนาฏศิลป์ดนตรีและนิทรรศการงานศิลปะของสถาบันการศึกษา สังกัดกรมศิลปากรประจำปีการศึกษา2535 ณ โรงละครแห่งชาติ โดยผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆพันอก ท่าฟ้อนรำก็ได้ดัดแปลงมาจากท่วงท่าการทอผ้าไหมแพรวานั่นเอง






การแต่งกาย
         หญิง พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสายพาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

ตัวอย่างการแสดง