วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิธีปลูก การดูแลรักษา และการขยายพันธุ์


การปลูกต้นลีลาวดีในกระถาง

          ต้นลีลาวดี จะเติบโตอย่างดีต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง และได้รับปุ๋ยเสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนการปลูกที่แนะนำโดยทั่วไปคือ ใช้มูลวัวที่ย่อยสลายแล้ว,ใบไม้ผุ และดิน ในอัตราส่วน 2:1:1 แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียดเมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นทำให้รากพืช ขาดออกซิเจน น้ำขังไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดโรครากเน่าได้ 

การปลูกต้นลีลาวดีลงดินในแปลงปลูก

          การปลูกต้นลีลาวดีต้นหนึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร ซึ่งดินร่วนปนทรายเป็นดินที่เหมาะสมที่สุดในการปลูก ส่วนในดินนั้นควรมีอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดความชื้นได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันต้องสามารถระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วง 6.5-7.5  

การดูแลรักษาต้นลีลาวดี

          ต้นลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ลีลาวดีออกดอกได้ดีควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรด เหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรด น้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบายน้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า

         1. การให้น้ำ
การปลูกในกระถาง : การให้น้ำควรรดให้ดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินถูกระบายออกมาทางรูระบาย สำหรับการรดน้ำนั้น ควรรดวันเว้นวัน 
การปลูกลงดิน : ควรให้น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ  ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินอาจจะส่งผลให้ลีลาวดีไม่ออกดอก 

         2. การให้ปุ๋ย
ลีลาววดีจะเจริญเติบโตงอกงามได้ดีที่สุดในปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง และโพแทสเซียม ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสจะกระตุ้นการออกดอก โดยทั่วไปลีลาวดีจะแตกกิ่งกานเมื่อมีดอก ดังนั้นต้องให้ปุ๋ยที่ส่งเสริมการออกดอกซึ้งเมื่อออกดอกมากก็หมายถึงจะมีกิ่งก้านสาขามากตามมา ส่วนธาตุไนโตรเจนจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ใบ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้มีใบมากเกินไป และไม่มีดอก นอกจากนั้นยังต้องได้รับธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซี่ยมและกำมะถัน โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียม เพื่อป้องกันโรคใบไหม้รวมทั้งธาตุอาหารจุลธาตุที่เพียงพอ ได้แก่ ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม โบรอน และคลอไรด์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการใบซีด



การขยายพันธุ์ต้นลีลาวดี

1. การเพาะเมล็ด จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย

2. การปักชำ ถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังคงรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้ด้วย

3. การเปลี่ยนยอด จะ ใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะ เสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า

4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น