เตาเผาเซรามิกส์

เตาเผาเซรามิกในอดีตใช้เตามังกร เป็นเตายาวใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการเผา ภายในมีความกว้าง 80 เซนติเมตร จากหัวเตาถึงท้ายจะกว้าง 2 เมตรเศษ มีความยาวตั้งแต่ 25 เมตร จนถึง 60 เมตร สำหรับเตาที่เสถียรภาพใช้เป็นเตาฟืน การเผาแต่ละครั้งต้องใช้ไม้มาก จึงได้เปลี่ยนจากเตาฟืนมาเป็นเตาอุโมงค์
นํ้ามัน โดยสั่งซื้อเตาอุโมงค์จากญี่ปุ่น เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2504เสถียรภาพเป็นโรงงานแรกที่ใช้เตาอุโมงค์นํ้ามัน ขณะนั้นจังหวัดลำปางก็ยังมีบางโรงงานที่ใชเ้ ตาฟนื อยู ่ ทางรัฐบาลมีคำสั่งหา้ มโรงงานใหมส่ รา้ งเตาฟนืผมไดแนะนำใหผู้ป้ ระกอบการโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปางหันมาใชแ้ กส๊ ซึ่ง
เพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้ได้ไม่นานตอนที่ผมไปสร้างเตาที่ลำปาง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้แก๊สกับนํ้ามัน นํ้ามันจะถูกกว่าแก๊สเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วแก๊สจะถูกกว่านํ้ามันเพราะว่าไม่ต้องทำหีบดินขึ้นมากันเปลวนํ้ามัน และเชื้อเพลิงที่ดีที่สุดสำหรับการเผาเซรามิกไม่ใช่ไฟฟ้าหรือนํ้ามัน แต่เป็นแก๊สเมื่อเปรียบเทียบดูผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ดีจะเผาด้วยแก๊สทั้งนั้น เนื่องจาก

วิวัฒนาการของเตาเผาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีเปลวไฟไปรบกวนผลิตภัณฑ์ที่นำไปเผา ถ้าเป็นนํ้ามันจะมีละอองกระจายเป็นเม็ดเล็ก ไปเกาะติดทำให้ดินเผาเป็นจุดได้ดังนั้นแก๊สจึงเหมาะที่สุดสำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาเซรามิก
 ซึ่งการทำเซรามิกในสมัยก่อนเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบัน เครื่องมือส่วนใหญ่ทำขึ้นจากวัสดุพื้นบ้าน ซึ่งจะยากกว่าการทำเซรามิกในสมัยปัจจุบัน โดยเริ่มจากการหาดินว่าดินแบบไหนเหมาะที่จะทำ จากนั้นจะนำดินมานวดโดยใช้มือ เท้า ครกกระเดื่อง ช่วยในการนวด เพื่อให้ดินที่ได้มีเนื้อละเอียดก่อนที่จะนำมาปั้น ส่วนการทำเคลือบจะนำขี้เถ้ามาบดด้วยลูกบดคอนกรีตทรงกระทะ โดยให้คนขึ้นไปยืนบนด้านตัดด้วยเท้าทั้งสองข้างแล้วเหวี่ยงตัว แกว่งแขนซายไปขวา ขวาไปซา้ ย สลับไปมาคลา้ ยกับการเตน้ ทวิสตใ์ หลู้กบดเคลื่อนไปบนขี้เถา้ จนบดละเอียด สำหรับการปนั้ จะใช้
มือปั้นขึ้นรูป

พอมาในปจั จุบันวิวัฒนาการการปนั้ เปลี่ยนนำไป มีการใชเ้ ครื่องมือชว่ ยเพื่อใหก้ ารปนั้ เร็วขึ้น เครื่องมือที่ใชคื้อ เครื่องขึ้นรูป (Jigger) ทำให้การปั้นเร็วขึ้นเพราะมีใบมีดกดขึ้นรูป ยังมีวิธีที่ทันสมัยกว่า คือ เข้าเครื่องรีดดินสุญญากาศ (De-Airing Extruder) ดินจะออกมาเป็นแท่ง จิ๊กเกอร์จะใช้ไม่ได้ ต้องใช้ Roller Head Jigger กดเป็นรูป โดยมีแป้นหมุน 2 ตัว แป้นหมุนล่างจะหมุนเร็วกว่าแป้นหมุนบน ใส่ดินที่แป้นหมุนล่าง เครื่องจะกดให้เป็นรูป เสร็จแล้วเข้าเครื่องอบ การทำนํ้าเคลือบก็ซื้อ วัตถุดิบมาแล้วใส่เครื่องบด เสร็จแล้วจึงนำมาชุบ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วกว่าการทำเซรามิกในสมัยก่อน

อ้างอิงจาก : วารสารเซรามิกส์ ฉบับที่ พฤษภาคม-สิงหาคม 2555

Popular posts from this blog

ความเป็นมาของเซรามิคในประเทศไทย