นางสาวสุธมาศ แสงยิ้ม รหัส 52115200119 นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

การปรับปรุงการบริหารการจักชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์

ผู้วิจัย ประสิทธิ์ ไกรลมสม , เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒน์ และ สุจินต์ ธงถาวรสุวรรณ

บทคัดย่อ

การปรับปรุงบริหารจัดการชิ้นส่วนการผลิตตั้งแต่เริ่มผลิต ระหว่างผลิตและผลิตเสร็จของอุตสาหกรรมการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์เป็นการจัดการสินค้าคงคลังที่มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการการผลิตในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์เป็นส่วนอุตสาหกรรมที่ส่งผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมประกอบยานยนต์ การมีสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตสูงย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่การจัดเก็บ และต้นทุนการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงการบริหารจัดการชิ้นส่วนการผลิตในอุตสาหกรรมตลับลูกปืนรถยนต์จึงเป็นการปรับปรุงส่วนภายในองค์กรของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมประกอบยานยนต์ซึ่งมีความสำคัญ บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังโดยมุ่งเน้นการจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ โดยการปรับปรุงการวางโซ่อุปทานการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ โดยได้ประยุกต์แนวคิดของการผลัก (Push) และดึง (Pull) ในโช่อุปทานภายใน ด้วยการเชื่อมโยงกระบวนการธุรกิจของความต้องการลูกค้า สินค้าคงคลังและการผลิตเข้าด้วยกันโดยกรณีศึกษาแสดงถึงการวิเคราะห์กระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ กระบวนการอบ กระบวนการเจียระไน และกระบวนการประกอบตลับลูกปืนรถยนต์ จากการประยุกต์กับข้อมูลพบว่า สามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการอบและกระบวนการเจียระไนจากร้อยละ 18.2 เป็น 5.6 และลดปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการเจียระไนและกระบวนการประกอบจากร้อยละ 42.6 เป็น 10

คำสำคัญ : สินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต/การปรับปรุงสินค้าคงคลัง/โซ่อุปทานภายในองค์กร

1.บทนำ

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โครงสร้างโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ประกอบด้วยโซ่อุปทานหลายองค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำหรือตั้งแต่วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ จนถึงตัวแทนจำหน่าย การเพิ่มสมรรถภาพอุตสาหกรรมยานยนต์จึงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มสมรรถภาพอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน การปรับปรุงบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการแข่งขัน เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการผลิต การบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต เป็นการบริหารจัดการภายในองค์กรซึ่งเป็นประเด็นสำคัญปัญหาที่ต้องมีการปรับปรุงในหลายองค์กร การปรับปรุงภายในองค์กรประกอบการชิ้นส่วนทำให้เกิดพื้นฐานการเชื่อมโยยงกัน ในบทความนี้ได้ศึกษาโซ่อุปทานการผลิตชิ้นส่วนตลับลูกปืนรถยนต์ ประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ กระบวนการอบ กระบวนการเจียระไน และกระบวนการประกอบตลับลูกปืนรถยนต์ ปัญหาปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างการบวนการสูงเกิดขึ้นอยู่ระหว่างการอบและกระบวนการเจียระไน และระหว่างกระบวนการเจียระไนและกระบวนการประกอบ

2.ทฤษฎีและวิธีการวิจัย

ในการพัฒนาการปรับปรุงการบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ได้ศึกษาทฤษฎีของการบริหารจัดการชิ้นส่วนซึ่งมีความสัมพันธ์กับการจัดการระบบการจัดการผลิต และการบริหารความต้องการ โดยศึกษาแนวคิดพื้นฐานของการเชื่อมโยงกิจกรรมดังกล่าวในโซ่อุปทาน และการนำแนวคิดของการผลัก (Push) และดึง (Pull) ในโช่อุปทานภายใน ทฤษฎีแต่ละส่วนที่นำมาใช้จึงเป็นหลักการพื้นฐานที่ได้มีอยู่มาก อย่างไรก็ตามบทความนี้ได้นำเอาหลักการและแนวคิดในหลายส่วนมาใช้ร่วมกันและแสดงความสัมพันธ์ของหลักการและแนวคิดที่ควรประสานกันและเชื่อมโยงกัน โดยแสดงถึงการบริหารชิ้นส่วนคงคลังที่ไม่ได้มุ่งเน้นการนำหลักการของทฤษฎีการจัดการสินค้าคงคลังมาคำนาณหาปริมาณที่เหมาะสมแต่เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการโซ่อุปทานที่เข้ามามีบทบาทในการลดสินค้าคงคลังระหว่างทำ ในการวิจัยได้ศึกษาตัวอย่างการประยุกต์ทฤษฎีจาก กิจจาและบุญชัย

การวิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานโดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ หลังจากนั้นระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรโดยใช้ Why-Why Analysis โดยกำหนดดัชนีชี้วัดที่เหมาะกับสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาโดยใช้การวิเคราะห์ปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเลือกสาเหตุในกระบวนการผลิตมาทำการบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ โดยการปรับปรุงวิธีการวางแผนการผลิตได้ใช้หลักการการวางแผนความต้องการวัสดุและแนวคิดการผลักและดึงมาบริหารจัดการชิ้นส่วนและเชื่อมโยงกัน จากนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีการวางแผนการผลิตแบบเดิม-วิธีการวางแผนการผลิตแบบใหม่


3.ลักษณะปัญหา

ปัจจุบันการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ทุกผลิตภัณฑ์ พบว่ามีชิ้นส่วนระหว่างกระบวนของการผลิตสูง การผลิตต้องผ่าน 3 กระบวนการผลิตหลักในโรงงานคือ กระบวนการอบ กระบวนการเจียระไน หลังจากผ่านกระบวนการผลิตดังกล่าวแล้ว ผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกนำมาที่กระบวนการประกอบ เพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป ปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตสะสมอยู่ 2 ส่วนคือ ชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการอบ และชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการเจียระไน ซึ่งกระบวนการผลิตทั้ง 2 กระบวน มีลักษณะการผลิตแบบสำรองสินค้า (Make to Stock) ดังแสดงในรูปที่ 1















โดยในแต่ละกระบวนการผลิตมีรายละเอียด ดังนี้

1.กระบวนการอบ เป็นกระบวนการผลิตต้นน้ำ (Upstream) โดยทำการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ตัวนอก (Outer Ring) และตลับลูกปืนรถยนต์ตัวใน (Inner Ring) ด้วยวิธีการให้ความร้อนกับชิ้นงาน กระบวนการผลิตนี้ต้องทำการผลิตชิ้นงานให้เพียงพอต่อความต้องการผลิตจริงของกระบวนการเจียระไน และกระบวนการประกอบ

2.กระบวนการเจียระไน เป็นกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ที่ผ่านจากกระบวนการอบ มาทำการเจียระไนผิวตลับลูกปืนรถยนต์ เพื่อให้เพียงพอกับการผลิตของกระบวนการประกอบ

3.กระบวนการประกอบ เป็นกระบวนการผลิตปลายน้ำ (Downstream) โดยนำตลับลูกปืนรถยนต์ที่ผ่านกระบวนการอบ และกระบวนการเจียระไน ที่ผ่าน 2 กระบวนการดังกล่าวมาประกอบเป็นตลับลูกปืนรถยนต์สำเร็จรูป (Finished Goods) กระบวนการนี้เป็นกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ หากมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือการเปลี่ยนแปลงแผนการผลิต รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภายนอก เช่น มีคำสั่งซื้อเพิ่มจากกลูกค้า การเลื่อนการส่งมอบผลิตภัณฑ์กับลูกค้า กระบวนการประกอบจะได้รับข้อมูลต่างๆ ก่อนกระบวนการอบและกระบวรการเจียระไน สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาและการปรับปรุงการบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตได้อธิบายในหัวข้อต่อไป

4.วิธีการวิจัย

4.1 การวิเคราะห์สาเหตุปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตสูง ด้วยหลักการ Why-Why Analysis

ในการวิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุหรือคัดเลือกสาเหตุที่มีความสำคัญที่ส่งผลให้มีปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตสูงได้ใช้หลักการ Why-Why Analysis มาใช้ในการวิเคราะห์หารสาเหตุ โดยใช้หลักเกณฑ์การมองจากสภาพที่ควรจะเป็นด้วยการเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ควรจะเป็นสภาพการผลิตจริง ดังแสดงในรูปที่ 2 พบว่าสาเหตุการเกิดปัญหาปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตสูงมี 3 สาเหตุหลัก คือ ขาดการสื่อสารข้อมูลการผลิตระหว่างกระบวนการผลิตหรือขาดการเชื่อมโยงและไม่นะปริมาณสินค้าคงคลังเหลือปลายงวดมาพิจารณาในการวางแผนการผลิต ไม่มีแผนการผลิตรายวันระหว่างกระบวนการผลิต การวางแผนการผลิตแบบเดิมเริ่มจากฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิตนำความต้องการสินค้าจากลูกค้ามาจัดทำเป็นการผลิตหลัก (MPS) จากนั้นจึงนำแผนการผลิตหลักดังกล่าวให้กระบวนการประกอบ โดยแผนการผลิตหลักนี้จะเป็นแผนการผลิตของกระบวนการประกอบซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ โดยมีลักษณะแผนการผลิตแบบรายเดือน ซึ่งไม่มีรายละเอียดแผนการผลิตในแต่ละกระบวนการผลิต ทำให้กระบวนการเจียระไนและกระบวนการอบ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตก่อนกระบวนการประกอบต้องทำการวางแผนการผลิตเอง

4.2 ปรับปรุงการเชื่อมโยงการวางแผนผลิตระหว่างกระบวนการผลิต

การวางแผนการผลิตกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตระหว่างกระบวนการประกอบ กระบวนการเจียระไน และกระบวนการอบ ทำให้มีแผนการผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการจริง

ในกระบวนการผลิตถัดไป ส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากกระบวนการอบ และกระบวนเจียระไน มีลักษณะการวางแผนการผลิตเป็นแบบผลัก (Push) คือทำการโดยผลิตตามจำนวนความต้องการจริงในกระบวนการประกอบ แต่การวางแผนการผลิตยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลแผนการผลิตระหว่างกระบวนการประกอบกับกระบวนการเจียระไนและกับกระบวนการอบ และขาดการเชื่อมโยงการวางแผนการผลิตระหว่างการผลิต จากแผนการผลิตหลัก (MPS) ที่ได้รับจากฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต ส่งมอบให้กับกระบวนการประกอบ การวางแผนการผลิตหลักของกระบวนการเจียระไนจะทำการวางแผนการผลิตโดยไม่นำความต้องการของกระบวนการประกอบมาพิจารณาในการวางแผนการผลิต จึงทำให้กระบวนการเจียระไนและกระบวนการอบทำการผลิตและเก็บชิ้นงานไปเรื่อยๆ ซึ่งลักษณะการผลิตของกระบวนการเป็นแบบผลิตเพื่อสำรองสินค้า Make to Stock) ส่งผลให้มีปริมาณสินค้าคงคลังสะสมในกระบวนการผลิตทำให้เกิดการผลิตสูญเปล่า ปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มสูงขึ้น และการวางแผนการผลิตกระบวนการอบ ทำการวางแผนการผลิตโดยไม่นำความต้องการของกระบวนการเจียระไนมาพิจารณา รูปที่ 3 แสดงลักษณะการวางแผนการผลิตแบบเก่า












ในการปรับปรุงการวางแผนการผลิตทำให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตระหว่างกระบวนการผลิตและมีแผนการผลิตสอดคล้องกับความต้องการจริงในกระบวนกระบวนการผลิตถัดไปส่งผลให้สามารถควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังได้ การวางแผนแผนการผลิตแบบใหม่จะมีแผนการผลิตกระบวนการอบ กระบวนการเจียระไน และกระบวนการประกอบ โดยมีลักษณะการวางแผนการผลิตแบบดึง (Pull) และมีการวางแผนแบบรายวัน (Daily Plan) ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการชิ้นงานได้เมื่อมีความต้องการชิ้นงาน การวางแผนการผลิตแบบใหม่จะมีข้อมูลการผลิตเชื่อมโยงในทุกกระบวนการผลิต โดยการวางแผนความต้องการของกระบวนการการเจียระไนจะนำแผนความต้องการของกระบวนการประกอบมาใช้ในการหาปริมาณผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของกระบวนการการประกอบ การวางแผนความต้องการของกระบวนการอบจะนำแผนความต้องการของกระบวนการเจียระไนมาหาปริมาณผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของกระบวนการเจียระไน เหมือนลักษณะการผลิตแบบดึง (Pull) และจัดทำแผนการผลิตรายวัน ดังแสดงในรูปที่ 4














4.3 ปรับปรุงแนวคิดและการหาปริมาณการผลิตโดยควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต

การวางแผนการผลิตในกระบวนการอบ และกระบวนการเจียระไน เป็นการวางแผนการผลิตโดยไม่นำปริมาณสินค้าคงคลังคงเหลือปลายงวดในกระบวนการผลิตมาพิจารณาร่วมกับจำนวนการผลิต ทำให้สินค้าคงคลังคงเหลือปลายงวดมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลักษณะการวางแผนการผลิตจะเหมือนแบบผลิตตามคำสั่ง (Make to stock) ดังแสดงในรูปที่ 5 ทำให้สินค้าคงคลังระหว่างการผลิตสูง









การวางแผนการผลิตแบบใหม่จะวางแผนจำนวนการผลิต และผลิตชิ้นงานตามจำนวนความต้องการ โดยนำปริมาณสินค้าคงคลังคงเหลือปลายงวดในกระบวนการผลิตมาพิจารณาในการวางแผนจำนวนความต้องการ ทำให้มีปริมาณสิค้าคงเหลือ (WIP) มีจำนวนไม่เกินกว่านโยบายที่ทางโรงงานกำหนด ดังแสดงในรูปที่ 6 และลักษณะการวางแผนการผลิต จะเหมือนแบบผลิตตามคำสั่งทำให้สินค้าคงคลังคงเหลือระหว่างกระบวนการลดลงตามที่ได้กำหนดไว้









การวางแผนการผลิตของกระบวนการเจียระไน

โดยมีหลักการคำนวณแผนการผลิตให้กับกระบวนการโดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้

แผนการผลิตของกระบวนการเจียระไน(t)= ความต้องการของกระบวนการประกอบ (t+1)

+ ปริมาณสิค้าคงคลังปลายงวดกระบวนการเจียระไน (t)

- ปริมาณสินค้าคงคลังต้นงวดกระบวนการเจียระไน (t)

t = วันที่ผลิตปัจจุบัน

t+1 = วันที่สั่งผลิตของกระบวนการผลิตถัดไป เมื่อ เวลานำเท่ากับ 1 วัน

แผนการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งแผนเป็นแผนการผลิตที่ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิตได้จัดทำเป็นแผนการผลิตหลักรายเดือนให้กับกระบวนการประกอบ เมื่อกระบวนการได้รับการผลิตหลักแล้ว จึงทำการผลิตชิ้นงานตามแผนการผลิต ตามจำนวนผลิต วันที่ทำการผลิต

การวางแผนการผลิตของกระบวนการอบ

แผนการผลิตของกระบวนการอบ เท่ากับ ความต้องการของกระบวนการเจียระไน บวก ปริมาณสินค้าคงคลังปลายงวดของกระบวนการอบ ลบ ปริมาณสินค้าคงคลังต้นงวดของกระบวนการอบ ซึ่งแผนการผลิตพิจารณาวันที่การผลิตปัจจุบัน และ วันที่สั่งการผลิตของกระบวนการผลิตก่อนหน้าโดยมีเวลานำของการผลิต 1 วัน โดยมีหลักการคำนวณแผนการผลิต ดังนี้



แผนการผลิตของกระบวนการอบ(t) = ความต้องการของกระบวนการเจียระไน (t+1)

+ ปริมาณสินค้าคงคลังปลายงวดกระบวนการอบ(t+1)

- ปริมาณสินค้าคงคลังต้นงวดกระบวนการอบ(t+1)

t = วันที่ผลิตปัจจุบัน

t+1 = วันที่สั่งผลิตของกระบวนการผลิตถัดไป เมื่อ เวลานำเท่ากับ 1 วัน



5.สรุปและผลการวิจัย

หลักการวางแผนการผลิตแบบใหม่ ช่วยให้ผู้วางแผนการผลิตสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตให้กับกระบวนการอบ และกระบวนการเจียระไน โดยมีแผนการผลิตชิ้นงานเชื่อมโยงกันระหว่างกระบวนการผลิต และตอบสนองความต้องการผลิตจริงของกระบวนการประกอบ ทำให้ผลการผลิตแผนใหม่แต่ละกระบวนการผลิตในโรงงานมีการผลิตที่สอดคล้องระหว่างกระบวนการผลิตและตอบสนองความต้องการจริง โครงสร้างการวางแผนการผลิตแบบใหม่ (รูปที่ 7) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- ใบสั่งซื้อสินค้า (Sale Order) เริ่มต้นจากการป้อนข้อมูลแผนการผลิตหลัก (Master Production Schedule, MPS) และสินค้าคงคลังสุทธิ

- การจัดทำแผน การผลิตหลัก (Master Production Schedule, MPS) หรือแผนการผลิตรายเดือนรายสัปดาห์ แต่ละกระบวนการขั้นตอนในการวางแผนการผลิตจึงพิจารณาข้อมูลต่างๆ ในการวางแผนการผลิตหลักให้กับกระบวนการเจียระไนโดยมีข้อมูลจำนวนความต้องการในแต่ละวัน จากแผนการผลิตหลัก (Master Production Schedule, MPS) กำลังการผลิตของโรงงาน เช่น เครื่องอบชิ้นงานด้วยความร้อนในกระบวนการอบ และเครื่องจักรในกระบวนการเจียระไน กระบวนการประกอบ เป็นต้น รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น ตามนโยบายของโรงงานผลิตตลับลูกปืนรถยนต์แห่งนี้ที่ต้องการสำรองสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตไว้ 20% ของจำนวนการผลิตที่สำรองสินค้าคงคลังไว้เป็นกระบวนการผลิต 1.5 วัน เป็นต้น สำหรับการวางแผนการผลิตของกระบวนการอบแสดงเป็นจำนวนการผลิต วันเวลาที่ทำการผลิต เพื่อตอบสนองจำนวนความต้องการกับกระบวนการเจียระไน





















ปริมาณสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิตลดลง โดยจากการเก็บข้อมูลหลังการทดลองในสายการผลิตจริง สามารถแสดง การสรุปเปอร์เซ็นต์การลดลงของปริมาณสินค้าคงคลังในแต่ละเดือนของกระบวนการอบและกระบวนการเจียระไน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 2 และรูปที่ 8





















รถยนต์นั่งประเภทรถเก๋ง ซึ่งผลจากการทดลองเมื่อนำวิธีการวางแผนการผลิตแบบใหม่ไปใช้สามารถเปรียบเทียบผลการทดลอง ดังในรูป 9










การปรับปรุงการบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ จำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กรการบริหารจัดการชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตตลับลูกปืนรถยนต์ให้ได้ประสิทธิภาพนั้นต้องพิจารณาจากปริมาณชิ้นส่วนจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับผู้ประกอบยานยนต์ จึงเป็นการเพิ่มสมรรถภาพโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์

6. เอกสารอ้างอิง