วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความหมาย

     


    เทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม หรือการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล(Remote Sensing) ในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2514 โดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประสานงานกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งได้อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ(NASA) ในการใช้ประโยชน์ข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดวงแรก ได้แก่ LANDSAT-1 โดยตั้งเป็นโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม ในปีพ.ศ. 2522 และโดยที่ได้มีหน่วยงานต่างๆ นำเอาข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ครม. จึงได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ขึ้นมาในปีพ.ศ. 2523 เพื่อท าหน้าที่ในการรับและผลิตข้อมูลดาวเทียม นับเป็นสถานีแห่งแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปัจจุบันกิจกรรมเหล่านี้ได้โอนไปอยู่ภายใต้หน่วยงาน "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่2 พฤศจิกายน พ.ศ.2543
        ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเหล่านี้ได้นำไปใช้งานในการสำรวจและติดตาม
การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ในหลายสาขา อาทิเช่น การใช้ที่ดิน การป่าไม้การเกษตร ธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนา ทั้งทางด้านบุคลากรและเครื่องมือเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        คําวา “รีโมทเซนซิ่ง“ (Remote Sensing) ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คําซึ่งแยกออกไดดังนี้ คือ
Remote = ระยะไกล
Sensing = การรับรู
      Remote Sensing  เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล (Sensor) โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้อาศัย คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) เปนสื่อในการไดมาของขอมูล 3 ลักษณะคือ ชวงคลื่น (spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุ(Spatial) บนพื้นโลก และการเปลี่ยนแปลงตามชวงเวลา (Temporal)”
     ในภาษาไทย Remote Sensing มีหลายคำที่ใช้กันอยู่ได้แก่"การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล" "การสำรวจข้อมูลด้วยดาวเทียม" "การรับรู้จากระยะไกล" "โทรสัมผัส" และ "โทรนิทัศน์" เป็นต้น โดยคำที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นทางการคือ"การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล"
       หากพิจารณาตามความหมายที่กลาวมา การสํารวจจากระยะไกล จะเกี่ยวของกับการสํารวจเก็บบันทึกขอมูลอยางเปนระบบ ซึ่งประกอบดวย แหลงขอมูลที่ตองการศึกษา(DataSource) พลังงานคลื่นแมเหล็กไฟฟาElectromagnetic Energy) อุปกรณบันทึกขอมูล(Sensor) และกรรมวิธีประมวลผลขอมูล (Data Processing)
       ในปจจุบันนี้อาจกลาวไดวารีโมทเซนซิ่ง เปนเครื่องมือทางการวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากเพราะไดขอมูลที่ทันตอเหตุการณ เปนขอมูลที่ครอบคลุมบริเวณกวาง และสามารถบันทึกภาพในบริเวณเดิมในเวลาที่แนนอนเหมาะที่จะนํามาใชศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเปนขอมูลที่เพิ่มประสิทธิภาพของมนุษยในการวางแผนงานและการตัดสินใจไดดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น