บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นจากปูนขาว

บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การทำปูนขาว

 หน่วยที่  1)      กระบวนการทำปูนขาว
               การผลิตปูนขาวเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีการผลิตมานานแล้วประมาณ 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การนำหินปูนก่อเป็นรูปโค้งสูง มีพื้นที่ไว้ตรงกลางสำหรับการใส่ไม้ฟืนเพื่อเผา หลังจากนั้นจะทำการเผาเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเผาโดยใช้ไม้ฟืนจากยางพารา เพราะให้ความร้อนได้ดี เมื่อเผาจนสุกดี หินจะมีลักษณะสีขาวขุ่น นำมากองรวมกันในลานกว้าง รดน้ำโยใช้ฝักบัวราดให้ทั่ว หินจะแตกเป็นผงเล็กๆ จากนั้นก็โกยเป็นกองและรวบรวมใส่ถุงบรรจุเพื่อจำหน่าย
ภาพชุดที่ 1 การเตรียมหินโดยการทุบหินให้มีขนาดก้อนที่พอเหมาะซึ่งประโยชน์ที่ได้คือสามารถก่อกองหินรูปโค้งและเพิ่มพื้นที่ผิวต่อการได้รับพลังงานความร้อนจากการเผาไม้ฟืนยางพารา

ภาพชุดที่ 2 การเตรียมพื้นที่


หน่วยที่   2)      กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหินปูนเป็นปูนขาว 
               การนำหินปูนมาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 900 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 48 ชั่วโมง หินปูน (CaCO3) จะกลายเป็นปูนสุก (CaO) ที่มีลักษณะเป็นสีขาว เมื่อรดน้ำ ปูนสุกจะแตกออกเป็นผงปูน    ขาว(Ca(OH)2) ในกระบวนการผลิตนั้นเกิดปฏิกิริยาเคมีทั้งปฏิกิริยาดูดความร้อน ปฏิกิริยาคายความร้อนจากก้อนปูนสุกสีขาวแตกเป็นผงสีขาวได้ เนื่องจากแคลเซียมออกไซด์(CaO)มีสถานะเป็นของแข็ง มีแรงยึดเหนี่ยวหรือพลังงานยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากจึงสามารถคงสภาพเป็นก้อนไว้ได้แต่เมื่อรดน้ำลงไป น้ำจะไปทำ ปฏิกิริยากับแคลเซียมออกไซด์แล้วเกิดเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์(Ca(OH)2)และมีการสูญเสียพลังงานออกมาในรูปของความร้อน การสูญเสียพลังงานออกมาทำให้พลังงานยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลลดลงจนทำให้ไม่สามารถคงสภาพเดิมไว้ได้จึงแตกออกเป็นผงปูนขาว

หน่วยที่   3)      คุณสมบัติของปูนขาว
               ปูนขาวมีคุณสมบัติเป็นเบส มีค่า pH เท่ากับ 12.14 ละลายน้ำได้ สามารถเกิดปฏิกิริยาสะเทิน แล้วได้เกลือกับน้ำ สามารถลดความเป็นกรดลงได้ จากการศึกษาพบว่าปูนขาวสามารถลดความเป็นกรดในดินได้ถึงร้อยละ 17.24 ในระยะเวลา ½ -1 ชั่วโมง  คุณสมบัติดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ในด้านต่างๆ เช่น การปรับสภาพความเป็นกรดในดินและน้ำเพื่อการเกษตร  การบำบัด น้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปูนขาวจะไปทำปฏิกิริยากับกรดที่ละลายอยู่ในดินหรือน้ำ ทำให้ความเป็นกรดในดินและน้ำลดลง ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่และส่งเสริมให้นำไปใช้อย่างจริงจังเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์

ความคิดเห็น

  1. ยังไม่สมบูรณ์นะครับ ว่างแล้วจะมาเพิ่มเติมใหม่นะครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพและมีหลักการ ขอบคุณครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำและความเป็นมา