ประโยชน์จากก๊าซไนโตรเจน ที่คุณต้องรู้

การถนอมอาหารด้วยไนโตรเจนนั้นสำคัญไฉน? 

การถนอมอาหาร (food preservation) คือการที่เราทำให้อาหารชนิดนั้นมีอายุอยู่ได้นานขึ้นโดยไม่เน่าเสีย แต่ยังคงสภาพเดิมทั้งรูปร่าง เนื้อสัมผัส รสชาติ กลิ่น และสีของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงปริมาณและคุณภาพทางโภชนาการที่ยังคงเดิมเหมือนวันที่ถนอมอาหารเมื่อนำมารับประทาน  

การถนอมอาหารมีวิธีใดบ้าง? 

1. การใช้ความร้อน ( การพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) / การสเตอริไลซ์ (Sterilization) / การใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด)

2. ทำแห้ง (การตากแห้ง-โดยวิธีธรรมชาติ / รมควัน)

3. การใช้ความเย็น (การแช่เย็น / การแช่แข็ง)

4. การใช้น้ำตาล (การเชื่อม / การกวน / การทำแยม)

5. การหมักดอง 

6. การใช้สารเคมี 

7. การใช้ก๊าซไนโตรเจน 

8. เมนูถนอมอาหาร 

9. การใช้เครื่องซีลสุญญากาศ 

วันนี้เราจะมาพูดถึงการถนอมอาหารด้วยการใช้ก๊าซไนโตรเจนกันค่ะ 

ก๊าซไนโตรเจนคืออะไรทำไมจึงใช้ก๊าซไนโตรเจนในการถนอมอาหารได้? 

ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติคือเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่เป็นพิษ จึงสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดและเป็นก๊าซเฉื่อยต่อปฏิกิริยาเคมี จึงมักใช้ในการแทนที่ก๊าซออกซิเจน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมัน หรือปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลในอาหาร อีกทั้งเป็นก๊าซที่ไม่เกิดการระเบิด จึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือเป็นก๊าซที่ละลายในน้ำและไขมันได้น้อยมาก จึงสามารถพ่นฟองก๊าซไนโตรเจนผ่านเข้าไปยังวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมัน 

ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ นำก๊าซไนโตรเจนมาใช้ในการถนอมผลิตภัณฑ์อาหารกันอย่างแพร่หลาย โดยการใช้ก๊าซไนโตรเจนเข้าไปแทนที่อากาศภายในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ  เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ไว้ให้นานที่สุด ก๊าซไนโตรเจนจะเข้าไปห่อหุ้มโมเลกุลของน้ำมัน ทำให้สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการเหม็นหืนได้ 

อุตสาหกรรมอาหารที่นิยมให้ก๊าซไนโตรเจนในถนอมอาหารในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ ได้แก่์อาหารจำพวก มันฝรั่งทอด เมล็ดกาแฟคั่ว และขนมขบเคี้ยวต่างๆ แต่การใช้การไนโตรเจนในการบวนการบรรจุภัณฑ์มีราคาค่อนข้างสูง แล้วจะทำอย่างไรเพื่อลดต้นทุน?  

หากคุณเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารที่จำเป็นต้องใช้ก๊าซไนโตรเจนในการถนอมอาหารแล้วล่ะก็เราขอแนะนำให้คุณลองเปลี่ยนจากการใช้ก๊าซไนโตรเจนที่คุณรับมาเป็นถังๆ มาผลิตไนโตรเจนใช้เองในโรงงานสิ รับรองได้ว่าจะช่วยคุณประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขนส่งไปได้มาก  

ตัวอย่างเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนที่เราแนะนำ เช่น เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน NGP PSA (On-site nitrogen generation) จากแอตลาส คอปโก้ ที่ติดตั้งง่าย พร้อมใช้งานทันที ด้วยเทคโนโลยี Pressure Swing Absorption (PSA) ทำงานร่วมกับ Carbon Molecular Sieve (CMS) ช่วยให้เครื่องสร้างระบบผลิตก๊าซไนโตรเจน ที่สามารถทำงานได้ตลอดต่อเนื่อง โดยสามารถกำหนดค่าความบริสุทธิ์ (purity) ได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาวแทนการซื้อไนโตรเจนชนิด liquid หรือ cylinder มาใช้งาน 

หากสนใจสามารถติดต่อแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand 

About the author

เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) อุปกรณ์สำหรับการพัฒนาคุณภาพลมอัดหรืออากาศอัด งานซ่อมบำรุงและอะไหล่แท้ (Compressor Service and Spare Parts) ในระบบปั๊มลมหรือระบบอากาศอัด
Atlas Cocpo คือผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาระบบปั๊มลมหรือระบบการอัดอากาศ (Compressed air system) ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum pump) อุตสาหกรรมการผลิตก๊าซและผลิตภัณฑ์ทุกส่วนในระบบปั๊มลมหรือระบบเครื่องอัดอากาศที่เกี่ยวกับปั๊มลมอีกมากมาย เรารับประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์ปั๊มลมหรือคอมเพลสเซอร์ของเรานั้นสามารถช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟที่เกิดจากระบบคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากทึ่สุด ทำให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถควบคุมและรักษาต้นทุนโดยรวมไว้ได้

ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบคอมเพรสเซอร์ไม่ว่าความต้องการของคุณคืออะไร Atlas Copco มั่นใจว่าเรามีวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้กับโรงงานของคุณ รวมไปถึง อุตสาหกรรมด้านอาหาร , การบำบัดน้ำเสีย , อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการใช้ระบบปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor), ปั๊มสุญญากาศ, ก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน Atlas Copco มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าของ Atlas Copco จะได้รับปริมาณและคุณภาพของลมอัดที่ดีที่ดีสุดเสมอ

นอกจากนี้ เรายังได้มีการพัฒนาเพื่อตอบสนองกลุ่มอุตสาหกรรมด้านผลิตก๊าซด้วย on-site nitrogen และ oxygen generators โดยคุณสามารถผลิตก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจนได้ที่โรงงานของคุณ ประโยชน์ที่คุณจะได้รับคือการใช้ก๊าซได้ตลอดเวลาและมีต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งก๊าซในปริมาณที่มากๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น