Sunday, January 5, 2014

บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์

นางสาวชนากานต์ อาสน์สิริ เรียบเรียง

ความหมายของคำว่าบริษัทลงทุนนั้นมาคู่กับบริษัทหลักทรัพย์ ดังนี้

บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์

บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.บริษัทเงินทุน หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันได้แก่ กิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและบริโภค และ กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ

2.บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบกิจการด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำการค้าหลักทรัพย์ ให้คำปรึกษาในการลงทุนกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และ กิจการจัดการลงทุน เป็นต้น

3.บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ เงินทุน และ หลักทรัพย์ ควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่ม "ใหญ่ที่สุด" ของกลุ่มบริษัทเหล่านี้

บริษัทเงินทุน

บริษัทเงินทุนมีลักษณะการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์กล่าวคือ ทำหน้าที่ระดมเงินจากประชาชนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และ นำเงินนั้นไปหาผลประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินงานของบริษัทเงินทุนแบ่งออกเป็น

1.การให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจรายใหญ่ เป็นบริการคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์แต่ไม่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และ บัญชีกระแสรายวันที่ใช้เช็คสั่งจ่ายในการรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนจะไม่ออกสมุดรับฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงิน แต่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ให้กู้ยืม(ผู้ฝาก) โดยจะกำหนดเวลาชำระคืนเอาไว้ เช่น เมื่อทวงถาม 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี การระดมเงินออมของบริษัทเงินทุนจะเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์เพราะมีการกำหนดวงเงินขึ้นต่ำที่จะกู้ยืมจำนวนสาขามีน้อยหรือไม่มีเลย แต่การให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์สามารถทดแทนความเสียเปรียบข้างต้นได้ สำหรับการใช้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหญ่มีการให้กู้ทั้งประเภทระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี หรือ ระยะยาวเกิน 1 ปี

2.การให้กู้ยืมแก่ธุรกิจการค้าทั่วไป เป็นการให้บริการทางการเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ คือ เป็นการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก บริษัทการค้าธรรมดา ร้านค้า และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งลักษณะการให้กู้จะเป็นการให้กู้ในวงเงินไม่สูงนัก และ เป็นการกู้ระยะสั้น

3.การให้กู้ยืมแก่ผู้บริโภค เป็นการให้บริการเงินกู้แก่บุคคลธรรมดา เพื่อการศึกษา เดินทาง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือน การให้เงินกู้เพื่อผ่อนส่งสินค้าเมื่อตกลงจะให้เช่าซื้อ และการให้กู้ยืนแก่ผู้ดำเนินธุรกิจ การจำหน่ายสินค้าโดยการให้เช่าซื้อเช่น รถยนต์ รถแทรกเตอร์ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการกู้เงินเป็นระยะป่านกลางไม่เกิน 3 ทั้งนี้รวมถึงการให้กู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์และเครดิตฟองซิเอร์เข้ามาบริการด้วย 
ตัวอย่างบริษัทเงินทุน เช่น  บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)  บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)



บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

                                                   บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)




บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ (Broker) เป็นบริษัทรับอนุญาตที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับหลักทรัพย์รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กสต.) บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการต่าง ๆ ดังนี้
1.การรับประกันการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ออกใหม่(underwriting) โดยบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทที่ต้องการเงินเพิ่มทุนจำนวนมากและในเวลาจำกัด กับผู้ที่จะลงทุนซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ บริษัทหลักทรัพย์จะทำหน้าที่วิเคราะห์ฐานะของบริษัท รวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และเผยแพร่ให้ผุ้ลงทุนทราบ
บริษัทหลักทรัพย์จะประกันการขายหุ้น โดยอาจจะรับประกันการจำหน่าย ถ้าหากขายหุ้นได้ไม่หมดก็จะรับซื้อไว้เอง หรืออาจเป็นเพียงตัวกลางการขายหุ้นโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้นั้น ๆ เมื่อขายไม่หมด บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับค่าธรรมเนียมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาหุ้น หรือ หุ้นกู้ที่นำออกขาย

2.การค้าหลักทรัพย์ คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์ซื้อและขายหุ้นเพื่อการลงทุนของบริษัทเอง ถือว่าเป็นการลงทุนโดยหวังผลประโยชน์จากเงินปันผลของหุ้นที่ได้ซื้อไว้

3.การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ โดยเป็นตัวแทนทำการแทนลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์(ไม่ได้ลงทุนเอง) บริษัทหลักทรัพย์จะคิดค่าบริการเท่ากับร้อยละ 0.5 ของราคาหุ้นที่ซื้อและขายแต่ละครั้ง พร้อมทั้งทำหน้าที่โอนหุ้นให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย


4.การจัดการลงทุน การประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม เดิมมีเพียงบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจประเภทนี้ ต่อมาทางการได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) เพิ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผู้ลงทุนประเภทสถาบันในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหลักทรัพย์

5.การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน คือ การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ของธุรกิจและกิจการของธุรกิจโดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่าธรรมเนียม


ตัวอย่างบริษัทหลักทรัพย์ เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด ธนาคารธนชาติ เป็นต้น

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด



ธนาคารธนชาติ

บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ตั้งขึ้นครั้งแรกในรูปของบริษัทค้าหลักทรัพย์ก่อนเมื่อ พ.ศ.2496 โดยใช้ชื่อว่าบริษัท เบิร์ด จำกัด ในระยะแรกบริษัทนี้ได้ประกอบกิจการการสั่งสินค้าเข้าและการส่งออกเป็นหลักจนกระทั่ง พ.ศ.2506 จึงได้ดำเนินการธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นหรือหลักทรัพย์อย่างจริงจัง และ ในพ.ศ.2503 กลุ่มเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศได้จัดตั้งสถาบันการเงินประเภท บริษัทจัดการลงทุน(Investement Management Company) ซึ่งดำเนินกิจการลักษณะ กองทุนรวม(Mutual Fund) โดยใช้ชื่อว่า กองทุนรวมไทย และ ในพ.ศ.2505 กลุ่มอุตสาหกรรมไทยเอกชนร่วมกันจัดตั้งกิจการดำเนินงานในลักษณะสถานปริวรรตหุ้น (Stock Exchange)หรือที่เรียกว่าตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ตลาดหุ้นกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Stock Exchange) ในปีต่อ ๆ มามีบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชนแล้วนำเงินออมไปหาผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตามธุรกิจบางแห่งก็จัดตั้งเป็นบริษัทเงินทุนอย่างเดียวโดยทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชนและนำเงินไปลงทุน เพื่อการพัฒนากิจการ เพื่อการบริโภคและการเคหะ เป็นต้น และบางแห่งก็ตั้งเป็นบริษัทหลักทรัพย์อย่างเดียว เพื่อประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น

No comments:

Post a Comment