วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

         1.บทนำ

                การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสารการทำงาน การคมนาคมและขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา


                    http://krukrit.kkw2.ac.th/images/lesson1/001.jpg


                    ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น“สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”


          2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
                  
                ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ

              กล่าวกันอย่างสั้นๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวลจัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสียมิได้ ส่วนการแสวงหา อย่างรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังมีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม อาทิโดย
     
      1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
      2) การเพิ่มคุณภาพของงาน
      3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
      4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น

             ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำ เทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆ กิจกรรมก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย
             ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้
            1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลก
เปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
            2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน
            3)ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operationand Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่

        1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
        2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
        3) การยอมรับจากสังคม
        4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
        5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพ
สูงสุดในทุกๆ ประเด็น

           
          3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม

                 เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐานการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางขอเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคมแต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปิด โอกาสใหม่ การสื่อข่าวสารจากจุด ต่างๆ ได้เพิ่มขี้นจากเดิมมากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่คาดกันไว้ว่า จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่งเราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา


          4. สารสนเทศกับบุคคล
          
                 การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย


           5. สารสนเทศกับสังคม
                  สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ (ธนู บุญญานุวัตร. 2550) ได้แก่

                5.1 ด้านการศึกษา
                       การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา

                5.2 ด้านสังคม
                       สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพการป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต

                5.3 ด้านเศรษฐกิจ
                       สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน

                5.4 ด้านวัฒนธรรม
                       สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ


เมื่อตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของสารสนเทศแล้ว ผู้ใช้สารสนเทศต้องตระหนักว่าการ
ที่จะนำสารสนเทศมาใช้นั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเพื่อสื่อสารสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จะตัดขาดจากกันไม่ได้ โดยเรียกว่าเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศ” นั่นเอง




            6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
                  
                   ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี 2000 ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้



                   
   


                   สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีหลักการสำคัญคือ เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงการขยายโอกาสชุมชน/บุคคลสู่ความรู้และบริการพื้นฐานของรัฐภูมิคุ้มกันลดลงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีข้อจำกัดมากขึ้นและใช้ทุนที่มีอยู่ในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงต่อการปรับตัวของประเทศที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภค ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทางเลือกสังคมของผู้สูงอายุ ปัญหาการออม และผลิตภาพการผลิตไปจนถึงเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงไปสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ที่มีความเชื่อมโยงไปสู่เศรษฐกิจแห่งเอเชีย ซึ่งการพัฒนาตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ คุณธรรมและความเพียรที่เกี่ยวข้องกับคนชุมชนและสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากร และการบริหาจัดการเพื่อก้าวไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษา
ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอมช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น