วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาตลาดสามชุก






      ในอดีต..บ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไป จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป  

ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน 

         อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็น ดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ  จากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่าณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน  ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง


         ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ตลาดสามชุกที่เป็นบ้านเรือนริมน้ำ ตั้งแต่ใต้วัดสามชุกขึ้นมา ก็เลื่อนขึ้นมาปลูกเป็นเรือนแถวต่อ ๆ กัน ที่บ้านสามแพ่งเกิดซอย 2 ซอย 1 ผู้อพยพเข้ามาภายหลังก็เกิด ซอย 3 ซอย 4 ตามลำดับ  เมื่อเกิดอำเภอใหม่ขึ้นทางเหนือ อำเภอนางบวช ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดบ้านทึงตั้งแต่ปี 2437 ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านสาชุกในปี 2454 และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสามชุกในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเมืองท่าแห่งการค้าขายริมแม่น้ำเจริญรุ่งเรืองมากด้วยแม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นทางค้าขายจากกรุงเทพฯ ถ้าปากน้ำโพมาแต่อดีตในช่วงประมาณปี 2480 - 2510 แต่เศรษฐกิจสะพัดมาก

     ปี 2510 เรือโดยสารหมดไป ด้วยมีถนนเกิดขึ้น ตัดผ่านเข้าไปในทุกสถานที่ บทบาทของการคมนาคม ทางน้ำ ลดลงจนหมดไปในที่สุดประกอบกับส่วนข้าราชการย้ายออกไป ผู้คนย้ายออกไปอยู่รอบนอก พอเศรษฐกิจตกต่ำถึงขีดสุดปี 2540 เกิดตลาดนัด รายรอบสามชุกทุกวันทุกชุมชน ตลาดสามชุกก็แทบสิ้นลมหายใจ นอนขายกันทีเดียว
     ปี 2542 สุขาภิบาลยกระดับขึ้นเป็นเทศบาลทำให้เกิดแนวคิดของนายกเทศมนตรี ที่จะกระจายอำนาจการบริหารไปสู่ชุมชน ก่อตั้งชุมชนในเขตเทศบาลขึ้น และกรมธนารักษ์
สุพรรณบุรี มีโครงการรื้อเรือนแถวซอย 1 - 2 เพื่อสร้างอาคารคอนกรีต จึงมีการรรวมตัวของภาคประชาชนในชุมชน ปรึกษากันถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและที่อยู่อาศัยในตลาดขึ้น
     ปี 2543 จึงได้มีการจัดต้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาตลาดสามชุก จากผู้ที่อาสาเข้ามาร่วมคิดร่วมทำ มีนายพงษ์วิน ชัยวิรัตน์ ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดฯ  จัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณีต่าง ๆ จากการมีส่วนร่วมของชุมชน  วางแผนในการพัฒนาปรับปรุงตาดด้วย
     ปี 2545 มูลนิธิชมุชนไท ได้ชวนชาวตลาดสามชุกเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ โดยการสนับสนุนของ พอช. และ สสส. นำเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยดำเนิน
กระบวนการทำงาน 
     ปี 2546 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 12 เมืองนำร่องโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ ด้านเมืองเก่า ด้วยการเข้ามาช่วยคณะกรรมการให้สามารถขับเคลื่อน
กระบวนการพัฒนาด้วยพลังของประชาชน ในวิธีการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด จนประสบผลสำเร็จ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะเสร็จสิ้นโครงการไปตั้งแต่ปี 2549 ก็ตาม
     นับว่าเราแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย และเศรษฐกิจได้เสร็จสิ้นชัดเจนในปี 2550 จนกลายเป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตในเชิงอนุรักษ์ อันเป็นความสำเร็จของประชาชน
ที่เข้มแข็งยิ่ง โดยใช้กิจกรรมในการรวมคน รวมใจ มีจุดหมายเดียวกันคือ รักษาความเป็นสามชุกตลาดร้อยปีไว้ให้ยิ่งยืนตราบนานเท่านาน และจะยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับ หนึ่งสมองสองมือ กับหนึ่งใจ ของทุกคนมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อ "สามชุกตลาดร้อยปี"
     ปี 2547 จากการเปิดตัว โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ ด้านการอนุรักษ์เมืองเก่า เราเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยเรามีเมืองเครือข่ายทั่วประเทศ สื่อต่าง ๆ นักท่องเที่ยว
แวะเวียนเข้ามาชุม มาชิม มาแล้วมาอีก เสน่ห์ของเรา อยู่ที่อัธยาศัยไมตรี อบอุ่น เป็นกันเองมีรอยยิ้ม ต้นรับขับสู้อย่างจริงใจ อาหารอร่อย ๆ ที่ติดใจ ต้องกลับมาอีกครั้ง และอีกครั้ง
     ปี 2548 ความภาคภูมิใจที่เหนือความคาดหวังคือการได้รับการคัดเลือกจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับประราชทานรางวัล "อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทองค์กร" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ปี 2550 กรมศิลปากร "ให้พื้นที่และอาคารในตลาดสามชุกเป็น โบราณสถานที่มีความสำคัญย่านประวัติศาสตร์ชุมชน" อนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป
    ปี 2550 ได้รับรางวัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
    ปี 2551  สำนักงานเลขาธการสอทการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ยกย่องให้เป็น "สังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ"
    ปี 2552 องค์การ ยูเนสโก ประกาศให้สามชุกตลาดร้อยปี "เป็นองค์กรภาคประชาชนที่อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมประเภท "ดี" ในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" ที่ชุมชนเข็มแข็ง จนสามารถพลิกฟื้นคืนชีวิตให้แก่วิถีชีวิต และเศรษฐกิจจนกลับคืนมาได้สำเร็จ
     จาก 2543 จนถึงวันนี้ ความสำเร็จของเรา เกิดขึ้น "จากการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง" ด้วยกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีน้ำใจ เข็มแข็ง เสียสละ อดทน ทำทุกอย่างด้วยตัวเราผู้ใหญ่ที่มาเยื่ยมเยือน สื่อมวลชน นักท่องเที่ยว เป็นกำลังใจที่ล้ำค่ายิ่งในยามท้อ พี่เลี้ยงที่ประคับประคองเราทุกเรื่อง ที่พึ่งพาทางใจนอกเหนือจากพระรัตนตรัยอันเป็นศูนย์รวมจิตใจอันยิ่งใหญ่คือเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวให้มั่นคงและความศรัทธาของคนในชุมชนที่มีต่อผู้นำจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะพาไปสู่ความสำเร็จอย่างงดงาม




         ปัจจัยที่เกื้อหนุนตลาดสามชุก ให้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง คือชุมชนหลักที่เป็นลูกค้าของตลาดสามชุกนอกเหนือไปจากที่ตั้งของตลาด อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นศูนย์ราชการที่ประชาชนต้องมาติดต่ออยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการก่อสร้างโครงการชลประทานสามชุกขึ้น เป็นโครงการในลักษณะทดและส่งน้ำ โดยสร้างเป็นประตูระบายน้ำ และประตูเรือสัญจร(ชาวบ้านเรียกกันว่า "อ่างเรือ") กั้นลำน้ำสุพรรณที่หมู่ที่ 3 ตำบลสามชุก สำนักงานโครงการตั้งอยู่เหนือตลาดสามชุกไปประมาณ 3 กิโลเมตร โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดชุมชนใหม่ นาดใหญ่ ที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ช่วยกระตุ้นให้ตลาดสามชุกมีศักยภาพขึ้นมาก ประกอบกับเรือ ที่สัญจรไปมา บางส่วนจะต้องจอดรอเพื่อสลับผ่าน ประตูเรือสัญจร ตลาดสามชุก จึงเป็นหนึ่งในจุดแวะพัก ที่ขึ้นชื่อมากแห่งหนึ่งของลำน้ำท่าจีน
         ในปี พ.ศ. 2499 มีการระดมทุนตั้งโรงงานน้ำตาลทรายขึ้นที่ บ้านบางขวาก เป็นโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาวพิเศษ แห่งแรกของประเทศไทย โรงงานดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยที่ทั้งช่วยกระตุ้น และยกระดับสภาพเศรษฐกิจของ อำเภอสามชุก ขึ้น อานิสงส์นั้นก็ตดมายังตลาดสามชุดโดยปริยาย
         การคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรไปมา หรือ ขนส่งสินค้าทั้งภายในท้องถิ่นและต่างถิ่นใช้ทางน้ำ โดยมีแม่น้ำสุพรรณเป็นเส้นทางหลัก มาโดยลำดับ จนกรทั้งช่วงทศวรรษ 2510 การคมนาคมทางบกเริ่ม เข้ามามีบทบาทและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งในปัจจะบันการคมนาคมทางน้ำ แทบจะไม่มีบทบาท หลงเหลือให้เห็น ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของชาวสามชุก รวมทั้งบรรยากาศของสามชุก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น