วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาบาติกในประเทศไทย


ประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกเป็นอุตสาหกรรมกันมานานแล้ว มีการผลิตในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี สงขลา นราธิวาส และในภาคกลางเช่น กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย เชียงใหม่ พัทยา เป็นต้นแต่การแพร่หลายของผ้าบาติกนั้นเริ่มเข้ามาทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียอีกทอดหนึ่งคนไทยรู้จักผ้าบาติกในลักษณะของ “ผ้าพันหรือผ้าปาเต๊ะพัน” โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คือ พันรอบตัว คำว่า “โสร่ง” ก็มาจากภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน หมายถึงผ้านุ่ง คนในท้องถิ่นภาคใต้ เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียกผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทยว่า“ผ้ายาวอ”หรือ“จาวอ”(Java)ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อตามลักษณะของผ้าเป็นภาษาพื้นเมืองชายแดนภาคใต้4ชนิด คือ
1.จาวอตูเลส (Java Tulis)
2.จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่)
3.จาวอบือเละ แต่ใช้วิธีนุ่งแบบพันรอบตัว บางแห่งเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าบาติกพัน (ผ้าพัน)
ใช้เรียกผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียนด้วยจันติ้งตลอดทั้งผืน ใช้เรียกชื่อผ้าปาเต๊ะที่มีคุณภาพดีชั้นหนึ่ง เนื้อดีเบาบาง และผ้าผืนหนึ่ง ๆ สามารถม้วนได้เพียง 1 กำมือเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ผ้าพันชวา ใช้เรียกผ้าบาติกที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 - 4 หลา เป็นลักษณะของผ้าที่ไม่เป็นตะเข็บผ้าให้ติดกันเป็นถุง
4.จาวอซือแย ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้จักการทำผ้าบาติกโดยได้รับเทคนิคมาจากมาเลเซียและได้ตั้งโรงงานผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนอยู่ใต้ถุนบ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ซึ่งมีคนงานระหว่าง 50 - 100คน แบ่งหน้าที่การผลิตออกเป็นแผนก ๆ ล้วนแต่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอสุไหงโก-ลก ผ้าบาติกในช่วงปี พ.ศ. 2510 - 2522เป็นช่วงที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด
ในปัจจุบันบาติกลายเขียนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายมาก ทำให้สามารถผลิตผ้าได้หลายรูปแบบกว่าเดิม และสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่าบาติกพิมพ์ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมผ้าบาติกในภาคใต้หันมาผลิตผ้าบาติกลายเขียน เกิดการแข่งขันในตลาดโดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบและเอกลักษณ์ของตนเอง
จนผ้าบาติกบางชิ้นกลายเป็นจิตรกรรมที่มีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก ผ้าที่นิยมทำกันมาก ได้แก่ ผ้าโสร่ง ผ้าชิ้น และเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
ส่วนเทคนิคการทำผ้าบาติกในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติก 4 วิธี
1. บาติกลายพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะ ไม้ และเชือก และนำไปย้อม 3-4 ครั้ง
2. บาติกลายเขียน คือ เขียนเทียนลงบนผ้า นำไปย้อม อาจมีการปิดทียนเพื่อเก็บสี และย้อมอีก 1 - 2ครั้ง
3. บาติกลายเขียน และระบายสี เป็นการเขียนเทียนบนผ้า แล้วระบายสีทั่วทั้งผืน
4. บาติกกันเทียน ลัดสี ของจังหวัดลำพูน
ผ้าชวาตราดอกจิก เป็นผ้านุ่งที่มีคุณภาพดี มีตราดอกจิกเป็นเครื่องหมายการค้า และเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวไทยที่มีฐานะดีz


วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบลายผ้าบาติก

การออกแบบลายผ้าบาติก เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำผ้าบาติก ผ้าจะมีคุณค่ามีความสวยงาม มีราคาสูง ดูแล้วน่าใช้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการออกแบบลายที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีเทคนิคในการผลิตซึ่งมี 2 ลักษณะคือ การออกบาติกแบบลายพิมพ์ และการออกแบบบาติกลายเขียน
            1. การออกแบบบาติกลายพิมพ์ คือ ลายที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถนำมาพิมพ์ต่อกันให้มีความต่อเนื่องกันระหว่างลายแต่ละชิ้น ลักษณะการจัดองค์ประกอบของลายพิมพ์นี้ควรให้ตัวลายอยู่ภายในโครงสร้างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่นิยมใช้กันทั่วไป มี 4 ชนิด คือ
  • แม่พิมพ์โลหะ เป็นแม่พิมพ์ลายเส้นที่แสดงรายละเอียดชัดเจน การออกแบบสำหรับการพิมพ์โดยทั่วไปมักจะออกเป็นชุดมีแม่พิมพ์ 2-3 อัน คือ แม่พิมพ์ลายเส้น แม่พิมพ์ปิด และแม่พิมพ์เก็บสีพื้นเพื่อย้อมสีที่ 2 ต่อไป
  • แม่พิมพ์ไม้ เป็นแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นๆไม่สามารถแสดงเรื่องราว และรายละเอียดลักษณะเป็นลายเส้นโตๆลายที่เกิดขึ้นจะได้สีขาว คือ เกิดจากรอยเทียนจาก แม่พิมพ์ และพื้นเป็นสีย้อม
  • แม่พิมพ์เชือก เป็นลวดลายที่ไม่มีรายละเอียดเป็นลักษณะลายเส้น เมื่อพิมพ์เทียนแล้วนำไปย้อม แล้วพิมพ์เทียนซ้ำเพื่อเก็บสีเดิมไว้ลักษณะลายจะแสดงให้เห็นลายพื้นของผิวแม่พิมพ์ (TEXTURE) จากรอยแม่พิมพ์เชือก
  • แม่พิมพ์พลาสติก ทำจากพลาสติกแผ่นบางใสสีเขียวฉลุลายพลาสติกให้สวยงามทำลวดลายบนผ้าเหมือนๆกันได้เป็นชุดหลายผืนอาจเรียกได้ว่า สเตลซิล แผ่นหนึ่งจะลงเทียนได้ 40 - 50 ครั้ง
            2. การออกแบบบาติกลายเขียน โดยส่วนใหญ่จะออกแบบลงบนกระดาษก่อนการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอสีเพื่อนำไปเขียนด้วยจันติ้ง บาติกลายเขียนนี้จะออกแบบลายเพียงครั้งเดียวไม่นิยมทำซ้ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละลาย ถ้ามีการทำซ้ำกัน จะทำให้คุณค่าของลวดลายนั้นลดลง การเขียนลายผู้เขียนสามารถเลือกขนาดของจันติ้ง ให้เหมาะกับจุดประสงค์ และต้องการของผู้ออกแบบเอง การออกแบบบาติกลายพิมพ์ และบาติกลายเขียน มี 4 ลักษณะดังนี้
  • ลายเรขาคณิต การออกลายเส้นรูปทรงเรขาคณิตนี้ ควรควบคู่ไปกับเทคนิคการย้อมสี และรอยแตกของเทียน เหมาะสำหรับงานจิตรกรรมเทคนิคบาติกเพื่อประดับผนัง
  • ลายดัดแปลงจากลายธรรมชาติ เป็นลวดลายที่มีความนุ่มนวลลักษณะลายที่มีการลื่นไหล
  • ลายไทย และลายเครือเถา นิยมเขียนบนผ้าไหม
  • ลายภาพสัตว์ มี 2 ลักษณะ คือ
    • รูปทรงไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ภาพฉากกั้นห้อง ลักษณะกึ่ง นามธรรม
    • ภาพสัตว์ที่เป็นเรื่องราว เช่น วรรณกรรม วรรณคดี มักใช้กับงาน จิตรกรรรม

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วัสดุและอุปกรณ์ทำผ้าบาติก

วัสดุและอุปกรณ์
  • อุปกรณ์ในการเขียนเทียน เรียกว่า "ชันติ้ง" (Tjanting)
  • ขี้ผึ้ง เทียนไข ผสมในอัตราส่วนที่ต้องการ เช่น อัตาส่วนขี้ผึ้งต่อพาราฟิน 1:2 ต้องการให้เทียนมีความเหนียว , 1:8 ต้องการให้เทียนเกิดรอยแตก (Crack) ง่าย เป็นต้น
  • ผ้าที่ใช้ เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าไหม เป็นต้น
  • กรอบไม้สำหรับขึงผ้า
  • ภาชนะใส่น้ำเทียน
  • เตาไฟฟ้า
  • กรรไกรตัดผ้า
  • แก้วผสมสี และภาชนะใส่น้ำสี
  • น้ำร้อน-น้ำเย็น ใช้สำกรับผสมสี
  • เตารีด
  • ภู่กัน ใช้เบอร์ 6, 8, 12 ปลายเหลม หรือปลายตัดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้
  • สีที่ใช้แต้ม หรือ ย้อม เช่น สีรีแอคทีฟ สีวัต เป็นต้น
  • สารเคมีที่ใช้ในการย้อม เช่น โซดาแอส โซเดียมคาร์บอเนต เป็นต้น
  • โซเดียมซิลิเกต ใช้สำหรับให้สีผนึกกับผ้าได้ดี
  • อ่างสำหรับไว้ต้มเทียนออกจากผ้า

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของผ้าบาติก


ความเป็นมาของผ้าบาติก
      ผ้า บาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี
 และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน
 แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน
แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
          คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า ติก
 มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก
จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
          วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน { wax- writing} ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็น
ลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าว
หน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วน
ที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก      แหล่งกำเนิด
          แหล่ง กำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน
 แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติก
ที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย
 และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มา
จากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ใน
อินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่า
 การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย
          จาก การศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ
 นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้า
ของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น
 ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการ
ทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย
          การ ทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็น
ขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา
          ใน คริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ วิวัฒนาการมา
จากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะใน
ราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า คราทอน ” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยมเขียน
ด้วยมือ (batik tulis) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้า บาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้น
 การผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้า บาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป
           ผ้า บาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ 17 ได้มีการค้นพบสีอื่น ๆ อีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล
 สีเหลือง สีต่าง ๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ ทำให้ออกเป็นสีต่าง ๆ ภายหลังจึงมีการค้น
พบสีม่วง สีเขียว และสีอื่น ๆ อีกในระยะต่อมา
          ปลาย ศตวรรษที่ 17 ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นการก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าว
หนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม การระบายสีซึ่งสามารถทำให้ผลิต
ผ้าบาติกได้จำนวนมากขึ้น และได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าส่งออก
           ใน ปี ค . ศ . 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวา และได้ส่งมาจำหน่ายทีเกาะชวาและในปี ค . ศ . 1940
ชาวอังกฤษได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน
       ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษ ที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง
 ซึ่งเรียกว่า จั๊บ ”(cap) ทำไห้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น
           ต้น ทุนก็ถูกลง ทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองใน
ลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้
ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับ
การแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม
          ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพา ะ ในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็ก เท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น
เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ
    1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่ง โดยทั่วไปนิยมผ้า หน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่ง
ถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า ปาเต๊ะ หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลาย
สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน
    2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า ผ้าทับ เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็น
กรอบหรือชาย ผ้าสลินดัง มีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
    3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพ - บุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า
 “ ซุรบาน สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า คิมเบ็น ” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็น
กรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
          สำ หรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลง
เป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกาย
ประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความ พยายามของคนรุ่นต่อมา ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้า
บาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก
 ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู๋ประเทศอื่น
          ปัจจุบัน อินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิม
ซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า จันติ้ง ” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะ
 ทองแดง (Cap , Print , Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่
เรียกว่า ศูนย์พัฒนาบา - ติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา ( Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta)
          การ พัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้า แบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก
 แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้
ไม่เป็นที่นิยมชาว อินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical- batik) แต่ก็มีราคาแพง
กว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบัน
ศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาว
ยุโรปและอเมริกา

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

"ติดกับ"บาติก

    ไม่เคยคิดว่าจะได้มาเกี่ยวข้อง กับงานศิลปะบาติก เพราะแทบจะไม่รู้จักบาติกเลย และไม่เคยคิดชอบเสื้อผ้าแนวนี้ เคยซื้อมาฝากแม่ตอนไปทำงานที่อินโดนีเซีย ซึ่งแตกต่างกับผ้าบาติกบ้านเรา ที่ส่วนมากจะนิยมกันในหมู่ข้าราชการ หรือของฝากตามเมืองท่องเที่ยว
     จากที่ไม่เคยใช้เสื้อผ้าบาติกเลย กลายมาเป็นผู้ผลิตได้ไงก็ไม่รู้ แต่ก็แค่ลงสีไม่ได้เขียนเทียนเองเพราะเป็นคนอ่อนเรื่องศิลปะมากๆ อ่อนจนไม่น่ามาเอาดีทางด้านนี้ได้เลย แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีความชำนาญมากนัก เหตุผลหลักที่มาทำบาติกในครั้งนี้ ก็เนื่องมาจากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถทำงานหนักได้ รุ่นพี่ที่นับถือกันมานานคนหนึ่งได้ชักชวนให้มาทำงานบาติก ซึ่งเป็นพรสวรรค์ของรุ่นพี่คนนี้อยู่แล้ว ก็ชักชวนแกมบังคับนิดๆ ก็ทำมาได้สักพัก ทำไปเจ็บไป ปวดหัวบ้าง ปวดหลังบ้าง ก็ยังทำได้ไม่เต็มที่ แต่ก็มีผลงานแล้ว
    ตอนนี้เห็นรูปภาพอะไรก็คิดเป็นงานเขียนบาติกไปหมดเลย เมื่อก่อนไม่เคยมองเห็นรูปภาพเหล่านี้ไม่ว่าจะรูปตามจาน ชาม รูปในกระเบื้องห้องน้ำ ดอกไม้ ลวดลายสติ๊กเกอร์ต่างๆ เห็นเป็นลายบาติกสวยงามทั้งนั้นและนี่คือผลงานที่ออกมาแล้ว ก็ตามแบบบาติกทั่วๆไป ถ้าไม่เลิกซะก่อนคงได้มีรูปแบบเป็นแนวที่แตกต่างเป็นแนวของตัวเอง แต่ตอนนี้ต้องหัดเขียนเทียนก่อนครับ