หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
Ram 4
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4
1.พระราชประวัติ


2.การปกครอง
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา  
5.ศิลป-วัฒนธรรม  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
   
 
รัชกาลที่ 4
พระราชลัญจกร
 
       

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
พระราชกรณียกิจในการยกระดับฐานะของราษฎรอันเนื่องมาจาก เจ้าฟ้ามงกุฎมีความสัมพันธ์ใกล้ ชิดกับราษฎรในสมัยที่ทรงผนวชอยู่ เป็นระยะเวลานานถึง 27 ปี ได้เห็นชีวิตความเแป็นอยู่ของราษฎรอย่างแท้จริง เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ทรงมีความเห็นว่าราษฎรของพระองค์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องเอาพระทัยใส่ดูแลราษฎรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ได้ทรงออกกฎหมายและแก้ไขประเพณีของบ้านเมืองหลายประการ โดยมีจุดประสงค์ ที่จะให้พระมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดกับราษฎรยิ่งขึ้นและให้ราษฎรมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นกว่าเดิม พระราชกรณียกิจที่สำคัญมีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แต่เดิมเมื่อขุนนางกล่าวคำสาบานว่าจะจงรักภัคดีต่อพระมหากษัตริย์แล้ว ขุนนางทุกคนต้องดื่มน้ำที่แช่อาวุธต่าง ๆ ไว้เป็นเครื่องแสดงว่า ถ้าผู้ใดคิดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ อาวุธต่าง ๆ ที่แช่อยู่ในน้ำสาบานนั้น จะลงโทษให้ถึงตาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์เป็นผู้ดื่มน้ำแช่อาวุธเป็นพระองค์แรกก่อนขุนนางเสียอีก ซึ่งแต่เดิมพระมหากษัตริย์ไม่ต้องดื่มน้ำนี้เลย
2. โปรดฯ ให้มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาชั้นสูง ในตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตาจารย์ แทนการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ แต่เดิมผู้พิพากษาตำแหน่งมหาราชครูนั้น พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง โดยคำแนะนำของคณะเสนาบดี ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เจ้านายและขุนนางยศตั้งแต่ชั้นหลวงขึ้นไป เป็นผู้เลือกพระมหาราชครู
3. โปรดฯ ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จประพาส และเลิกการยิงธนูใส่ตา ราษฎรที่เงยหน้าขึ้นมองพระมหากษัตริย์
4. โปรดฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีกาต่อพระองค์ด้วยตนเอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ผู้ที่จะเข้ามาตีกลองถวายฎีกาทำได้ลำบากเพราะต้องเสียเงินค่าไขกุญแจเสียก่อน จึงโปรดฯ ให้ยกเลิกการตี
กลองวินิจฉัยเภรี เสีย ราษฎรที่เดือดร้อนจะถวายฎีกา เพื่อนำเรื่องกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทราบ จะต้องถูกเฆียน 30 ครั้งก่อนจึงจะถวายฎีกาได้ ในสมัยนี้ได้โปรดให้ยกเลิกประเพณีนี้เสีย ถ้าราษฎรต้องการถวายฎีกา ก็สามารถถวายฎีกาได้เลย โดยพระองค์จะเสด็จออกที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ให้ราษฎรถวายฎีกาได้ทุกวันโกนรวม 4 ครั้ง ในหนึ่งเดือนคือในวันขึ้น 7 ค่ำ วันแรม 7 ค่ำ วันขึ้น 13 ค่ำ วันแรม 13 ค่ำ แต่ถ้าใครมีเรื่องเดือดร้อนจริง ๆ ก็ให้ถวายฎีกาวันใดก็ได้
5. ทรงประกาศห้าม การบังคับหญิงให้แต่งงานโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
6. ทรงประกาศอนุญาตให้ เจ้าจอมที่ไม่ประสงค์จะอยู่รับราชการ ถวายบังคมลาออกไปได้
7. ทรงประกาศห้ามบิดามารดาและสามี ขายบุตร ภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
8. ทรงพยายามใช้แรงงานของกรรมกรรับจ้างมากกว่าการเกณฑ์แรงงานจากราษฎร
9. โปรดฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อในเวลาเข้าเฝ้าทุกคนและทรงอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าเฝ้าพระองค์ได้ ในพิธีบรมราชาภิเษก นอกจากจะให้ชาวต่างชาติเข้าเฝ้าได้แล้ว ยังพระราชทานอาหารเลี้ยงแก่ชาวต่างชาติและแจกของที่ระลึกอีกด้วย ในการเข้าเฝ้าของชาวต่างชาติสามารถแสดงความเคารพพระองค์ได้ ตามธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศ ส่วนขุนนางไทย ยังคงใช้วิธีการเคารพแบบเดิม

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile